การเข้ามาของประเพณีลอยกระทง

ในหนังสือสารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ (๒๕๔๒, หน้า ๒๘๕๒ – ๕๘๕๓) ได้ประมวลเกี่ยวกับการเข้ามาของประพณีลอยกระทงไว้ดังนี้

การเข้ามาของประเพณีลอยกระทง

ลอยกระทงเป็นประเพณีเก่าแก่ สันนิษฐานกันว่าน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากพิธีตามประทีปหรือทีปาวลี ของอินเดีย ซึ่งจะมีการลอยกระทงเพื่อบูชาเทพเจ้าทั้งสามของศาสนาพราหมณ์ คือพระพรหม พระอิศวร และพระนารายณ์และประเทศไทยได้รับเอาคติความเชื่อนี้ เข้ามาปรับกับความเชื่อของท้องถิ่น เกิดเป็นประเพณีการลอยกระทง เพื่อขอขมาลาโทษ พระแม่คงคาขึ้น ทั้งนี้เพราะชาวไทยสมัยก่อนประกอบอาชีพเกี่ยวกับ การกสิกรรมซึ่งจะต้องอาศัยน้ำเป็นปัจจัยหลักในการเพาะปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหาร

ต่อมาการลอยกระทงได้กลายเป็นประเพณีที่ชาวไทยทั่วทุกภูมิภาคถือปฏิบัติกันทั่วไป จนเป็นที่รู้จักแพร่หลายไปทั่วโลก และเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของประเทศไทยแต่ละภูมิภาคต่างก็มีประเพณีปฏิบัติตามวิถีวัฒนธรรม และความเชื่อของท้องถิ่นนั้น กระทงที่นำมาลอยส่วนใหญ่มักจะประดิดประดอยเป็นรูปดอกบัวบานอย่างสวยงามด้วยวัสดุซึ่งหาได้ในท้องถิ่น เมื่อถึงเวลาพลบค่ำบรรดาผู้คนต่างนำกระทงที่เตรียมไว้มาปักดอกไม้ จุดธูป เทียน แล้วปล่อยให้ล่องลอยไปตามกระแสน้ำ บางคนก็ตัดผมและเล็บใส่ลงไปด้วยเพื่อให้เคราะห์ต่างๆลอยไปพร้อมกับกระทง บางคนก็ใส่เงินลงไปในกระทงเพื่อเป็นการให้ทาน บางคนโดยเฉพาะหนุ่มๆ สาวๆก็อธิษฐานขอพรให้สมหวังในความรัก

การเข้ามาของประเพณีลอยกระทง 2 การเข้ามาของประเพณีลอยกระทง 3

กล่าวกันว่าพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ผู้ที่ริเริ่มการลอยกระทงที่เชียงใหม่เป็นคนแรก ในช่วง พ.ศ.๒๔๖๐-๒๔๗๐ โดยจุดเทียนบนกาบมะพร้าวทำเป็นรูปเรือเล็ก หรือรูปหงส์ และใช้ท่อนไม้ปอทำเป็นรูปเรือ แต่ยังไม่เป็นที่นิยม เพราะชาวบ้านทั่วไปนิยมการประดับตกแต่งโคมตามบ้านเรือน ทำซุ้มประตูป่า และจัดเทศน์มหาชาติ หรือตั้งธัมม์หลวงมากกว่า

ลอยกระทงเป็นประเพณีเก่าแก่ สันนิษฐานกันว่าน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากพิธีตามประทีปหรือทีปาวลี ของอินเดีย ซึ่งจะมีการลอยกระทงเพื่อบูชาเทพเจ้าทั้งสามของศาสนาพราหมณ์ คือพระพรหม พระอิศวร และพระนารายณ์และประเทศไทยได้รับเอาคติความเชื่อนี้ เข้ามาปรับกับความเชื่อของท้องถิ่น เกิดเป็นประเพณีการลอยกระทง เพื่อขอขมาลาโทษ พระแม่คงคาขึ้น ทั้งนี้เพราะชาวไทยสมัยก่อนประกอบอาชีพเกี่ยวกับ การกสิกรรมซึ่งจะต้องอาศัยน้ำเป็นปัจจัยหลักในการเพาะปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหาร

ต่อมานายทิม โชตนา เป็นนายกเทศมนตรีเมืองเชียงใหม่ ในช่วง พ.ศ.๒๔๙๐ ได้สนับสนุนการท่องเที่ยวโดยจัดให้มีการลอยกระทงมากขึ้น และมีการจัดงานขึ้นที่ประตูท่าแพ และพุทธสถานริมแม่น้ำปิง

การเข้ามาของประเพณีลอยกระทง 4 การเข้ามาของประเพณีลอยกระทง 5

หลังจากนั้นการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย มาจัดตั้งสำนักงานที่จังหวัดเชียงใหม่ในปี พ.ศ.๒๕๑๒ ได้ส่งเสริมการลอยกระทงแบบกรุงเทพฯ ที่จังหวัดเชียงใหม่ขึ้นอย่างจริงจังและร่วมกับเทศบาลนครเชียงใหม่ โดยมีการประกวดขบวนกระทงเล็ก และขบวนกระทงใหญ่ ต่อมาสมาคมผู้ประกอบการย่านไนท์บาร์ซา ได้จัดประกวดขบวนโคมยี่เป็งขึ้นอีกวันหนึ่ง

การเข้ามาของประเพณีลอยกระทง 6 การเข้ามาของประเพณีลอยกระทง 7

เวนทานเดือนยี่เป็ง

ทวี เขื่อนแก้ว (๒๕๔๑, หน้า ๘๓ – ๘๗) กล่าวถึงเวนทานเดือนยี่เป็งว่า เป็นการบรรยายถึงวัตถุประสงค์ และเหตุแห่งการทำบุญเดือนยี่เป็ง ผู้เวนทานคือปู่จารย์( มัคคทายก) หลังจากเวนทานเสร็จ จะมีการถวายของทานแด่พระสงฆ์ หลังจากนั้นก็จะรับพร

โย สันนิสินโน วะระโพธิมูเล มารัง สะเสนัง มะหันติง วิชะโย สัมโพธิมาคัจฉิ อะนันตัญญาโณ ตัง ปะณะมิ พุทธังฯ

อัฎฐังคิโก อะริยะปะโถ ชะนานัง โมกขะปะเวสายะ อุชุกะ มัคโค อะยัง สันติกะโร ปะนิยานิโก ตัง ปะณะมามิ ธัมมัง ฯ

สังโฆ วิสุทโธ วะระทักขิเณยโย สันตินทะริโย สัพพะมะลัปปะหีโน คุเณหิเนเกหิ สะมิทธิปัตโต ตัง ปะณะมามิ สังฆังฯ

โย โส สมเด็จเลยพระเปนเจ้าเลิศองค์ใด สันนิสินโน ตนประเสริฐกว่าโลกาทุกแห่วห้องถะไรภูมิ ผู้ข้าทังหลายประนมนบน้อมเกล้าวิถีทวาร ตัง ปะณะมามิ พุทธัง ตนผจญแพ้มาร ทิวะสังจุวันๆผู้ข้าไหว้กราบวันตา อิติปิโส ภะคะวา ตนเป็นเค้าเหง้า ห้าสิบหกบ่เส้ากือว่าคุณศรีสัพพัญญูเจ้าหน่อพุทโธ อันว่าคุณพระสัทธัมโม มี สะวากขาโตเป็นที่ไหว้ นับว่าได้สามสิบแปด กฎแขวนเปนกุณพระสัทธรรม ส่วนกุณพระสังฆัง ก็มีงามแท้แด่ ตั้งแต่สุปะฏิปันนะตา จะตุทัสสาสิบสี่ จัดแจ้งถี่รวมกุณ แห่งพระแก้วเจ้าทังสาม มีร้อยแปดดูงามเลิศเลศ ผู้ข้าทังหลายรู้ว่าวิเศษแต็นักหนา ฯ

สาธุ โอกาสะ ข้าแด่พระติถะไรระตะนะผ่านแผ้วพระแก้วเจ้าตังสาม ในครากาละบัดนี้ ก็หากเป็นวันดี ติถีอันวิเศษเหตุว่าเป็นวันเดือนยี่เป็ง นับตามธรรมเนียมมาแต่เก๊า ปางเมื่อโปธิสัตว์ยังสร้างสมปารได้ต่วนเตียวไปมาในสงสารหลายกำเนิด ปางเมื่อได้เกิดเปนลูกกาเผือกมะฐะมะก่อแรกเป็นมะนุสสา ยังมีแม่กาตัวนึ่งเล่า ในศาสนาพระพุทธเจ้าตนชื่อ ตัณหังกะโร, พระพุทโธ ปะรินิพพุโต ต่านก็นิพพานไปแล้วไว้สารูปแล้วและกำสอน ยามนั้นพระภูธรก็จุติคลาดแคล้ว จากชั้นฟ้าตาวะติงสา ปัญจะมะนุสสาได้ลงมาเกิด เอากำเนิดในท้องแม่กาเผือก ทะรงคัพภะเกิดไข่ห้าฟอง ในรังกอนค่าไม้ ตี่จิ่มใกล้แม่น้ำนะตี ในติถีขึ้น ๑๕ ค่ำ ฤดูเดือนแปด สายฟ้าแมบรวายเรือง เมกฆะเนืองสะสน พายุฝนอันใหญ่ก็มาปัดรังไข่ตกลง ในโขงนะตีน้ำกว้าง ด้วยกุศลอันได้สร้างก็ไหลไปค้างริมธาร กุกุฎั่งยังมีแม่ไก่ แอ่วเซาะไซ้หากิน ก็มาหันยินชอบสู้ แล้วก็ร้องกุ๊กคาบเอาไป ตามนิสัยสัตว์ธรรมชาติ รักษาไว้บ่พรากไกกา จันติมาโกนา ยังมีแม่นาคมาหันใส่ไข่ ก็คาบเอาไปก็มีใจอ่วงห้อย รักคะค้อยจุ๊คืนวัน อังการังถีนะกัง ยังมีแม่เต่า ก็เอาไข่นั้นเล่าเป็นลูกถ้วนสาม โคณะจตุตถัง ซ้ำมีแม่งัว ตัวมีวรรณะผิวผ่อง แอ่วเดินต่องเต้าเสียบแม่น้ำนะตีในวิถีแก่นกล้า เดินกินหญ้าริมน้ำลำคลอง ก็ได้ไข่สองฟอง ด้วยน้ำนองปัดล่อง งัวก็รีบวะว่องเร็วไว ใส่ใจเอาไข่มารักษาไว้หื้อพ้นภัยยาสัพพะถาจุ๊สิ่ง รักษาเจ้าจอมมิ่งโปธา เอกา อิตถี ยังมีนางญิงผู้นึ่ง เกยระรื่นไปซักผ้าจุ๊วันๆ ก็มาพบพานหันไข่ มีใจใคร่ได้แล้วก็เก็บเอามาตามภาษาคนและสัตว์ต่างเพศ ด้วยจิตเจตน์ไผมัน ได้หลายคืนวันน้อยมากสิบห้าวันหากเตมตัน ตามนิทานไขกล่าว ธรรมดาหากไข่เถิงกาละกวรฝูงไข่ทังมวลห้าลูก แม่เลี้ยงหากผูกชื่อไว้ติดตามมา เถิงวัยยาขึ้นใหญ่อายุได้สิบปี ด้วยปารมีปางก่อน ก็บ่ผ่อนหายหน อันว่าเขาเจ้าตังห้าคนก็มีใจใคร่บวช สร้างผนวชเป็นระษี ก็ขอลาแม่เลี้ยงไผมันด้วยดีด้วยชอบเพื่อประกอบพรหมจริยกรรม ท้าวตนหนต่างวิเวก ก็ลาแม่เลี้ยงถ่ายเปนระสี ตามคัมภีร์ไขบอก อันออกนิยายธรรม ด้วยสัจจังมั่นแก่น หากถูกแม่นเปนลูกกาเผือกตังห้าตนต่างตนก็บวช ทรงผนวชชฎา พ้ำเพ็งพรหมเมตตาในป่า ด้วยปารมีแสร้งส้าติดตามมาจะเดินมัคคา เทียวใต่ มีวันนึ่งนั้นไส้ เทพพะไท้บันดล ต่างตนก็ไปพร้อมหน้า ในป่าไม้ปัพพะตา ในดอยสิงกุตตะระตะโก้ง อันองค์ต่านเจ้าระสี ก็มีคำปาณีต้านตอบ ว่าระสีพี่น้อง อยู่บ้านเมืองใด อันว่าระสีทังหลาย ก็ผาศัยถ้อยถูก ก็หากเปนลูกกาเผือกแม่เดียวกัน ก็มีคำผาถะนาใคร่หันหน้าแม่ ตั้งแต่นั้นมา อันว่าแม่กา คันจุติมรณากลากล้าด ก็ได้ไปเกิดสุทธาวาส มีชื่อกะติกามหาพรหม ทรงพระชนม์วิโรจน์ เสวยทิพพะโสด ด้วยนางนาฎสนม เทพาชมชื่นเค้า ส่วนว่าเจ้าระสี ใคร่หันหน้าแม่เจ้าชุวันยาม ก็ตั้งสัจจะปฏิญญาณเสี่ยงท่า กันจักได้เปนพระภายหน้า ขอแม่ตูข้าจุ่ง เสด็จลงมา ด้วยทิพพะจักขุตา ในกาละนั้นนานางมหาพรหม ก็รู้แจ้งเหตุ จิ่งกลายกลับเพศมาสู่โลกา หื้อสมคำผาถะนาแห่งลูก อันผูกเกล้าเปนชฎา อันว่ามหาพรหมก็เสด็จลงมา เทสะนาไขบอกต้านถ้อยตอบเปนวาจา ว่าลูกปุตตาทั้งห้า แต่นี้ไปหน้ายี่สิบห้าอสงไขยจักบ่สงสัยเว้นแต่ เมื่อสมปารเจ้าแก่ จักได้เปนแม่พระเหมือนกันชุองค์ก็มีความจำนงรักลูก ตานถ้อยถูกวจีว่า หื้อเปนสักขีพยานภายหน้าในสำนักพระเจ้าฟ้า เมื่อเถิงสัพพัญญู อันเป็นครูแก่โลก เพื่อเปนพระโผดสัตตา หื้อเอาปาตาแห่งแม่ ไว้บูชาแก่ส่องหน้าในสำนักภะคะวา ในขณะยามนั้นนา มหาพรหมตนวิเศษจึงเอาฝ้ายทิพย์เทพมาฟั่นแล้ว ชักออกเป็นตีนกา ด้วยเหตุนี้นา คันเถิงเดือนยี่เป็งมา ก็พากันบูชาน้ำมันงาผะตีส ตามจารีตประเพณี แต่นั้นมา เมื่อพระโคตมะเจ้า เข้าสู่แม่น้ำนัมมะทานะตี ยังมีพระยานาค ก็หากได้มาบูชาพระพุทธเจ้า ในกาละนั้นเล่าหากเป็นเดือนยี่เป็ง เหตุนั้นมูละศรัทธา ก็มาเล็งหันว่า ฤดูมาไคว่ ชุน้อยใหญ่จายญิง ก็ฝั้งกัททะลีกล้วยอ้อย โคมไฟใหญ่น้อย ไฟดอกไฟดาวเจาะขึ้นกลางหาว ภายบนหนอากาศ มีตังไฟลูกหยวาดโคมลอย โคมผัดละอ่อนกอยเปนหมู่ ฝูงเถ้าแก่นั่งอยู่ฟังธรรม อันว่ามูลศรัทธา ก็มาหื้อตานธรรมชาตาปี เดือน วัน ตามกำลังไผมันน้อยใหญ่ มีใจใฝ่ชมทานบัดนี้ก็ได้ตกแต่ง นำมายังบุปผาลาชาดวงดอก ข้าวตอกดอกไม้ ลำเทียนโภชนาหารนานาวัตถุทาน มาถวายเถิงแก่พระแก้วเจ้าสามผะการ แล้วขอจุ่งมีธรรมเมตตาอว่ายหน้าปฏิคคะหะรับเอา ยังวัตถุทานทังหลาย ขอเป็นพละจัยแก่ชาตินี้ชาติหน้า คือเมืองคนและเมืองฟ้า มีเนรปานเปนยอดแท้ดีหลีฯ

บุญราศีอันนี้นามีมาก จัดอุทิสะฝากไปหา ฝูงจุติมรณากลากล้าดเป็นต้นว่าญาติพี่น้อง ลูกเต้าหลานเหลน พ่อแม่เถ้าแก่วงศาหลอนได้เปนเปตาทุกข์ยาก ด้วยเดชะฝากของทาน จุ่งไปยกออกทางผลาญเร็วด่วน หื้อพ้นทุกข์ส่วนแสนอัน ด้วยเดชะบุญทานมีมาก ยกออกจากเปตา หื้อได้เป็นเทวดาตนวิเศษ สมบัติทิพย์เทพมีหลาย ในเวหาปราสาท เทวะกัญญามากในสอกา กันเมี้ยนปัญจะขันธา ลงมาเกิดในเมืองคน หื้อมีริพลแหนแห่ เปนเจ้าแก่ประชา ในรัฐฐาเมืองใหญ่ มีไพร่ฟ้ามากหลวงหลายพละนิกายเงินคำช้างม้า ตังเครื่องง้าอลังการ ได้พบพานพุทธบาท อย่าได้ประมาทบุญหื้อมีกุศลแก่กล้า ไปสู่ชั้นฟ้าและเนรพานแท้ดีหลี บุญราศีอันได้มาบูชาน้ำมันผางผะตีสนี้แล้ว จักอุทิสะไปหาเทวตา อันรักษาที่นี้เปนเค้าประธาน อันรักษากายาเนื้อตน ปานนอกตนมีต้นว่า รุกขะเทวะตา ปัพพะตาเทวะตา สอกามาวะจะระเตปีนอินตาพรหมยมราช ครุฑนาคน้ำไอศวรนางนารถไท้ธรณีศรีกุตตะอามาตย์ตนจำบุญและจำบาป ตนจำน้ำหยาดเมื่อยามทาน จุ่งมาภัตตานุโมทนา แล้วจุ่งมากฎเอาลายหมายเอาชื่อแห่งศรัทธาทังหลาย ใส่ไว้ในปัตตาหลาบคำสะนำจำชื่อไว้ใกล้ต่อหน้าทันตา ฉายา อิวะ จุ่งเปนดังร่มเงาไปเตรียมตัวทุกชาติ อย่ากล้าดกลาแท้ดีหลี สุดท้ายนี้นา จักโอกาสเวนทานตามมคธ ภาษาบาลีว่า ;-

อิมานิ มะยัง ภันเต ภัตตานิ ปะทีปานิ สะปะริวารานิ ติระตะนานัง โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ติระตะนานิ ภัตตานิ ปะทีปานิ สะปะริวารานิ ปะฎิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ ยาวะ นิพพานายะ สังวะตันตุ โน ฯ

เวนตานธรรมมหาชาติ

ทวี เขื่อนแก้ว (๒๕๔๑ หน้า ๘๓ – ๘๘) ได้ประมวลคำเวนธรรมมหาชาติ ไว้ดังนี้

โย สันนิสินโน วะระโปธิมูเล มารัง สะเสนัง มะหัตติวิชะโย สัมโปธิมาคัจฉิ อะนันตัญญาโณ โลกุตตะโม ตัง ปะนะมามิ พุทธัง, อัฎฐังคิโก อะริยะปะโถ ชะนานัง โมกขะปะเวสายะ อุชุกะมัคโค อะยัง สันติกะโร ปะนิยานิโก ตัง ปะนะมามิ ธัมมัง, สังโฆ วิสุทโธ วะระทักขิเณยโย สันตินทะริโย สัพพะมะลัปปะหีโน คุเณหิเนเกหิ สะมิทธิปัตโต ตัง ปะนะมามิ สังฆัง ฯ

สาธุ โอกาสะ ข้าแด่พระแก้วเจ้าสามผะการ บัดนี้ศรัทธาผู้ข้าทังหลาย ทังญิงจายน้อยใหญ่ เปนผู้เอาใจใส่พระพุทธะศาสนา การทำบุญทานมารอด มีจิตใจคิดสอด คิดรอดด้วยการบุญ บ่หายสูญเสีย จากหากเกิดด้วยศรัทธา พระพุทธะศาสนายังรุ่งเรืองใสบ่เสร้า ตางวัดวานั้นเล้าภิกขุเณรเถรเจ้า อยู่เฝ้าพ้ำเพ็งธรรม บัดนี้ศรัทธาผู้ข้าทังหลาย มีจิตใจหมายบ่ขาด ใคร่ฟังธรรมห้าชาติ เรื่องพระเวสสันดร โอรสเจ้านครสญชัยองอาจ เจตุตตะระราชธานี นิยายธรรมมีกล่าวอ้าง ปางเมื่อพระพุทธเจ้าสร้างสมปาร อดีตะกาลล่วงแล้ว เวสสันตะระหน่อแก้ว จุติจากเมืองบน มาเอาปฎิสนธิ์กำเนิด เกิดจากท้องแม่เจ้าผุสสะดี จอมเทวีเจ้าแม่ รักลูกแก่เหลือใจ พระยาศรีสญชัยราช รักโอรสนารถเพียงใจ คันเจ้าเจริญวัยขึ้นใหญ่ มีใจใฝ่ทวี ก็ได้ขอนางมัททีนุชนาฎ เปนเทวีพระบาทเวสสนดร อยู่ในพระนครเจตุตตะระราช มียศอาจลือชา เกิดมีบุตตาผู้เค้า นามจื่อเจ้าชาลี ซ้ำมีบุตตีน้องหล้า นามหน่อฟ้าว่ากัณหา สี่กษัตถารักใคร่เลี้ยงสองเจ้าไว้ที่ในวัง บุญของหลังชูช่วย ค้ำเตื่อมด้วยสมภาร พญาเวสสันดรได้หื้อทานช้างเผือก ชาวเมื่องเยือกขับหนี เข้าสู่ดงรีป่ากว้าง พากันอยู่สร้างบวชเปนชี ซ้ำยังมีชูชะกะพราหมณ์เฒ่า สวักเต๊าเข้าสู่ดงหนาไปขอชาลีกัณหาสองหน่อแก้ว ท้าวตนผ่านแผ้ว ก็ได้หื้อลูกแก้วเปนทานเพื่อหวังสัพพัญญูตัญญาณดวงเลิศแล้ว ซ้ำได้หื้อเมียมิ่งแก้วเปนทาน แก่อินทร์ถวายพรจิ่มเจ้า ตามเรื่องเค้ามีมา เถิงพญาสญไชยะราช พานางนาฎผุสสะดีกัณหาชาลีเข้าดงรีป่าไม้ นิมนต์แก้วแก่นไท้ปิ๊กป้อกคืนมา เสวยพาราดั่งเก่าเปนท้าวเล่าสองตี องค์ท่านพระมุนีได้สร้างความดีหลายชาติ หวังพ้นบ้วงบาสตัณหา หวังได้โผดสัตตามนุษย์โลก ข้ามพ้นโอฆสงสาร หื้อเถิงเนระพานเวียงแก้ว เมืองเลิศแล้วยิ่งอุดม การบำเพ็ญทานสะสมบุญเผื่อหื้อมนุษย์คนเราได้เชื่อ ทำบุญหากเปนบุญ บุญจักอุดหนุนเตื่อมตุ้ม ยกจากลุ่มเมือบน ผู้ข้าก็หันผลประเสริฐ บังเกิดปะสาทะศรัทธา ทานธัมมะเตสะนาคนละผูก ตั้งแต่ทะสะปอนเถิงนครกัณฑ์ (หื้อลำดับชื่อเจ้าศรัทธาคนที่ ๑ ถึง ๑๓) รวมสิบสามกัณฑ์ดีงาม ฟังกันครั้งละผูก ตามรายชื่อเจ้าศรัทธา ได้กล่าวมาแต่กี้ บัดนี้จักถวายเป็นทาน ขอนาบุญอันไพศาลจุ่งกลับกลายเป็นญาณอันประเสริฐ นำผู้ข้ายังมีชีวิตจิตใจ สถิตอยู่ในโลกกว้าง ขอดูต่างสร้างกินทาน อยู่สุขบานค่ำเช้า มูลมั่งเข้าย้ำผะไชแม่นได้ลาไปจากโลกได้พ้นโสกโสกา ขอเป็นนาวาลำใหญ่ ขี่ข้ามใต่สาครถึงเมืองบวรเลิศแล้ว กือเวียงแก้วยอดเนระปาน นั้นจุ่งจักมีเที่ยงแท้ดีหลี ฯ

บัดนี้จักจอเวนวาง ตามมคธภาษาบาลีว่า สาธุ โอกาสะ มะยัง ภันเต ธุปะบุปผาลาชะตานัง เวสสันตะระจาตะกัง สัพพะ วัตถุนานา ตานัง สะปะริวารัง สังฆัสสะ โอโณชะยามะ ทุติยัมปิ...ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต ธุปะบุปผาลาชะตานัง เวสสันตะระชาตะกัง สัพพะวัตถุนานาตานัง สะปะริวาราทานัง อัมหากัง ทีฑะรัตตัง หิตายะ สุขายะ ยาวะ นิพพานนายะ สังวัตตัยตุ โน ฯ

ค่าว อานิสงส์ ธรรมมหาชาติเวสสันตระ คู่ชะต๋าปี๋เกิด

โสตุชนา ฟังราพี่น้อง ม่อนจักเล่าถ้อง หื้อหายสังก๋า
ยังยอดบทจั๊น ธรรมพันกถา เวสสันตรา มหาชาติเจ้า
ตานป๋ารมี ใสดีบ่เศร้า เปื้อหวังจักเอา โพธิ
       
สละเข้าของ บ่หมองหม่นจิ๊ ดำริตั้งหมั้น ในตาน
แก้วแหวนสิ่งทรัพย์ กับตังอาหาร ดวงทัยเบิกบาน หาได้เสแสร้ง
ป๋ารมีกุณ ยู้หนุนเตื่อมแถ้ง หื้อตานเมียแปง ลูกรัก
       
ธรรมคู่ชะต๋า อานิสงส์นัก ประจักษ์จุผู้ ศรัทธา
สร้างก๊ำวระ พระศาสนา จักผาถะนา สิ่งไดก่ได้
ทศพรดี รองรับปี๋ไจ้ ตั๋วหนูเปิ้งใน ภาวะ
       
สิบข้อกำพร ภูธรอินต๊ะ ราชะมอบหื้อ ผุสดี
หากตานแล้วนั้น วิมารเรืองศรี ยอดปราสาทมี แก้วเจ็ดสิ่งถ้วน
วรรณะผิวขาว เปิงปาวอ่อนอ้วน นัยต๋าแจ่มนวล เปล่งวะ
       
กั๋ณฑ์หิมพานต์ เวสสันตระ ปะช้างเผือกแก้ว ตั๋วงาม
ตานธรรมผูกนี้ สิ่งดีติดต๋าม ตกชะต๋ายาม เปิ้งงัวปี๋เป้า
สมบัติเพชรแสง เมียแปงลูกเต้า ไฝ่แฝงเตียมเงา คู่เชื้อ
       
ตานะขันธ์ โพธัญหน่อเนื้อ ตานเจ็ดสิ่งเอื้อ ยินดี
ควรกับมูลละ ศรัทธาดิถี คนเกิดปี๋ยี เปิ้งเสือว่าอั้น
เคหะสถาน เบิกบานตั้งหมั้น มีปริวาร เจ็ดร้อย
       
วนาประเวสน์ วิเศษจื้นจ๊อย สี่พระยอดสร้อย บุญเรือง
จากประเตสต๊อง ละจองคำเหลือง ไปอยู่แดนเมือง ดอยดงป่าเส้า
ตั๋วเปิ้งญิงจาย กระต่ายปี๋เหม้า หื้อตกแต่งเอา สร้างไว้
       
มเหสิกขา เทวาเทพไท้ อยู่รักษาใกล้ ตวยไป
ฝูงคนมากนัก จักมาเอาใจ๋ แม้นอยู่แดนได ศัตรูกราบไหว้
ชูชกกัณฑ์หลวง ดวงปี๋สีได้ เปิ้งนาคเรืองไร เป๋นเก๊า
       
จักเกิดกุศล ลาภผลมั่งเต๊า เงินทองของเข้า หลั่งมา
ดั่งพราหมณ์เถ้านั้น หมั้นอมิตต๋า เป๋นภริยา สุขใจ๋บ่หน้อย
มีความสำราญ ลูกหลานเชื่อถ้อย เมียรักก่คอย หนุนก๊ำ
       
จุลพน ไพรสณเลิศล้ำ เต๋มไปว่าอั้น ครัวยา
ปู่พราหมณ์ชูชก ปะป๊บฝูงหมา เถ้าบาปพาลา ตกใจ๋ร้องให้
ชะต๋าเปิ้งงู ยามจูปี๋ไส้ หื้อน้อมดวงทัย อุทิศ
       
ผละเต๋ชา บุญญาเปล่งฤทธิ์ นิมิตรสวนกว้าง อุทยาน
จตุราทิศ วิจิตรสถาน สระดอกบัวบาน หลายพันกาบก้าน
อยู่สุขเสถียร เหย้าเรือนหอบ้าน แสนสิ่งอุฬาร บ่ไร้
       
มหาพน ป่าผลลูกไม้ หาเก็บกิ๋นได้ มากมี
ต๋นเพ่งฌาณะ จุตตะระสี ถูกพราหมณ์ก๋าลี หลอกถามทางหั้น
จุมคนมากมาย ตังหลายดั่งอั้น ยามเกิดตั๋วตัน เปิ้งม้า
       
ชะต๋าราศี ตกปี๋สะง้า หื้อแป๋งเครื่องถ้า ปู่จา
เป็กแสงระยับ ประดับเคหา สินสิ่งไร่นา จ๊างม้าไฝ่อ้าง
สมเจ๋ตนา ศรัทธาที่สร้าง บ่บกเบาบาง นั้นเล้า
       
กุ๋มมารบรรพ์ กุ๋มมารลูกต๊าว อันอยู่ด่านด้าว ดงรี
เวสสันตระ พระพ่อระสี หื้อตานชาลี กั๋ณหาน้องหน้อย
ฝูงบุคคลา ชะต๋าแม่นถ้อย โหราตั๊ดรอย ปี่เม็ด
       
เปิ้งแพะตั๋วงาม บ่งนามออกเคล็ด ตั้งเกศน้อมเกล้า ตานเอา
จักเป๋นเจ้าจ๊าง ผาบกว้างกว่าเขา ยศศักดิ์บ่เบา ชื่อเสียงเข้มกล้า
ป๊บพระเมตไต๋ย ในภัทกัปหน้า เวียงนิปปานา บ่แกล๊ว
       
กั๋ณฑ์มัทรี โฉมดีเลิศแล้ว นางยอดมิ่งแก้ว ชายา
เซาะหาปี้น้อง ตังสองบุตต๋า ทั่วห้องศาลา พฤกษาไพรกว้าง
เปิ้งวอกปี๋สัน จวนกั๋นกึ๊ดสร้าง ครัวตานตำวาง สาธุ
       
สมผาถะนา ฑีฆาอายุ ลุรอดขวบเข้า ร้อยซาว
ผิวเนื้อพรรณะ วัยยะหนุ่มสาว อ่อนเอื้อทุกคราว บ่มีเหี่ยวแห้ง
สัพพะข้าวของ ไหลนองเตื่อมแถ้ง มีเงินค่าแปง จ่ายไจ๊
       
สักกะบรรพ์ เทวันราชไท้ แปล๋งเป๋นพราหมณ์ได้ ลงมา
เพื่อขอแล้วนี้ มัทรีเตียมต๋า พระก่ขุณณา ปล๋งปั๋นปล่อยหื้อ
หนักแหน้นดวงทัย มากมายหลายตื้อ หยาดน้ำถึงมือ อินทร์ต๊าว
       
ดวงชะต๋าคน จับหนปี๋เล้า เปิ้งไก่และเจ้า นายเฮย
สร้างตานแก่พระ บ่ละเพิกเฉย เทวดาเชย ปกปักหลังหน้า
ข้าวของหายสูญ ปายลูนปู๋นหล้า ป๊อยจักปิ๊กมา คืนนั้น
       
มหาราช สองนาฎหลานจั๊น กลับคืนเขตขั้น นคร
สญชัยต๊าวไท้ รีบได้ไถ่ถอน หลานคิ่นภูธร รับขวัญสู่ห้อง
ปี๋เส็ดเปิ้งหมา ชะต๋าตั๋วต้อง ดาเครื่องครัวกอง ตานน้อม
       
กุศลนำปา ยศฐาศักดิ์พร้อม ปริวารอ้อม จูจม
จักเป๋นเจ้าจ๊าง เหนือนางสนม ดนตรี๋ผารมณ์ ม่วนเพราะหิ่งห้อย
ฉักขัตติยา หกราชาสร้อย ปะกั๋นในดอย ป่าไม้
       
ชะต๋าราหู เปิ้งหมูปี๋ไก๊ แป๋งใจ๋หนิมไหว้ วันทา
เกิดเดชเต๋จ๊ะ ผละบุญหนา อริบ่มา ข่มเหงเอาได้
หมู่คนสักเสริญ จ๋ำเริญหายไข้ ป๊นจากโรคภัย สิ่งร้าย
       
กั๋ณฑ์นคร ธรรมต๋อนผูกท้าย สุดยอดขอดด้าย รวมเอา
กู้ปี๋เกิดนี้ บ่มีหมองเหงา ตึงเปิ้นตึงเฮา ช่วยกั๋นร่วมสร้าง
พระเวสสันดร ลาจ๋รป่ากว้าง สิกออกจากตาง นักพรต
       
กลับสู่สีพี บุรีงามงด ย้อมยศผาบด้าว อาณา
กุศลเลิศล้ำ บุญก๊ำรักษา จักเป๋นพระยา เสนาผ่อเฝ้า
ปริโภคา จ๊างม้าของเข้า รถล้อคันเลา พรั่งพร้อม
       
หมู่ญา-ติก๋า ไหลมาหลิ่งน้อม สมาคมต้อม ขุณณา
ฝูงหมู่สัตว์นก วิหคปักษา ปักขีติชา สีเนรับต้อน
พันข้อคาถา วาจ๋าเขาะข้อน ปู่จาบวร พุทธะ
       
ขอบุญกุศล เกิดผลพละ ป๊บพระเจื่องเจ้า ศรีอารย์
หมดเสียซึ่งทุกข์ สุขสามประก๋าร รอดพระนิปปาน เป๋นฝั่งก๊ำหน้า
ดับนิวรณ์ธรรม ตั๋วก๋รรมบาปกล้า สมผาถะนา แต๊นี้
       
อานิสังสา นำมากล่าวจี๊ ยุติมอกอี้ ค่าวโคลง
สุดซ้อยปล่อยลง ปลดปล๋งกำไว้ สาไหว้ลวดเอวัง ก่อนแลนายเหย
       
เฒ่าค่าว บ่าวกะโลง
วัดป่าสหธรรมิการาม (ศรีประดู่)
ตำบลแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่