Tha Thai Version Eng Version Eng  
     
˹á лླբͧҹ ླҹ ҹླҹ 㹾Ըաҹ ػФس ԧǢͧ
 
 
 
 
แบบสอบถามความคิดเห็น
 
Last update: 07/19/2012
 
 
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
เว็บไซต์และฐานข้อมูลประเพณีล้านนา โดย
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
และ
สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อนุญาตให้ใช้ได้ตาม
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ
แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง
 
by
ประเพณีปีใหม่เมือง
วันปากปี
             หลังจากจบสิ้นวันปากปี คนล้านนายังมีวันปากเดือน วันปากวัน และวันปากยาม เพื่อให้เวลาเดินทางไปสรงน้ำพระธาตุเจดีย์ หรือเดินทางไปดำหัวญาติผู้ใหญ่ที่อยู่ห่างไกล และใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวในช่วงปีใหม่ เป็นช่วงที่หยุดจากภาระหน้าที่การงาน

             ช่วงนี้พระสงฆ์ สามเณร จะพากันไปดำหัวพระเถระผู้ใหญ่ตามวัดต่างๆ พร้อมคณะศรัทธา อาจจะเดินไปกันเป็นหมู่คณะ หรือนั่งรถไปในที่ไกลๆ โดยมีของดำหัวและน้ำส้มปล่อยใส่สะหลุงไปสุมาคารวะในหัววัดต่างๆ คนล้านนาเรียกว่า "หัววัดเติงกัน" คือวัดที่มีความสัมพันธ์และเคารพนับถือกัน

             ประเพณีปีใหม่เมืองของคนล้านนา แท้จริงแล้วเป็นกุศโลบายที่สอดคล้องเหมาะสมกับกาลเวลา เป็นประเพณีที่งดงาม รื่นเริง สนุกสนาน สร้างความสมัครสมานสามัคคี เกิดความสุขอบอุ่นในครอบครัว และสังคม เป็นการเตือนตนสำรวจตัวเอง ให้ละทิ้งสิ่งไม่ดีไม่งาม ชำระล้างจิตใจให้ผ่องใส เพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่พร้อมด้วยความดีงาม ความเป็นมงคล โดยผ่านกิจกรรม พิธีกรรมต่างๆ ที่ไม่ใช่เพียงแค่ความสนุกสนานจากการสาดน้ำ หรือการดื่มของมืนเมาจนเกิดการทะเลาะวิวาท ดังที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

             ดังนั้น เราจึงควรช่วยกันให้ความหมายและรักษาประเพณีปีใหม่ของคนล้านนาที่ถูกต้องดีงาม เพื่อสืบสานประเพณีล้านนาให้ยั่งยืนต่อไป

คำเวนทาน คำปันพร คำมัดมือ คำปัดเคราะห์ ในประเพณีปีใหม่เมือง

คำเวนทาน

            คำเวนทาน คือถ้อยคำที่บอกกล่าวถึงเรื่องราว ความเป็นมา ความมุ่งหมายของกิจกรรมนั้นๆ ญาณสมฺปนฺโน(นามแฝง) กล่าวถึงความสำคัญของการเวนทาน ในหนังสือ ตำราพิธีกรรมโบราณ ไว้ว่า

            การเวนทานนั้นเป็นการโน้นน้าวจิตใจของผู้ฟังให้เกิดศรัทธาปสาทะ มีปีติอิ่มเอมรื่นเริงในกุศลทานที่ได้กระทำมา และให้ตัดเสียยังความกังวลมลทินออกจากใจเจ้าภาพ ทำให้มีจิตใจผ่องใสและผู้ฟังย่อมรับทราบอรรถรสคำสอนที่แฝงอยู่ในคำเวนทานนั้นๆ นำไปเป็นข้อคิดสะกิดเตือนใจได้ดี

            ขอเสนอคำเวนทานปีใหม่เมืองบางสำนวนดังนี้

            สาธุโอกาสะ สิริวิสุทธิมกุฏปวะโรจน์โสดอุดม บรมพุทธาติรัตนาตนผ่านแผ้ว พระแก้วเจ้าทั้งสามประการ ยังคลี่บานงามเรืองเรื่อ เพื่อหื้อได้กระทำทานปารมี สีลปารมีไว้เป็นยอด

ขอดไว้กับตนตัว    เพื่อเอาเป็นขัวเล่มแก้ว    ได้ขี่ข้ามแล้วไปสู่รอด   ยังเวียงแก้วยอดเนรพาน        นัยกาลวันนี้ก็เป็นวันดี ดิถีอันวิเศษ   เหตุว่าเป็นวันปีใหม่    อติกันโต ปีเก่าก็ข้ามล่วงไปแล้ว             ปีใหม่แก้วพญาวันก็มาจุจอดรอดถึง    ศรัทธาหญิงชายน้อยใหญ่      ต่างก็มาพร้อมไคว่ชุมนุมกันมวลหมู่   พร้อมหน้าอยู่ในพุทธาวาส   เพื่อหื้อได้โอกาสกระทำบุญ     สมมาคุณขมาลาโทษ   หื้อเป็นประโยชน์แห่งความดี   ตามประเพณีอันมีมาบ่ผ่อน     ในอตีตาก่อนเมินมา    วันสังขารล่องนั้นนา คนหนุ่มเฒ่า     จักพากันสระเกศเกล้าดำหัวตน                 เพื่อเป็นมงคลหื้อได้สะอาด    แล้วปัดกวาดเรือนเคหา     ซักยังวัตถาผ้าเสื้อ        เก็บหยากเยื่อตามข่วงบ้าน บ่ขี้คร้านล้างหม้อและไห              ของใช้อันใดก็นำมาซ่วยล้าง    ตามพื้นข่วงลานก็ปัดกวาด    หื้อสะอาดหมดใส     กระทำจิตใจหื้อชุ่มเชยบาน     อันว่าวันสังขารล่องจักบอกชี้           ก็คืออายุแห่งคนเรานี้แก่ล่วงเลยไป     บ่เมินเท่าใดปีหนึ่งก็มาจอด     หื้อพากันคิดรอดสร้างแต่ทางดี           ครั้นรอดวันพูกมีแถมเล่า     เรียกว่าวันเน่าอันเล่าสืบๆ กันมา             ว่ายังมีพระยาตนหนึ่งชื่อสุริยา                    มีภริยาอยู่สองพ่างซ้ายขวา  พระยาตนนั้นได้มรณาตายไปเป็นเปรต         อยู่ที่ในขอบเขตฟ้าจักรวาล    สองนางนงคราญอันเป็นเมียนั้น   ก็ได้ตายหั้นเมืองคน       ก็เอาตนไปเป็นเปรตที่เดียวกัน    ก็ได้ไปหันพระยาเจ้าอันเป็นผัวตนเมื่อก่อน   จึงพากันส่อนไปกอดก็บ่ได้   เหตุว่าท้าวไท้เป็นพระยาหัวขาด   เหตุนั้นคนจึงโอกาสจาเล่า   ว่าวันนี้เป็นวันเน่าติดต่อกันมา   มูลศรัทธาชุผู้ จงพร่ำรู้ตามมี              ตามประเพณีมาแต่เค้า   คนหนุ่มเฒ่าหญิงชาย               จักขนทรายมาใส่ข่วงแก้วทั้งสาม       แล้วแปลงเจดีย์งามผ่องแผ้ว   เพื่อสมมุติเป็นเจดีย์แก้วดั่งในอตีตา   ดังเราจักจาบอกเล่า ยังเค้าเหง้าว่า ยังมีมหาเถรเจ้าตนหนึ่งชื่อเทพมาลัย    ตนทรงศีลใสอันเลิศแล้ว            ตนแก้วได้เสด็จไปสู่อบาย     หันสัตว์นรกทั้งหลายมีมวลมาก    อันวิบากเขาหากนำมา     พระก็จาถามไปใคร่รู้    ว่ายามเมื่ออยู่เมืองคนกระทำบาปสังชา?      จึงได้มาทรงทุกข์ฉันนี้เล่า    สัตว์นรกก็บอกเล่าแก่พระมาลัย    ว่ายามเมื่อตูข้าอยู่ในโลกใต้    กระทำบาปไว้หลายประการ               คือบ่ได้หื้อทานรักษาศีลสังสักหยาด     ครั้นมรณาดจากเมืองคน    ได้เอาตนมาสู่อเวจี    ขอตนบุญมีมหาเถรเจ้า   ได้บอกเล่าพี่น้องอันอยู่ในโลกา    ว่าขอกรุณาหมู่ข้าทั้งหลาย                มีใจผายแผ่ชมชื่น   กระทำบุญยกยื่นแผ่มาหา   ยามนั้นนามหาเถรเจ้าเทพมาลัย     ได้ยินคำจาไขแห่งหมู่เปรต         ก็รีบออกเขตห้องอบาย               แล้วก็รีบเสด็จผันผายบ่ช้า    มาสู่โลกหล้ามนุสสา    ที่นั้นนาคนหนุ่มเฒ่า    ก็พากันเอาข้าวมาใส่บาตร    บ่ได้ขาดเสียคนใด  ยามนั้นพระมาลัยก็บอกเล่า   ว่าตนนั้นเล่าได้ไปสู่อบาย  สัตว์นรกทั้งหลายมวลมาก              เขาได้ทรงทุกข์ยากฝากคำมาหา  ว่าขอหมู่วงศากระทำบุญหยาดน้ำ   มีใจพร่ำสร้างยังเจดีย์ทรายผ่องแผ้ว   ไว้ในข่วงแก้วทั้งสาม       แล้วอัญเชิญสรีรธาตุงามอันหอมหื่น   อันมีในหมื่นโลกจักรวาล   มาประดิษฐานในเจดีย์ทราย            ครั้นเจ็ดวันหมายครบไคว่    เม็ดทรายน้อยใหญ่ทั้งหลาย         ขอกลับกลายเป็นทรายดังเก่า          ยามนั้นพี่น้องเผ่าวงศ์ใย    ได้ฟังพระมาลัยบอกกล่าว    หื้อรู้ข่าวอันเป็นคลองดี    ก็ศรัทธามีใจชื่นช้อย       ทั้งใหญ่น้อยหญิงชาย   ก็พากันขนทรายมาสู่อาราม     แล้วก่อเป็นเจดีย์งามยายหยาดถ้อย    ปักช่อน้อยแลทุงชัย พ่องก่อไปได้ตามอายุแห่งตน   ครั้นเขาทานแล้วก็อุทิศส่วนกุศลไปหา   ยังหมู่วงศาพี่น้อง    อันไปตกอยู่แห่งห้องนรกอบาย               หื้อได้กลับกลายไปเกิด       ในห้องฟ้าเลิศเมืองสวรรค์     อันว่าสร้างเจดีย์ทรายกันนี้เล่า     พระพุทธเจ้าหากเทศนา     ว่าภิกขเว ดูราภิกขุทั้งหลาย    บุคคลผู้ใดได้สร้างเจดีย์ทราย   แล้วปักช่อทุงยายหยดหยาด ไว้ในอาวาสและข่วงเจดีย์   หากมีอานิสงส์ล้ำเลิศ              ผลบุญกุศลเกิดมีนักหนา แม้นจักปรารถนาเอายังสุขสามประการ       คือสุขเชยบานในมนุษย์โลก  จักมีสมบัติอาโภคมากมวลมี       จักได้เป็นเศรษฐีมูลมั่งเท้า  บ่มีทุกข์โศกเศร้าประการใด   ครั้นว่าตายไปจากโลกหล้า        จักได้ไปเกิดชั้นฟ้าเมืองบน  เป็นตนเทวบุตรเทวดา                   อยู่ปรางค์ปราสาทแก้ววิมานคำ                ก็ด้วยได้กระทำตามคลองนักปราชญ์เจ้า   มาแต่เค้าในอตีตา      วันนี้นาก็เป็นวันปีใหม่     เป็นวันใหญ่คือวันพญาวัน  ศรัทธาพากันตกแต่งห้างของทาน   ก็เป็นการบริบูรณ์ดีพร่ำพร้อม  อันจักยื่นน้อมยอถวาย              ผู้ข้าทั้งหลายได้ทานแล้ว     มีใจผ่องแผ้วยินดี   กุศลมีมวลมาก    จักขออุทิศฝากไปหา              หมู่สรรพเทวดาน้อยใหญ่   อันอยู่ต้นไม้เครือวัลย์   ทุกดอยดงตันเหวหาด    ทุกท่าตาดคูหา     เทวดารักษาบ้านช่อง    รักษาแห่งห้องอาวาส        รักษาพุทธศาสน์นิรันดร์มา               ทั้งนักขัตตาและเทวดาเก้าหมู่    ขอมาชมชื่นสู้โมทนา     กุศลบุญนี้นาขอผายแผ่ ไปหาพ่อแม่หมู่วงศ์ใย    อันตายไปสู่ปรโลกหน้า        ทั้งปู่ป้าน้าอาวอา   อันมรณาตายจาก    บุญนี้มากมีมูล  ถึงเจ็ดตระกูลเป็นเค้า             เก้าตระกูลเป็นแดน   แสนตระกูลเป็นขนาด   ขอหลั่งน้ำหยาดไปหา    บัดนี้นาจักเวนทานตามมคธภาษาบาลีว่า

            (ตั้งนโม ๓ จบก่อน)

            อิมานิ มยัง ภันเต วาลุกเจติยานิ ติรตนานัง โอโนชยามะ สาธุ โน ภันเต อิมานิ วาลุกเจติยานิ สัพพปริวารานิ ปฏิคคันหาตุ อัมหากัง ทีฆรัตตัง หิตายะ สุขายะ ยาวนิพพานายะ ปัจจโย โหตุ โน นิจจัง (โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา, ๒๕๕๑, หน้า ๓๔-๓๖)
 

คำปันพรปีใหม่

            ปันพร คือให้พรหรืออวยพร เมื่อลูกหลานหรือญาติโยมมาทานขันข้าว หรือมาดำหัวนั้น พระสงฆ์หรือผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้รับเอาขันข้าวหรือเครื่องดำหัวนั้น  จะปันพรแก่ลูกหลานหรือญาติโยม คำปันพรปีใหม่บางสำนวนมีดังนี้

             เอวังโหนตุ สัมปฏิจฉามิ ดีแล                      อัชชะในวันนี้ก็หากเป็นวันดีติถีวิเศษ
เหตุว่ารวิสังขารปีเก่าก็ล่วงพ้นไปแล้ว                         ปีใหม่แก้วพญาวันก็มารอดมาเถิง
มาเทิงยังหมู่เราเจ้าข้าทั้งหลาย                                 บัดนี้หมายมี(ระบุชื่อ)เป็นเค้า
พร้อมด้วยลูกหลานต่านเต้าสูเจ้าทั้งหลายชุหมู่ชุมวล      ก็บ่ละเสียยังรีตบ่นีดเสียยังปาเวณี
อันเป็นคลองแห่งสัปปุริสะเจ้าแต่ก่อนหากมีมา             ก็หากได้สนงขงขวายตกแต่งดาพร่ำพร้อม
น้อมมายังธูปบุปผาลาชาดวงดอก                 ข้าวตอกดอกไม้ลำเทียนน้ำอบน้ำหอม
เพื่อจักขอสมมาคารวะยังตนตัวผู้ข้า              ว่าฉันนี้เที่ยงแท้ดีหลี
บัดนี้ตนตัวผู้ข้าก็หากได้อว่ายหน้ารับเอา        แม้นว่าสูเจ้าทั้งหลายได้ประมาทลาสา
ด้วยกายกัมมัง วจีกัมมัง มโนกัมมังก็ดี          ได้ขึ้นที่ต่ำได้ย่ำที่สูงใดๆ ก็ดี
อันเป็นสัญจิญจโทสัง อสัญจิญจโทสัง          อตีตโทสัง ปัจจุปนโทสัง อนาคตโทสังใดๆก็ดี
ก็ขอหื้อกลายเป็นอโหสิกรรมอันบ่มีโทษ       บ่หื้อเป็นนิวรณธรรมแก่สูท่านทั้งหลายสักเยื่องสัก
อันจุ่งจักมีเที่ยงแท้ดีหลี                            ตั้งแต่มุหุตกาลวันนี้ยามนี้ไปภายหน้า
ขอหื้อสูท่านทั้งหลายชู่ผู้ชู่คน                     ชู่ตนชู่องค์หื้อพ้นจากสรรพทุกข์ สรรพโศก
สรรพโรค สรรพภัย  สรรพจังไรวินาสันตุ       อยู่ก็หื้อมีชัย ไปก็หื้อมีโชคมีลาภ
เคราะห์ร้ายหยาบอย่ามาใกล้                      เจ็บป่วยไข้อย่ามาพาน
หื้อได้อยู่สำราญช้อยโชติ                          เงินคำล้านโกฏิจุ่งมีเต็มฉางบ่รู้บกบางสักเทื่อ
เต็มอยู่ชู่เมื่อเที่ยงแท้ดีหลี                          หื้อได้อยู่สวัสดีทีฆาเที่ยงเท้า
อายุร้อยซาวขวบข้าววัสสา                         ได้อยู่ค้ำชูพระวรพุทธศาสนาไปไจ้ๆ
อย่าได้คลาดคลาเที่ยงเท้าดีหลี                   ตามบาทบาลีว่า

                อายุวัฑฒโก ธนวัฑฒโก  สิริวัฑฒโก  ยสวัฑฒโก พลวัฑฒโก วัณณวัฑฒโก สุขวัฑฒโก โหตุ สัพพทา  ทุกขะ โรคะ ภยา เวรา โสกา สัตตุจุปัททวา  อเนกา อันตรายาปิ วินัสสันตุ จะ เตชสา  ชยะ สิทธิ ธนัง ลาภัง โสตถิ ภาคยัง  สุขัง พลัง สิริ อายุ จะ วัณโณ จะ โภคัง วุฑฒิ จะ ยสะ วา สตวัสสา จะ อายุ จะ ชีวสิทธิ ภวัตตุ เต

                สัพพีติ โย วิวัชชันตุ สัพพโรโค วินัสสตุ มา เต ภวัตวันตรายโย สุขีทีฆายุโก ภวะ อภิวาทนสีลีสนิจจัง วุฑฒาปจายิโน จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ อายุวัณโณ สุขัง พลัง (โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา, ๒๕๕๑, หน้า ๓๖ – ๓๗)

 

คำปันพรปีใหม่อีกสำนวนหนึ่ง

                เอวัง โหนตุ อัชชะ ในวันนี้ก็เป็นวันดี       อติกันโต สังขารปีเก่าก็ข้ามล่วงพ้นไปแล้ว
ปีใหม่แก้วพญาวันก็มาจุจอดรอดเถิง                       ลูกหลานทั้งหลายก็บ่ละเสียยังรีต
บ่ลีดเสียยังปาเวณีแห่งอริยะเจ้าทั้งหลาย                  อันเป็นมาแล้วในกาละเมื่อก่อน
ท่านทั้งหลายก็บ่หื้อผ่อนหายสูญ                            บัดนี้จึ่งตกแต่งน้อมนำมายังสุคันโธทกะ
แลสิ่งทานังทั้งหลายมวลฝูงนี้                                มาสะสางสระเกล้าดำหัวยังตนตัวแห่งผู้ข้า
บัดนี้ผู้ข้ามีธรรมเมตตาอว่ายหน้าปฏิคหะรับเอาแล้ว     แม้นว่าลูกหลานทั้งหลายได้กระทำ
ด้วยกายวจีมโนกรรมหลายหลาก                            ได้กระทำกับผู้ข้าเป็นอันมาก
แม้นได้ปากล้ำคำเหลือเป็นสัจจัง                             ได้ปากเสียงดังครางเสียงใหญ่
ได้ขึ้นที่ต่ำได้ย่ำที่สูงฉันใดดังอั้นก็ดี                         แม้นักเป็นวจีกรรม มโนกรรมไปถูกต้อง
ลูกหลานทั้งหลายก็ดาพร้อมถ้าจักมาขอสูมา              ผู้ข้าก็บ่หื้อเป็นโทสาสังสักอย่าง
กายวจีมโนกรรมใดหื้อคลาดจากตนตัว                     บ่หื้อมีความหมองมัวสังสักอย่าง
หื้อแจ้งกระจ่างล้ำเลิศ                                           แลหือพ้นเสียยังปาปโทษ
โปรดหื้อหายกลายเป็นอโหสิกรรม                           ขออย่าได้เป็นนิวรณธรรม
กรรมอันจักห้ามยังสุขสามประการ                           สุขในเมืองฟ้าแลเมืองคน
มีมหาเนรพานนั้นจุ่งจักมี                                        แม้นลูกหลานทั้งหลาย
ได้เอาปัจจัยมวลฝูงนี้มาหื้อทาน                               ขอหื้อมีความสุขสำราญเที่ยงเท้า
หื้อเป็นปัจจัยแก่เจ้าชู่คนๆ                                      สมดั่งความมักความปรารถนาตนอย่าคลาด
หื้อปราศจากโรคภัยทั้งหลาย                                  อย่ามากรายมาใกล้
แม้นจักไปวันตกวันออกเหนือใต้                             ก็มีมิตรแก้วสหายคำ
จักไปเมื่อคืนเมื่อวัน                                             ก็อย่าได้มีเคราะห์มาพานถูกต้อง
แม้นมีพี่น้องก็หื้อถูกโล่งกัน                                   ขอหื้อมีความสุขความงามอยู่บ่ขาด
หื้อสมดังคำปากผู้ข้าปันพรชู่ประการ                        นั้นจุ่งจักมีเที่ยงแท้ดีหลี

                สัพพีติ โย วิวัชชันตุ สัพพโรโค วินัสสตุ มา เต ภวัตวันตรายโย สุขีทีฆายุโก ภวะ อภิวาทนสีลีสนิจจัง วุฑฒาปจายิโน จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ อายุวัณโณ สุขัง พลัง
(โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา, ๒๕๕๑, หน้า ๓๗-๓๘)

 

คำปัดเคราะห์

                เมื่อลูกหลานมาดำหัวนั้น เมื่อผู้เฒ่าผู้แก่ปันพรแล้ว ลูกหลานก็มักขอให้พ่อหม่อนแม่อุ๊ยคนนั้น มัดมือหรือผูกขวัญให้ แต่ก่อนจะมัดมือหรือผูกข้อทอขวัญเพื่อเป็นสิริมงคล เพื่อให้ขวัญอยู่กับเนื้อกับตัวนั้น ผู้เฒ่าผู้แก่ก็จะปัดเคราะห์ให้ลูกหลานเสียก่อน

               การปัดเคราะห์นั้น ผู้เฒ่าจะให้ลูกหลานแบมือสองข้างชิดกัน หรืออาจแบมือข้างเดียวก็ได้ แล้วจะเอาหางฝ้ายที่จะใช้มัดมือนั้นมากวาดในฝ่ามือของลูกหลาน แล้วกล่าวคำปัดเคราะห์

               คำปัดเคราะห์อาจมีหลายสำนวน ในที่แห่งนี้จะนำเสนอสำนวนของพระครูสิงหวิชัย วัดฟ้าฮ่าม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ดังนี้

                โอมสัพพัตถุสัมพทา           สัพพโรคา สัพพอุบาทว์   สัพพพยาธิอันตราย  เคราะห์ทั้งหลาย เคราะห์พาวายขี้ไข้  เคราะห์หัวปีถูกต้อง                  เคราะห์พี่น้องมาเยือน   เคราะห์ในเรือนต้องค้าย       เคราะห์เมื่อย่างย้ายพามี    เคราะห์ไร่นามีปูเฝ้า   เคราะห์ปู่เฒ่าฝากครัว   เคราะห์งัวควายตัวกล้า               เคราะห์ช้างม้าต่อชน   เคราะห์กังวลเป็นถ้อย   เคราะห์ปีเดือนวันโกรธไหม้    เคราะห์เจ็บเคราะห์ไข้เคราะห์หนาว เคราะห์เมื่อคืนเมื่อวัน    เคราะห์พากลั้นพาอยาก        เคราะห์กวนเคราะห์กรรม   เคราะห์เมื่อหลับเมื่อตื่นหลับบ่ชื่นเป็นฝัน    เคราะห์ภายหลังอย่าได้มาถ้า เคราะห์ภายหน้าอย่าได้มาจก   เคราะห์ทางวันตกอย่าได้มาเฝือ    เคราะห์ทางเหนืออย่าได้มาต้องมาถูก   เคราะห์วันนี้วันพรูกจุ่งหื้อหนีไกล  หื้อหนีไปตามพระอาทิตย์พระจันทร์   อังคารที่ฟ้าเสี้ยงแผ่นดินสุด          จุ่งหื้อตกไปกับพระพุธที่ป่ากวางดงสงัด    จุ่งหื้อหนีไปตามพระหัสที่ยุคันธรแอ่วเล่น   เทียวแว่เว้นสนุก  จุ่งหื้อหนีไปตามพระศุกร์ที่ป่าดงมืดเส้า  ที่พระพุทธเจ้าบ่ไว้ศาสนา   จุ่งหื้อตกไปตามพระเสาร์นาคาหย่อมหญ้า     ใต้ขอบฟ้าอุดรกรู  จุ่งหื้อไปตามราหูอสุรินทไอสวร    เคราะห์ต่างๆ นานาจุ่งหื้อตกไปในวันนี้ยามนี้   ตั้งแต่วันนี้ยามนี้เป็นต้นไป  อยู่หื้อมีชัยไปหื้อมีโชคมีลาภ   ปราบแพ้ข้าศึกศัตรูทุกเยื่องทุกประการ    จุ่งจักมีเที่ยงแท้ดีหลี   
                ชยตุ ภวังค์ ชยสุภมังคลัง ชยโสตถิง ภวันตุเต

 (โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา, ๒๕๕๑, หน้า ๓๘)

 
 
 
Northern Thai Information Center (NTIC),
Chiang Mai University Library in collaboration with Information Technology Service Center
239 Huay Kaew Rd., Mueang District, Chiang Mai, Thailand 50200
Tel: +66 (0) 5394 4514, +66 (0) 5394 4517 email: ntic@lib.cmu.ac.th
Copyright © 2009-2016 Chiang Mai University. All Rights Reserved.