การหามื้อจันวันดี และโศลกทำบ้าน
เมื่อได้บริเวณที่จะปลูกเรือนแล้วก็ให้ไปหาพระสงฆ์ หรืออาจารย์วัดให้ช่วยดูเดือน ดูวัน ดูยามที่จะลงมือปลูกเรือน เรียกว่าการหาหื้อจันวันดี โดยอ้างจากบางตำราเริ่มจากเดือนก่อน (๒) เช่น
เดือนที่ดีและไม่ดีในการปลูกเรือนใหม่
- เดือนเจียง
- จักผิดเถียงกัน ไม่ดี
- เดือนยี่
- จักสมฤทธี มีข้าวของ ดี
- เดือน ๓
- จักเสียข้าวของ ไม่ดี
- เดือน ๔
- จักได้ลาภ และมีข้าวของ ดี
- เดือน ๕
- จักเป็นพยาธิ และไฟจักไหม้ ไม่ดี
- เดือน ๖
- จักได้ลาภ มีข้าวของ อยู่ดีมีสุข ดี
- เดือน ๗
- จักได้รับความทุกข์มากนัก และจักพลันตาย ไม่ดี
- เดือน ๘
- จักเสียข้าวของ หรือเป็นพยาธิ ไม่ดี แต่บางตำราว่าจักมีข้าวของดี
- เดือน ๙
- จักมีลาภ และอยู่ดีมีสุข ดี
- เดือน ๑๐
- จักเป็นพยาธิตาย และจักฉิบฉายไม่ดี
- เดือน ๑๑
- จักเป็นโทษ และผิดเถียงกัน ไม่ดี บางตำราว่าจักสมฤทธี ดี
- เดือน ๑๒
- จักเป็นดีมีสุขมากนัก
วันเสียประจำเดือน
- เดือนเจียง เดือน ๕ เดือน ๙
- วันอาทิตย์ และวันจันทร์ เสีย
- เดือนยี่ เดือน ๖ เดือน ๑๐
- วันอังคารเสีย
- เดือน ๓ เดือน ๗ เดือน ๑๑
- วันพฤหัสบดี และวันเสาร์ เสีย
- เดือน ๔ เดือน ๘ เดือน ๑๒
- วันพุธ และวันศุกร์เสีย
ยามดีไม่ดี
- วันอาทิตย์
- ยามรุ่งเช้า หินะ ไม่ดี
- ยามกองงาย อุทธังราชา ดี
- ยามแตรจักใกล้เที่ยงลาภสะกัง ดี
- ยามเที่ยง หินะ ไม่ดี
- ยามกองแลง หินะ ไม่ดี
- ยามแตรจักใกล้ค่ำ อุทธังราชา ดี
- ยามค่ำแท้ ก็ดี
- วันจันทร์
- ยามเช้า หินะ ไม่ดี
- ยางกลองงาย หินะ ไม่ดี
- ยามใกล้เที่ยง หินะ ไม่ดี
- ยามเที่ยง อุทธังราชา ดี
- ยามช้าย(เวลาบ่าย) หินะ ไม่ดี
- ยามใกล้ค่ำ หินะ ไม่ดี
- ยามค่ำแท้ หินะ ไม่ดี
- วันอังคาร
- ยามเช้า อุทธังราชา ดี
- ยามกลองงาย ลาภสะกัง ดี
- ยามใกล้เที่ยง หินะ ไม่ดี
- ยามเที่ยง หินะ ไม่ดี
- ยามกองแลง อุทธังราชา ดี
- ยามใกล้ค่ำ ลาภสะกังดี ค่ำแท้หินะ ไม่ดี
- วันพุธ
- ยามเช้า หินะ ไม่ดี
- ยามกลองงาย อุทธังราชา ดี
- ยามใกล้เที่ยง หินะไม่ดี
- ยามเที่ยง อุทธังราชา ดี
- ยามช้าย (เวลาบ่าย) ลาภสะกัง ดี
- ยามค่ำ หินะ ไม่ดี
- วันพฤหัสบดี
- ยามเช้า หินะ ไม่ดี
- ยามกลองงาย หินะ ไม่ดี
- ยามใกล้เที่ยง อุทธังราชา ดี
- ยามเที่ยง ลาภสะกัง ดี
- ยามแตรค่ำ อุทธังราชาดี
- ยามค่ำแท้ ก็ดี
- วันศุกร์
- ยามเช้า หินะ ไม่ดี
- ยามกองงาย อุทธังราชา ดี
- ยามใกล้เที่ยง ลาภสะกัง ดี
- ยามใกล้เที่ยง หินะ ไม่ดี
- ยามช้าย(เวลาบ่าย) ดี
- ยามใกล้ค่ำ อุทธังราชา ดี
- ยามค่ำแท้ ดี
- วันเสาร์
- ยามเช้า อุทธังราชา ดี
- ยามกลองงาย อุทธังราชา ดี
- ยามใกล้เที่ยง หินะ ไม่ดี
- ยามเที่ยง หินะไม่ดี
- ยามช้าย (เวลาบ่าย) อุทธังราชา ดี
- ยามเย็น ลาภสะกัง ดี
- ยามใกล้ค่ำ หินะ ไม่ดี
- ยามค่ำแท้ ก็ไม่ดี
มณี พยอมยงค์ (๒๕๓๙, หน้า ๑๗๑) อธิบายการทำบ้านให้ถูกต้องตามโศลก หรือฮีตของการสร้างบ้านแปงเฮือน เป็นความเชื่อของคนล้านนาที่เชื่อว่าต้องปลูกเรือนให้ถูกต้องตามโฉลก จึงจะอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข โดยให้เจ้าของบ้านที่เป็นชายเอาไม้มาวัดให้พอดีกับวาของตน แล้วนับแต่รั้วบ้านด้านใดด้านหนึ่งเป็นวาที่หนึ่ง ไปตรงจุดที่จะสร้างบ้าน โดยนับว่าที่หนึ่งเป็นน้ำบ่อแก้วแล้วไล่ตามลำดับต่อไปนี้
- น้ำบ่อแก้วกินเย็น (ดี)
- ผีเข็ญอยู่กะล่าง (ไม่ดี)
- เอาตูบห่างแปงผามควาย (ไม่ดี)
- หยิบถงลายใส่เงินย่อย (ดี)
- ปั้นเข้าอ่อยผี (ไม่ดี)
- เอาลูกเศรษฐีเป็นเพื่อน (ดี)
- ไม้ยังเถื่อนเป็นมงคง (ดี)
ที่นิยมกันมากคือ “หยิบถงลายใส่เงินย่อย” ถือว่าเป็นการเก็บเล็กผสมน้อย เริ่มต้นการลงเสาแรกที่นั่น หากยังต้องการเนื้อที่กว้าง การนับโศลกก็นับวนมาที่น้ำบ่อแก้วกินเย็นอีกครั้งหนึ่ง การทำตามโศลกเวลาสร้างบ้านแปงเฮือน นอกจากจะเกิดความมั่นใจแก่เจ้าของเรือนยังสร้างความอุ่นใจและเชื่อว่าจะมีความสุขสวัสดี และมีความเจริญแก่ชีวิตและครอบครัว