เพลงกล่อมเด็กและเพลงร้องเล่น
อุดม รุ่งเรืองศรี (2542 : 4746-4757) ได้กล่าวถึงเพลงกล่อมเด็กและเพลงร้องเล่นภาคเหนือ ซึ่งเป็นงานเขียนที่ขยายขอบเขตขึ้นจากข้อมูลหลักที่เป็นผลมาจากการทำงานร่วมกับคณะทำงานจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ โดยมีศาสตราจารย์คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต เป็นประธานคณะทำงานจากสำนักงานคณะทำงาน ซึ่งอาจารย์กุลวดี เจริญศรี และผู้เรียบเรียงเป็นกรรมการ โดยประสงค์ที่จะสอบค้นหาเพลงกล่อมเด็กและเพลงที่เด็กใช้ร้องเล่นในภาคเหนือ
1. ประวัติความเป็นมาของเพลงกล่อมเด็กและเพลงร้องเล่นภาคเหนือ
เพลงกล่อมเด็กและเพลงร้องเล่นภาคเหนือ คือในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา และแม่ฮ่องสอนมีปรากฏอยู่ในวัฒนธรรมพื้นบ้านเนิ่นนานแล้ว เพียงแต่ไม่ปรากฏหลักฐานยืนยันถึงช่วงเวลาที่เพลงเหล่านั้นประเพณีความเชื่อที่เก่าแก่และมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับคนไทยเผ่าอื่นได้ด้วย ปัจจุบันนี้เห็นได้ว่าผู้ที่พอจะรู้เรื่องเพลงกล่อมเด็กและเพลงร้องเล่นเหล่านั้นมักจะมีไม่น้อยกว่า 50 ปี และจำนวนผู้รู้ดังกล่าวก็นับวันจะลดน้อยลงตามลำดับ
2. ลักษณะของเพลงกล่อมเด็กและเพลงร้องเล่น
2.1 ฉันทลักษณ์
ฉันทลักษณ์ของเพลงกล่อมเด็กและเพลงร้องเล่นภาคเหนือ มีลักษณะร่วมกับเพลงลักษณะเดียวกันในกลุ่มชนเผ่าไทย ซึ่งอาจนับได้ว่าเป็นลักษณะสากลก็ได้ กล่าวคือบทเพลงเหล่านั้นจะไม่มีการกำหนดความยาวที่แน่นอน ความยาวของบทเพลงขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่พรรณนา โดยปกติเพลงเหล่านั้นจะแบ่งเป็นวรรค เพื่อให้สะดวกต่อการขับขาน และโดยทั่วไปมักจะมีความยาววรรคละ 4คำ ที่น่าสังเกตก็คือในการส่งสัมผัสนั้น มักเป็นการสัมผัสเสียงสระหรือเสียงวรรณยุกต์ และไม่เคร่งครัดที่จะต้องส่งสัมผัสกันด้วยเสียงตัวสะกดหรือตัวสะกด
2.2 ทำนอง
ท่วงทำนองในการขับขานเพลงกล่อมเด็กและเพลงร้องเล่นนี้ อาจจัดเป็นสองประการใหญ่ๆ คือ
- ทำนองอื่อ เป็นทำนองที่มาจากเสียงซึ่งเปล่งเสียงหึ่งออกทางจมูก ให้มีเสียงสูงต่ำตามต้องการ ใช้เปล่งประกอบการขับเพลง นิยมใช้กับเพลงกล่อมเด็ก และทำนองอื่อนี้อาจจะแยกได้เป็นสองแบบ คือการอื่อแบบง่ายตามที่ชาวบ้านทั่วไปพอจะขับได้ และการอื่อแบบที่ใช้ทำนองธรรมวัตร หรือความเชี่ยวชาญเฉพาะตนในการขับทำนองเทศนาแบบล้านนาประกอบ
- ทำนองร่ำ (ฮ่ำ) คือทำนองที่ขับขานบทเพลงตามจังหวะโดยเอื้อนเสียงทอดยาวที่พยางค์สุดท้ายของวรรค และเปล่งเสียงขึ้นลงตามระดับสูงต่ำของเสียงวรรณยุกต์
- ทำนองร่วมสมัย คือจะมีการขับเพลงตามสมัยนิยมซึ่งในยุคก่อนอาจขับจ๊อย หรือซอแบบต่างๆ ซึ่งเป็นที่นิยมกันในขณะนั้น และยุคปัจจุบันอาจขับเพลง ซึ่งเป็นที่นิยมกันอยู่เป็นเพลงกล่อมเด็กก็ได้
2.3 จุดมุ่งหมาย
เพลงกล่อมเด็ก มีจุดประสงค์คือ- เพื่อให้เด็กได้รับรู้ถึงความรักของผู้กล่อมอันสัมผัสได้จากกระแสเสียงที่ฟังดูอ่อนโยนและนุ่มนวล
- เพื่อให้เด็กหลับด้วยการประโลมให้เพลินใจ
- เพื่อให้เด็กหลับด้วยการขู่ให้หวาดกลัว
- เพื่อให้เด็กได้ฝึกการออกเสียงและการขับร้องจากเพลงที่มีทำนองสนุกสนา
- เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ถึงสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวและสิ่งที่อยู่ในจินตนาการ
2.4 ความเปลี่ยนแปลงของเพลงกล่อมเด็กและเพลงร้องเล่น
เพลงกล่อมเด็กและเพลงร้องของภาคเหนือซึงเป็นมรดกที่สร้างขึ้นจากวัฒนธรรมพื้นบ้านที่เรียบง่ายและตรงไปตรงมาทั้งในแง่คิดและการแสดงออก เมื่อเผชิญกับวัฒนธรรมวัตถุแบบปัจจุบันแล้ว ทำให้เพลงเด็กดังกล่าวเสื่อมความนิยมลงทั้งด้านบทบาทการใช้งานและความรู้ที่ถูกต้องต่อทั้งเนื้อเรื่องและทำนองของเพลงเหล่านั้น จนทำให้เกิดความวิตกกันว่าทั้งเพลงกล่อมเด็กและเพลงร้องเล่นเหล่านั้นจะสูญหายไปในที่สุด
3. การนำเพลงกล่อมเด็กและเพลงร้องเล่นไปใช้
การนำเพลงกล่อมเด็กและเพลงร้องเล่นภาคเหนือไปใช้นั้นเป็นไปอย่างไม่แพร่หลาย ทั้งนี้อาจมีเด็กตามหมู่บ้านบางแห่งที่ร้องเพลงเล่นอยู่บ้างหรืออาจมีแม่เฒ่าบางท่านที่ร้องเพลงกล่อมหลานเท่านั้น หากจะมีการนำเพลงกล่อมเด็กและเพลงร้องเล่นมาใช้แล้ว อาจดำเนินได้ดังนี้
- รวบรวมเพลงกล่อมเด็กและเพลงร้องเล่นจากแหล่งต่างๆ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องแล้วเผยแพร่เพลงเหล่านั้นในรูปของเอกสาร
- ส่งเสริมให้ใช้เพลงกล่อมเด็กและเพลงร้องเล่นอย่างกว้างขวาง เช่น อาจจัดทำเทปตลับของเพลงเหล่านั้นเพื่อใช้ในโรงเรียนอนุบาล หรือทำหนังสือภาพ เป็นต้น
- ร่วมมือกับสื่อมวลชนแขนงต่างๆ ในการเผยแพร่เพลงกล่อมเด็กและเพลงร้องเล่น
- จัดประกวดเพลงกล่อมเด็กและเพลงร้องเล่นทั้งแบบเก่าและที่แต่งขึ้นใหม่
สรุปลักษณะของเพลงกล่อมเด็กและเพลงร้องเล่นภาคเหนือ
- มีฉันทลักษณ์ที่ไม่ตายตัว ความยาวไม่แน่นอน และมีการส่งสัมผัสที่ไม่เคร่งครัด ซึ่งเป็นไปตามลักษณะของวรรณกรรม มุขปาฐะทั่วไป
- ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยแท้ที่เรียบง่ายและตรงไปตรงมา
- มีการกร่อยและการเพิ่มของคำและเนื้อหาในเพลง
- เนื้อหาของเพลงมักกล่าวถึงสภาพแวดล้อมทั้งในธรรมชาติและในสังคมอย่างตรงไปตรงมา โดยมีอารมณ์หลักคือแสดงความรักและห่วงใย มักไม่มีอารมณ์เศร้า เสียใจ โกรธแค้นหรือเพ้อฝัน
- เนื้อหาของเพลงชัดเจนและตรงไปตรงมาคือ เพลงกล่อมเด็กก็จะมุ่งชักจูงให้เด็กหลับ ส่วนเพลงร้องเล่น ก็จะกล่าวถึงเรื่องที่สนุกสนานเพลิดเพลิน ไม่นิยมเรื่องนิยาย นิทานหรือชาดก
- เพลงกล่อมเด็ก สามารถจำแนกตามคำขึ้นต้นของเนื้อร้องได้ 12 แบบ ส่วนเพลงร้องเล่น อาจจำแนกตามคำขึ้นต้นของเนื้อร้องได้ 4 แบบ
- บางเพลงเมื่อสืบจากภาษาและเนื้อหาแล้วอาจสันนิษฐานได้ว่ามีอายุประมาณ 80-200 ปี
- เพลงกล่อมเด็กและเพลงเด็กร้องเล่นนี้ เมื่อดูจากปริมาณแล้วเห็นว่าเป็นเพลงที่ใช้ อื่อ คือเพลงที่ใช้ขับกล่อมให้เด็กหลับ และเพลงสิกชุ่งชา หรือเพลงที่เด็กใช้ประกอบการเล่นชิงช้า โดยที่มีเพลงเด็กเล่นเพียงไม่กี่เพลง แต่ต่อมาแล้วเห็นว่ามีการใช้เพลงต่างๆ ร่วมสมัยเป็นเพลงเด็กไดด้วยโดยไม่จำกัด
ทั้งนี้ได้นำเพลงของเด็กมาแสดงไว้เพื่อการศึกษาดังนี้
- เพลงกล่อมเด็ก
- เพลงกล่อมเด็กที่มักเรียกเพลงอื่อ หรืออื่อชาชา (อ่าน “อื่อ จา จา”) คำว่า “อื่อ” หมายถึงเพลงที่ขับโดยมีการ “อื่อ” คือส่งเสียงหึ่งจากลำคอให้ดังออกมาทางจมูกและมักจะทอดเสียงท้ายว่า ชา หรือ ชาชา เป็นทำนองต่างๆ ไป เพื่อให้เกิดเสียงนุ่มนวล ซึ่งถือว่าสามารถชวนให้เด็กหลับได้ง่าย (ชา นอกจากแปลว่าหาบและยังแปลว่ากล่อมหรือขับกล่อมได้อีกด้วย)
- เพลงสิกก้องกอ (อ่าน “สิกก้องก๋อ”)
- เพลงสิกก้องกอ เป็นเพลงที่ใช้ประกอบการเล่นกับเด็กโดยเฉพาะเด็กทารก โดยมากฝ่ายพ่อจะเป็นผู้ใช้ ซึ่งพ่อจะนอนหงายแล้วงอเข้าพับเข้า ให้เด็กนั่งอยู่บนหลังเท้าแล้วกอดเข่าพ่อไว้ ขณะที่พ่อร้องเพลงสิกก้องกอไปแต่ละวรรคนั้น พ่อจะยกขาขึ้นลงไปเรื่อยๆ จนถึงวรรคสุดท้ายที่ว่า ตะล่มพ่มพ่ำ ทั้งพ่อทั้งลูกมักจะล้มลงไปด้วยกัน
- เพลงเล่นชิงช้า
- เพลงเล่นชิงช้า หรือ เพลงสิกชุ่งชา (อ่าน “สิกจุ้งจา”) เป็นจังหวะตามการไกวชิงช้า เพลงในกลุ่มนี้พบว่ามีอยู่ เป็นเพลงที่เด็กหรือใช้กับเด็กในขณะไกวชิงช้า ทั้งนี้เด็กที่โต หลายเพลง เช่น แล้วมักจะนั่งบนแป้นชิงช้าแล้วโล้ไป-กลับพร้อมกับขับเพลง
- เพลงเด็กร้องเล่น
- เพลงในประเภทที่ให้เด็กใช้ร้องเล่นนี้อาจร้องเล่นยามว่าง หรืออาจใช้ร้องประกอบกับการเล่นชิงช้าก็ได้
- เพลงสำหรับเล่นจ้ำจี้
-
เพลงสำหรับเล่นจ้ำจี้ เป็นเพลงที่ใช้เพื่อคัดหาผู้มาทำการบางอย่าง
เช่น ปิดตาเพื่อเล่นซ่อนหา เป็นต้น
เช่น
- ปู่พงข้ามท่งข้ามนา ตีกลองปูชา เอาอี่พาออกก่อน
- ปะเปิ้มใบพลู คนใดมาชู เอามือออกก่อน เมื่อเหลือสองคนสุดท้ายแล้ว ก็มักจะร้องว่า “สองฅนพี่น้อง กินเข้ากับเกลือ ฅนใดเหลือ ฅนนั้นได้อุ่ม”
- เพลงสำหรับร้องยั่ว
- เพลงสำหรับร้องยั่วนี้ จะเลือกใช้ตามเหมาะสม เช่น ยั่วคนฟันหลอ เป็นต้น
รายการอ้างอิง
อุดม รุ่งเรืองศรี. 2542. “เพลงกล่อมเด็กและเพลงร้องเล่น.” ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 9. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.