น้ำเต้า


 
            บ่าน้ำ (ภาคเหนือ) หมากน้ำ (ภาคอีสาน) น้ำโต่น (ภูไท) (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม, 2542, 103)
 
            ต้น เป็นไม้เถา อายุปีเดียวหรืออาจข้าปี เถาอ่อนรูปเหลี่ยมอวบน้ำโตขนาดเท่านิ้วมือสีเขียวอ่อน มีขนสั้น ๆ ปกคลุมทั่วไป มีมือเกาะแต่ออกจากข้อ และมีกลิ่นเหม็นรุนแรง ใบ ออกสลับกันรูปทรงฐานใบเว้า ขอบเป็นหยักเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบตั้งขึ้น ขนาด 10-25 เซนติเมตร ก้านใบยาว 10-20 เซนติเมตร มีขนปกคลุมทั่วไป เส้นใบด้านห้อย นูนเด่นชัด ดอก เป็นดอกเดี่ยวมีก้านดอกยาว 10-20 เซนติเมตร มีดอกตัวผู้และตัวเมียแยกคนละดอก แต่อยู่ต้นเดียวกัน ดอกตัวผู้มีลักษณะคล้ายถ้วย กลีบดอกสีขาว ส่วนดอกตัวเมียต่างมีขนเล็กๆ ติดที่โคนดอก ผล มีหลายรูปทรง แตกต่างไปตามพันธุ์ ทรงกลม ทรงกลมซ้อน ทรงกลมหัวจุก ทรงยาว (งาช้าง) ผลสี่เขียวอ่อน เนื้อในผลสีขาว มีเมล็ดอยู่ภายใน เมล็ด ลักษณะแบนป้าน คล้ายเล็บมือ ส่วนปลายมีติ่งยื่น สองข้าง สี่น้ำตาลอ่อน สีน้ำตาลเข้ม พาดตามยาวของเมล็ด ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม, 2542, 103)
 
        
            ไม่มีข้อมูล สำหรับข้อมูลทางอาหาร ผลอ่อนต้มรับประทานกับน้ำพริก ผัดกับหมูและไข่ ผลอ่อนและยอดอ่อน ใช้แกงส้ม ชาวล้านนานิยมนำมาแกงเรียกว่า แกงบ่าน้ำ ใส่ปลาสดย่าง
        
ใบ แก้ตัวร้อน แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ฟกช้ำ แก้พองตามตัว แก้เริม แก้งูสหวัด ถอนพิษ
ราก แก้ดีแห้ง ขับน้ำดีตกในลำไส้ เจริญอาหาร
เมล็ด เป็นยาถ่ายพยาธิ และแก้อาการบวมน้ำ
 
            ตลอดปี
 
 
            

กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม. (2542). ผักพื้นบ้านภาคกลาง. กัญจนา ดีวิเศษ บรรณาธิการ. นนทบุรี: โครงการพัฒนาตำรา สถาบันการแพทย์แผนไทย.