ฟักเขียว


 
            ฟัก ฟักขาว ฟักจีน แฟง ฟักขี้หมู ฟักจิง มะฟักขม มะฟักหม่น มะฟักหม่น มะฟักหม่นขม มะฟักหอม ขี้พร้า ดีหมือ ลุ่เค้ล่า (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ตังกวย (จีน)
 
            ต้น ไม้เถาเลื้อยที่มีลำต้นแข็งแรง เลื้อยไปตามพื้นหรือค้าง แตกกิ่งก้านสาขามากมาย ลำต้นมีสีเขียวและมีขนค่อนข้างแข็งขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วต้น ขนมีสีเหลืองอมเทา ใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับกันไปตามข้อต้น ใบกว้างและยาวเท่าๆ กันประมาณ 5-15 ซม. ลักษณะของใบคล้ายกับฝ่ามือ ขอบใบแยกออกเป็น 5-7 แฉก ปลายแฉกแหลมโคนใบเว้าเข้าหาก้านใบ ผิวใบมีขนปกคลุมทั้งสองข้างมีสีเขียว ก้านใบยาวประมาณ 10 ซม. ดอก ดอกเดี่ยวออกตามข้อต้น ดอกตัวผู้และเมียอยู่กันคนละดอก แต่อยู่ในต้นเดียวกัน ดอกตัวผู้เป็นหลอดยาว 5-10 ซม. และตรงปลายดอกแยกออกเป็น 5 กลีบ มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ ส่วนดอกตัวเมียนั้นก้านดอกสั้นกว่า ส่วนปลายแยกออกเป็น 3 แฉก มีรังไข่อยู่ภายในดอก ดอกมีสีเหลือง ผล รูปกลมยาวเปลือกสีเขียวและเนื้อในผลสีขาว ผลกว้างประมาณ 20-30 ซม. ยาว 30-60 ซม. เมล็ดอยู่ภายในผลมีสีขาวหรือสีขาวออกเหลือง
 
        
            คาร์โบไฮเดรต เส้นใย แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินบี1 วิตามินบี2 ไนอาซิน วิตามินซี
        
ใบ แก้ฟกช้ำ แก้พิษผึ้งต่อย แก้บาดแผล ผล ขับปัสสาวะ แก้ไอ แก้ธาตุพิการ แก้โลหิตเป็นพิษ เมล็ด ใช้ลดไข้ แก้ริดสีดวงทวาร แก้ทางเดินปัสสาวะ แก้ไตอักเสบ บำรุงผิว ราก ต้มดื่มแก้ไข้ แก้กระหายน้ำ ถอนพิษ
 
            ฤดูหนาว
 
 
            

พลังจิตพิชิตภัยพิบัติ. ฟักเขียว. ค้นวันที่ 20 กรกฎาคม 2550 จาก www.palungjitrescuedisaster.com/wiki/index.php/ฟักเขียว