ผักฮ้วนหมู


 
            ฮ้วนหมู กระทุงหมาบ้า มุ้งหมู ฮ้วน ผักม้วน ผักโง้น ผักง้วน ผักง้วนหมู
 
            ต้น เป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งและมีอายุหลายปี เถาอ่อนลักษณะกลมสีเขียวเข้มผิวเรียบ มีจุดกระสีน้ำตาลอ่อนกระจายอยู่ทั่วไป เถาเมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาลเข้มลำต้นมีรอยแตกหรือมีร่องเล็กๆ แตกตามความยาวของต้น มีจุดสีขาวอยู่ที่ผิวของลำต้น มียางสีขาว ใบ เป็นใบเดี่ยวออกตามข้อเป็นคู่ตรงข้ามกัน ใบรูปหัวใจไม่มีหูใบ ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ปลายใบเรียวแหลมโคนใบเว้าเข้าหากันคล้ายใบโพธิ์ ใบสีเขียว หลังใบสีเขียวอ่อนกว่าหน้าใบเล็กน้อยใบเป็นในและเห็นเส้นกลางใบชัดเจน ใบกว้าง 4-17.5 ซม. ยาว 6-21.5 ซม. ดอก เป็นดอกช่อกลีบดอกสีเขียวอ่อนหรือสีเขียวอมเหลือง ออกเป็นช่อตามซอกใบหรือตามข้อ แต่ละช่อมีดอกย่อยมากกว่า 20 ดอก และเป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบเรียง 5 กลีบ แยกกันหรือติดกันที่ฐานเล็กน้อย กลีบดอก 4-5 กลีบ ติดกันเป็นท่อที่โคนเวลากลีบดอกจะกางออก ดอกขนาดเล็กกว้างประมาณ 0.5-1 ซม. ก้านดอกยาวประมาณ 1-3 ซม. ผล เป็นฝักคู่รูปหอกปลายผลตัดสีเขียวอ่อน มีจุดกระสีน้ำตาลกระจายตามผิวของฝักทั่วไป ออกตรงข้ามกัน เมล็ดมีพู่ปลิวไปตามลม
 
        
            พลังงาน 92.18 แคลอรี โปรตีน 10.35 กรัม ไขมัน 2.03 กรัม คาร์โบไฮเดรต 8.10 กรัม แคลเซียม 343.55 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 127.82 มิลลิกรัม เหล็ก 3.44 มิลลิกรัม วิตามินเอ 354.99 อาร์อี วิตามินบีหนึ่ง 0.11 มิลลิกรัม วิตามินบีสอง 0.18 มิลลิกรัม ไนอะซิน 1.99 มิลลิกรัม วิตามินซี 193.13 มิลลิกรัม
        
เถามีรสเบื่อเอียน รากกระทุ้งพิษ ขับพิษร้อน พิษไข้ พิษไข้หัว พิษผีไข้กาฬ ให้ซ่านออกมาจากภายใน ดับความร้อน ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ แก้พิษน้ำดีกำเริบให้ละเมอเพ้อพก หลับ ๆ ตื่น ๆ น้ำตาตกหนัก แสบร้อนหน้าตา ปวดศีรษะเชื่อมมัว
 
 
 
            

กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม. (2548). ผักพื้นบ้านภาคเหนือ. เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ บรรณาธิการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: ศูนย์พัฒนาตำราการแพทย์แผนไทย.

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2550). ของดีท้องถิ่น. ค้นวันที่ 20 สิงหาคม 2550 จาก http://kanchanapisek.or.th/kp8/culture////////////chr/chr504.html