ผักกุ่ม


 
            กุ่มน้ำ (ทั่วไป) (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม, 2542, 19) ผักกุ่ม (ภาคเหนือ)
 
            ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ สูง 4-20 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 40 ซม. แผ่กิ่งก้านสาขาและผลัดใบ ลักษณะลำต้นคล้ายต้นก้ามปูแผ่พุ่มกว้าง เปลือกต้นสีขาวหม่นๆ และหนา ใบ เป็นช่อช่อหนึ่งใบแตกออกเป็นใบย่อย 3 ใบ รูปหอกกว้าง 1-6 ซม. ยาว 5-20 ซม. ก้านใบยาว 4-14 ซม. เช่นเดียวกับกุ่มบกแต่ใบแคบกว่า ปลายใบเรียวแหลมโคนใบสอบแคบ เนื้อใบค่อนข้างหนามันคล้ายแผ่นหนัง เส้นกลางใบมีสีค่อนข้างแดง ผิวใบด้านล่างมีละอองสีเทาปกคลุมอยู่ ผล ผลกลมรีหรือรูปไข่กลับ ยาว 5-8 ซม. เปลือกหนา 4-5 ซม. มีสะเก็ดบางๆ เมื่อสุกสีเทาอมขาวเปลือกแข็งและมีขุยเล็กๆ โดยรอบและมีกลิ่นหอม ภายในผลมีเนื้อแน่นและมีเมล็ดแทรกกระจายอยู่ภายใน เมล็ด เมล็ดกลมหรือรูปเกือกม้ายาว 6-9 มม. หนา 2-3 มม. สีน้ำตาลเข้ม ดอก ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกอ่อนสีเขียวและค่อยๆ กลายเป็นสีขาวหรือขาวอมเหลือง ช่อดอกยาว 10-16 ซม. มี 20-100 ดอก ก้านดอกยาว 4-7 ซม. กลีบรองดอกรูปไข่ปลายแหลม กลีบดอกค่อนข้างกลมรูปรีปลายมน กลีบดอกกว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 1.5-3 ซม. เกสรตัวผู้สีม่วงมี 15-25 อัน ยอดเกสร ตัวเมียสีม่วงเข้มก้านชูรังไข่ ยาว 3.5-5.5 ซม. ก่อนออกดอกจะผลัดใบและผลิตดอกพร้อมกับผลิตใบใหม่ เมื่อแรกดอกบานสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ(กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม, 2542, 19)
 
        
            ไม่มีข้อมูลทางโภชนาการ ข้อมูลทางอาหาร ชาวล้านนานิยมนำมาดองแล้วนำมาปรุงอาหารประเภทยำ เรียกว่า ยำผักกุ่มดอง
        
ใบผักกุ่มมีรสขม สรรพคุณ ขับเหงื่อ แก้ไข้ เจริญอาหาร ระบายขับพยาธิ (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม, 2542, 19)
 
            ฤดูหนาว
 
 
            

กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม. (2548). ผักพื้นบ้านภาคเหนือ. เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ บรรณาธิการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: ศูนย์พัฒนาตำราการแพทย์แผนไทย.