ผักปลัง


 
            ผักปลัง ผักปลังใหญ่ (ภาคกลาง) ผักปั๋ง (ภาคเหนือ) โปเด้งฉ้าย (จีน) (เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ และกัญจนา ดีวิเศษ, บรรณาธิการ, 2542, 129)
 
            ต้น เป็นไม้เลื้อยพันต้นไม้อื่น ลำต้นกลมอวบน้ำสีเขียวอ่อน ผิวเรียบเป็นมันไม่มีขน แตกกิ่งก้านสาขาได้มากลำต้นเป็นสีเขียว หรือสีม่วงแดง ถ้าลำต้นสีแดงเรียกผักปลังแดง ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปร่างเป็นรูปไข่ รูปหัวใจหรือรูปไข่แกมขอบขนานของใบเรียบแผ่นใบอวบน้ำ เป็นมันวาวไม่มีขน หากขยี้ดูจะเป็นเมือกเหนียวใบสีเขียวอ่อน ใบกว้าง 2-6 ซม. ยาว 2.5-7.5 ซม. ดอก เป็นดอกช่อออกตามซอกใบ มีดอกติดอยู่ที่ก้าน และใบประดับ 2 ใบเล็กๆ ติดอยู่โคนของกลีบดอกกลีบดอกมีฐานติดกัน ปลายแยกออกเป็น 5 แฉก ดอกสีขาว ผล มีรูปร่างกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.3-0.5 เซนติเมตร ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีม่วงอมดำ เนื้อนุ่มภายในผลมีน้ำสีม่วงดำหรือขาว เมล็ด ทรงกลม สีน้ำตาลเปลือกแข็ง (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2550)
 
        
            ผักปลัง 100 กรัม ให้พลังงานแก่ร่างกาย 21 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย น้ำ 93.4 กรัม คาร์โบไฮเดรต 2.7 กรัม โปรตีน 2.0 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม กาก 0.8 กรัม แคลเซียม 4 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 50 มิลลิกรัม เหล็ก 1.5 มิลลิกรัม วิตามินเอ 9,316 IU วิตามินบี 1 0.07 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.20 มิลลิกรัม ไนอาซิน 1.1 มิลลิกรัม และวิตามินซี 26 มิลลิกรัม ข้อมูลทางอาหาร ใช้ใบ ยอด และดอกอ่อน ต้มลวกหรือนึ่งให้สุก รับประทานกับน้ำพริก ชาวล้านนา นิยมนำยอดอ่อนและดอกอ่อนเป็นส่วนผสมของการปรุงอาหารประเภท จอ เรียกว่า จอผักปลัง หรือจอผักปั๋ง
        
ทั้งต้น แก้ขัดเบา แก้ท้องผูก เป็นยาระบายที่เหมาะกับเด็กและหญิงตั้งครรภ์
ใบ สรรพคุณ นำมาตำพอกแผลสดแก้อาการอักเสบ บรรเทาอาการผื่นคัน บำรุงธาตุ บำรุงดวงตา (ผักพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง, 2550, 58)
 
            ตลอดปี
 
 
            

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2550). ผักพื้นบ้าน. ค้นวันที่ 10 มิถุนายน 2550 จากhttp://singburi.doae.go.th/acri

กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม. (2548). ผักพื้นบ้านภาคเหนือ. เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ บรรณาธิการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: ศูนย์พัฒนาตำราการแพทย์แผนไทย.

. (2542). ผักพื้นบ้านภาคกลาง. กัญจนา ดีวิเศษ บรรณาธิการ. นนทบุรี: โครงการพัฒนาตำรา สถาบันการแพทย์แผนไทย.

ผักพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง. (2550). กรุงเทพฯ: บริษัท ฟ้าอภัย จำกัด.

เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ และกัญจนา ดีวิเศษ, บรรณาธิการ. (2542). ไม้ริมรั้ว: สมุนไพรกับวัฒนธรรมไทย ตอนที่ 2. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์แผนไทย.