ฝักเพกา


 
            ลิ้นฟ้า ลิ้นไม้ ลิ้นช้าง (ไทยใหญ่) บ่าลิดไม้ ลิดไม้ มะลิดไม้ (ภาคเหนือ)(กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, 2548, 157)
 
            ต้น ไม้ยืนต้นสูงประมาณ 10-12 เมตร อายุหลายปี เรือนยอดเล็ก กิ่งเปราะหักง่าย แตกกิ่งก้านน้อย ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก 3 ชั้น ขนาดใหญ่ เรียงตรงกันข้ามกันอยู่บริเวณปลายกิ่ง ใบย่อยรูปไข่หรือรูปไข่แกมวงรี กว้าง 4-8 เซนติเมตร ยาว 6-12 เซนติเมตร ดอก ดอกช่อออกที่ปลายยอด ก้านช่อดอกยาว ดอกย่อยขนาดใหญ่ กลีบดอกสีนวลแถบเขียวโคนกลีบเป็นหลอดสีม่วงแดงหนาย่น บานกลางคืน ร่วงตอนเช้า เมล็ด เมล็ดแบนสีขาว มีปีกบางโปร่งแสง ผล เป็นฝัก ติดฝักยาก (คิดว่าเป็นเพราะสายพันธุ์) 2-3 ปี ติดฝัก ฝักเป็นรูปตามยาวประมาณ 60-100 เซนติเมตร เมื่อแก่จะแตก (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, 2548, 157)
 
        
            วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 ไนอาซิน (ผักพื้นบ้าน อาหารไทย, 2548, 252)
        
เมล็ด ใช้เป็นยาแก้ไอ ขับเสมหะ เป็นส่วนประกอบชนิดหนึ่งในน้ำจับเลี้ยงของคนจีน ที่ดื่มแก้ร้อนใน กระหายน้ำ
ฝักอ่อน ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ ใช้ขับผายลม
ราก รักษาโรคบิด ท้องร่วง (ผักพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง, 2550, 64)
 
            ทุกฤดู ออกดอกมิถุนายน-กรกฎาคม (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, 2548, 157)
 
 
            

กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม. (2548). ผักพื้นบ้านภาคเหนือ. เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ บรรณาธิการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: ศูนย์พัฒนาตำราการแพทย์แผนไทย.

ผักพื้นบ้าน อาหารไทย. (2548). กรุงเทพฯ: แสงแดด.

วุฒิ วุฒิธรรมเวช. (2540). สารานุกรมสมุนไพร: รวมหลักเภสัชกรรมไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.