ผักหวานป่า


 
            ผักหวาน (ทั่วไป) ผักหวานป่า (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, 2548, 145)
 
            ต้น เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางสูง 6-10 เมตร แตกกิ่งก้านสาขา ใบ ใบเดี่ยว รูปไข่หรือรูปรีสีเขียวเข้มหนาปลายเรียวแหลม คล้ายใบมะนาวหรือใบมะตูม ยาว 2-3 นิ้ว ออกเรียงสลับตรงข้ามกันคล้ายใบประกอบยอดอ่อนใบเล็กเรียบ สีเขียวอมเหลือง ใบประดับมีขนาดเล็กที่ลำต้นและกิ่ง ดอก ดอกออกเป็นกลุ่มสีเขียว ออกตรงซอกใบ ผล กลมรี ยาว 2-3 เซนติเมตร กว้าง 1.5-1.7 เซนติเมตร ออกเป็นพวง สีเหลืองอมน้ำตาล เมื่อสุกมีสีแดง (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, 2548, 145)
 
        
            แคลเซียม ฟอสฟอรัส เบต้าแคโรทีน วิตามินเอ (ผักพื้นบ้าน อาหารไทย, 2548, 102) ข้อมูลทางอาหาร ชาวล้านนานิยมใช้ยอดอ่อนประกอบอาหารประเภทแกง เช่น แกงผักหวานใส่ปลาย่าง หรือใส่ปลาแห้ง ผักหวานป่ามีรสหวานกว่าผักหวานบ้าน ข้อควรระวัง การเก็บผักชนิดนี้มารับประทานต้องพิจารณาให้ละเอียด เนื่องจากมีต้นไม้ชนิดหนึ่งชื่อว่า ต้นเสน มีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก ลำต้นสีหม่นๆ และใบหนากว่าเล็กน้อย หากรับประทานจะทำให้เกิดอาการคลื่นเหียนอาเจียน คอแห้ง มึนงง หมดสติ และอาจถึงแก่ชีวิตได้ (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 7490)
        
ราก ระงับพิษ แก้พิษร้อนกระสับกระส่าย แก้น้ำดีพิการ แก้เซื่อมมัว แก้ร้อนในกระหายน้ำ (ผักพื้นบ้านภาคเหนือ, 2548, 145) ช่วยเผาผลาญกรดอะมิโนในร่างกายจากโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน จึงช่วยลดน้ำหนักได้ (ผักพื้นบ้าน อาหารไทย, 2548, 102)
ข้อบ่งใช้ทางเภสัชกรรมล้านนา ใช้รากผักหวานเป็นส่วนผสมของตำรับยามะเร็งครุดตาแตก (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 7490)
 
            ในช่วงฤดูร้อน ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์-พฤษภาคม (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, 2548, 145)
 
 
            

กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม. (2548). ผักพื้นบ้านภาคเหนือ. เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ บรรณาธิการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: ศูนย์พัฒนาตำราการแพทย์แผนไทย.

ผักพื้นบ้าน อาหารไทย. (2548). กรุงเทพฯ: แสงแดด.

รัตนา พรหมพิชัย. (2542). หวานป่า, ผัก. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ (เล่ม 14, หน้า 7490). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.