เห็ดเผาะ


 
            เห็ดถอบ (ภาคเหนือ) เห็ดเหียง เห็ดหนัง เห็ดดอกดิน (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม, 2548, 243)
 
            หมวกเห็ด เป็นก้อนกลมสีดำหม่น ขนาด 1.5-3.5 เซนติเมตร เมื่อดอกบาน เปลือกนอกแตกออกเป็นรูปดาว 6-8 แฉก เมื่อแห้งจะหุบเข้า เห็ดชนิดนี้จึบานและหุบได้ ขึ้นอยู่กับสภาพเปียกชื้นหรือแห้ง ภายในเป็นถุงกลมสีขาวหม่น ขนาด 1.3-3.4 เซนติเมตร ด้านบนแตกออกเป็นร ให้สปอร์ฟุ้งกระจายออกมา สปอร์ รูปกลมสีน้ำตาล ขนาด 7-11 มคม. ผิวขรุขระ การขยายพันธุ์ ใช้สปอร์ ฤดูกาลเก็บส่วนขยายพันธุ์ ช่วงฤดูฝน (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม, 2548, 243) เห็ดเผาะ เป็นเห็ดป่าที่รู้จักกันมากในภาคเหนือและภาคอีสาน (ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์, 2547, 202) เป็นเห็ดที่เกิดในช่วงเริ่มฤดูฝน ประมาณพฤษภาคม-กรกฎาคม ชอบขึ้นตามดินร่วนปนทราย ที่มีความชื้นเหมาะสมตามป่าสน และป่าเต็งรังทั่วทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม, 2548, 243)
 
        
            เห็ดเผาะ 100 กรัม มีแคลเซียม 40 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 85 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 20 มิลลิกรัม วิตามินซี 12 มิลลิกรัม (ผักพื้นบ้าน อาหารไทย, 2548, 176) ข้อมูลทางอาหาร ชาวล้านนานิยมนำมาปรุงเป็นแกงเห็ดเผาะ หรือแกงเห็ดถอบ หรือคั่ว เรียกคั่วเห็ดถอบ นิยมใส่ยอดมะขามอ่อน หรือยอดมะม่าด้วย หรือต้มรับประทานจิ้มกับพริกดำ หรือพริกข่า (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม, 2548, 243; เทียนชัย สุทธนิล, 2550, สัมภาษณ์; ภัณฑิรา กัณทะกาลังค์, 2550, สัมภาษณ์) ข้อควรระวัง มีเห็ดที่มีพิษมีลักษณะคล้ายเห็ดเผาะมาก คือเห็ดไข่หงส์ ถ้ารับประทานเข้าไปแล้วจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม, 2548, 243)
        
มีรสหวานเย็น ช่วยบำรุงร่างกาย ชูกำลัง แก้ช้ำใน (วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 493; กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม, 2548, 243)
 
            พฤษภาคม-กรกฎาคม (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม, 2548, 243)
 
 
            

กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม. (2548). ผักพื้นบ้านภาคเหนือ. เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ บรรณาธิการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: ศูนย์พัฒนาตำราการแพทย์แผนไทย.

ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์. (2547). สารานุกรมผัก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: แสงแดด.

เทียนชัย สุทธนิล. (2550). สัมภาษณ์. 19 มิถุนายน.

ผักพื้นบ้าน อาหารไทย. (2548). กรุงเทพฯ: แสงแดด.

ภัณฑิรา กัณทะกาลังค์. (2550). สัมภาษณ์. 19 มิถุนายน.

วุฒิ วุฒิธรรมเวช. (2540). สารานุกรมสมุนไพร: รวมหลักเภสัชกรรมไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.