Tha Thai Version Eng Version Eng  
     
˹á лླբͧҹ ླҹ ҹླҹ 㹾Ըաҹ ػФس ԧǢͧ
 
 
 
 
แบบสอบถามความคิดเห็น
 
Last update: 07/19/2012
 
 
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
เว็บไซต์และฐานข้อมูลประเพณีล้านนา โดย
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
และ
สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อนุญาตให้ใช้ได้ตาม
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ
แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง
 
by

พิธีกรรมก่อนขึ้นเรือนใหม่
 
            ประเพณีการขึ้นเรือนใหม่ของล้านนาในแต่ละท้องที่ อาจมีความแตกต่างด้านรายละเอียดในขั้นตอนพิธีการ  แต่โดยรวมมีลักษณะที่คล้ายคลึง กล่าวคือ
ประเพณีกินแขกแต่งงาน             อันดับแรก  เป็นการหาฤกษ์ยามหรือวันดี โดยไปปรึกษากับอาจารย์ผู้รู้เสียก่อน ซึ่งจะต้องมีการสอบดูเพื่อหาเดือน วัน ยาม ที่ดีที่เหมาะแก่การขึ้นเรือนใหม่ ตามคตินิยมชาวล้านนา นิยมขึ้นเรือนใหม่ในเดือนคู่ เช่น เดือนยี่ เดือนสี่ เดือนหก เป็นต้น แต่ที่นิยมกันมากคือ เดือนสิบสอง เพราะในช่วงระยะเวลานี้เป็นช่วงที่อุดมสมบรูณ์ที่สุดในรอบปี อย่างไรก็ตามหากจำเป็นต้องขึ้นเรือนใหม่ในเดือนคี่แล้ว ก็สามารถกระทำได้เพียงในวันเดียว คือ วันพระญาวันเท่านั้น เพราะถือกันว่าเป็นวันที่ใหญ่กว่าวันทั้งหลายในรอบปี (มณี พยอมยงค์, ๒๕๔๗, หน้า ๔๐๗)

            โดยปกติ  งานขึ้นเรือนใหม่มักมี ๒ วัน คือ  วันแต่งดา หมายถึง วันตระเตรียมข้าวของ เครื่องประกอบพิธีกรรม และวันขึ้นเรือน คือ วันที่จะประกอบพิธีจริง เมื่อตระเตรียมเครื่องประกอบพิธีกรรมเรียบร้อยแล้ว สิ่งแรกที่มักกระทำกัน คือ การประกอบพิธีขึ้นท้าวทั้งสี่ ซึ่งอาจทำให้ช่วงเย็นของวันดา หากพิธีในวันจริงต้องเริ่มตั้งแต่เช้า หรือจะทำให้ช่วงเช้าของวันขึ้นเรือนใหม่ก็ได้

พิธีขึ้นท้าวทั้งสี่
พระสงฆ์ทำพิธีถอนตีนเสา จากนั้นจึงเริ่มประกอบพิธีถอนตีนเสา ซึ่งเป็นการถอนสิ่งอัปมงคลที่ตกค้าง ตั้งแต่การเริ่มสร้างเรือนให้หลุดออกไป โดยอาจารย์วัดจะนำสะตวงไปวางบริเวณโคนเสา ๕ จุด ได้แก่ เสากลางเรือน และเสาที่มุมทั้งสี่ของเรือน จากนั้นจึงนิมนต์พระสงฆ์ ๕ รูปมาประจำที่เสาทั้ง ๕ เสาละรูป พระสงฆ์องค์ประธานเริ่มพิธีด้วยการยกขันตั้งบูชาครู แล้วเข้าประจำที่เสากลางเรือน สวดมนต์ถอดถอนเป็นภาษาบาลี ใช้มีดถากเสาเรือน แล้วจึงนำเศษไม้นั้นทิ้งลงในสะตวง จากนั้นพระสงฆ์ที่อยู่ประจำที่เสาทั้งสี่ ก็ทำพิธีถอนอย่างเดียวกัน ก่อนที่จะนำเอาสะตวงทั้งห้า ไปทิ้งไว้ภายนอกบริเวณบ้าน

          หลังจากนั้น อาจารย์วัดจะทำพิธีปลดขันตั้งของการปลูกเรือน ซึ่งมีมาตั้งแต่เริ่มสร้างเรือน โดยการยกขันขึ้น กล่าวคำปลดขัน แล้วก็คว่ำขันลงกับพื้น เก็บเอาข้าวของทั้งหมดไป เหลือเฉพาะสุราที่จะนำมาใช้เลี้ยงดูแขกในเวลาต่อไป

ขันตั้งของการปลูกเรือน
 
 
Northern Thai Information Center (NTIC),
Chiang Mai University Library in collaboration with Information Technology Service Center
239 Huay Kaew Rd., Mueang District, Chiang Mai, Thailand 50200
Tel: +66 (0) 5394 4514, +66 (0) 5394 4517 email: ntic@lib.cmu.ac.th
Copyright © 2009-2016 Chiang Mai University. All Rights Reserved.