Tha Thai Version Eng Version Eng  
     
˹á лླբͧҹ ླҹ ҹླҹ 㹾Ըաҹ ػФس ԧǢͧ
 
 
 
 
แบบสอบถามความคิดเห็น
 
Last update: 07/19/2012
 
 
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
เว็บไซต์และฐานข้อมูลประเพณีล้านนา โดย
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
และ
สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อนุญาตให้ใช้ได้ตาม
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ
แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง
 
by
ผู้รู้ด้านประเพณีล้านนา
สนั่น ธรรมธิ
สนั่น ธรรมธิ
เกิดเมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ ณ บ้านเลขที่ ๔๐/๑ หมู่ ๘ ตำบลแช่ช้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ บิดาชื่อ นายอินศวร ธรรมธิ มารดาชื่อ นางต่อม ธรรมธิ มีพี่น้อง ๕ คน ได้แก่
๑. นายสนั่น ธรรมธิ
๒. นายมารุต ธรรมธิ
๓. นางมาลี มิ่งสกุล
๔. นายบัลลังค์ ธรรมธิ
๕. นายสุรัตน์ ธรรมธิ
ที่อยู่ปัจจุบัน บ้านเลขที่ ๑๔๒ หมู่ ๔ ตำบลสุเทพ อำเภอมือง จังหวัดเชียงใหม่ ๕๐๒๐๐ โทรศัพท์ ๐๕๓ ๘๐๔ ๘๖๐
นายสนั่น ธรรมธิ สมรสกับนางสายสม ธรรมธิ (แก้วหล้า) มีบุตร ๒ คน ๑.ธนาพิชญ์ ธรรมธิ ๒.ชญานิธิ ธรรมธิ

ประวัติการทำงาน
หลังจากจบการศึกษาปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นายสนั่น ธรรมธิ ได้เข้าทำงานในโครงการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานล้านนา ตำแหน่งนักวิจัยของโครงการศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยออกปฏิบัติงานดังกล่าวทำให้ได้มีโอกาสศึกษาตำราโบราณล้านนา อันเป็นขุมทรัพย์ทางภูมิปัญญาทุกสาขา อีกทั้งยังได้แลกเปลี่ยนความรู้ทางศิลปวัฒนธรรมกับบุคลากรในท้องถิ่นต่าง ควบคู่ไปกับการฟื้นฟูเผยแพร่ศิลปการแสดงพื้นบ้านแก่กลุ่มหนุ่มสาวและเยาวชนในท้องถิ่น ผลจากการปฏิบัติงานครั้งนั้น ทำให้สามารถเก็บเกี่ยวเอาข้อมูลด้านศิลปนาฏศิลป์ การขับขาน ดนตรีและเพลงพื้นบ้านแต่ละท้องถิ่นทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างมากมายมหาศาล
พ.ศ. ๒๕๑๓ ประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนแช่ช้างเทพนากุล อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
พ.ศ. ๒๕๑๙ ประถมศึกษาปีที่ 7 โรงเรียนวิทิตธรรมคุณอุปถัมภ์ อำเภองาว จังหวัดลำปาง
พ.ศ. ๒๕๒๒ มัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนธรรมราชศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
พ.ศ. ๒๕๒๔ มัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบาลีเตรียมอุดมศึกษา มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กรุงเทพฯ
พ.ศ. ๒๕๒๘ ศึกษาศาสตรบัณฑิต (มัธยมศึกษา, ภาษาไทย) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
พ.ศ. ๒๕๕x ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ภาษาและวรรณกรรมล้านนา) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผลงานสำคัญที่ได้รับการเผยแพร่
งานวิจัย
- รูปคำภาษาเชียงใหม่และภาษากรุงเทพฯ : การเปรียบเทียบร่วมกับนายดิเรกชัย มหัทธนะสิน คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (๒๕๓๐)
- โครงการชำระปฏิทินและหนังสือปีใหม่เมืองล้านนา (หัวหน้าคณะวิจัย) โดยการสนับสนุนของกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.) พ.ศ. ๒๕๔๖
หนังสือ
- อักษรพิเศษในภาษาล้านนา
- ยุตตสาระ หนึ่งในอักษรพิเศษล้านนา
- โครงการนิราศระยะทางเมืองนคร
- การทำนาแบบโบราณล้านนา
- มื้อจันทร์วันดี
- รีตเก่า รอยหลัง
- ผู้เขียนบทความใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ ในส่วนของเครื่องดนตรีพื้นเมือง
- ฟ้อนเชิง
- สุภาษิตคำคร่าว
- โครงดอยสุเทพ
- พิธีกรรมและความเชื่อการปลูกเรือนล้านนา
- สารัตถะล้านนา
- พรหมชาติล้านนา
- นาฏดุริยการล้านนา
- โชค ลาง ของขลัง อารักษ์
บทความที่เกี่ยวกับศิลปการแสดง
- ศิลปะการต่อสู้ของล้านนา – การแสดง ในสยามรัฐสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๔๖๓๓ ปี ๔๓ (วันจันทร์ที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๓๖) หน้า ๑๑
- สาวไหม – ลายเซิง ในฟ้อนเชิง ใน “ฟ้อนเชิง: อิทธิพลที่มีต่อฟ้อนในล้านนา” ในเอกสารวิชาการชุดล้านนาคดีศึกษา ลำดับที่ ๖ โครงการศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (๒๕๓๗) หน้า ๔๙-๕๖
- ปีใหม่เมืองล้านนา ในวารสารลานคำ ฉบับที่ ๕ (เมษายน ๒๕๔๗) หน้า ๑๑-๑๕
- ลักษณะดนตรีพื้นบ้านล้านนา: บทบาทและหน้าที่ที่แผงเร้น ในดนตรีไทยอุดมศึกษา ครั้งที่ ๒๖ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หน้า ๑๑๑-๑๑๗
- ความเป็นมาของกลองสะบัดชัย ในดนตรีไทยอุดมศึกษาครั้งที่ ๒๖ หน้า ๑๓๓-๑๓๖
- กลองล้านนา: บทบาทในพิธีเปิดกีฬาซีเกมส์ ในสยามรัฐ ฉบับที่ ๑๕๕๕๖๔ ปีที่ ๔๖ (วันพฤหัสบดีที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๓๘) หน้า ๗

งานดนตรี
- หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งชมรมพื้นบ้านล้านนา สโมสรนักศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ครูสอนดนตรีและศิลปะการแสดงพื้นบ้านล้านนา ชมรมพื้นบ้านล้านนา
- ควบคุมวงและร่วมบรรเลงดนตรีพื้นบ้านล้านนา ในเทปชุด ดนตรีสะล้อ-ซึง วงกลองเต่งถิ้งและวงกลอนล้านนา
- งานแต่งเพลงร้องของชมรมพื้นบ้านล้านนาสโมสรนักศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาทิ เพลงอาลัยเสียงซึง วอนอ้าย สาวยองไร้คู่ เสียงซึงถึงน้อง ฮักอ้ายสักคน กำแพงรัก ปักเกอญอ ลุงตาก็อกเปียะ ล้านนาร่วมใจ ฯลฯ

งานวีดิทัศน์การแสดง
- สื่อการสอน ศิลปการตีกลองสะบัดชัย
- ดำเนินการและร่วมแสดงในวีดิทัศน์ เพื่อการศึกษาศิลปวัฒนธรรมชุด ฟ้อนล้านนา
- สื่อการสอน ศิลปการฟ้อนดาบ
- สื่อการสอน ศิลปการฟ้อนเชิง ฟ้อนดาบและตีกลองล้านนา
นายสนั่น ธรรมธิ มีความรู้ความสามารถศิลปการแสดง โดยเฉพาะการฟ้อนดาบ ฟ้อนเชิง ซึ่งฝึกมาตั้งแต่อายุ 8 ขวบ จากช่างตีเหล็กข้างบ้าน ชื่อนายนวล วรรณแดง ซึ่งช่างตีเหล็กคนนี้ เป็นครูเชิงในคืนเดือนหงาย มักจะสอนเชิง โดยเฉพาะเชิงไม้ค้อน (พลอง) และเชิงดาบ จากนั้น ได้มีโอกาสเรียนการฟ้อนดาบและศิลปการแสดงอื่นๆ จากครูคำ กาไวย์ และครูวิเทพ กันธิมา
๑. เข็มเกียรติคุณ วันอนุรักษ์มรดกไทยในฐานะ “ผู้มีผลงานดีเด่นการอนุรักษ์ด้านภาษาและวรรณกรรมล้านนา” ในงานวันอนุรักษ์มรดกไทย จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๕๓๗
๒. รางวัลรองชนะเลิศ การประกวดขับร้องเพลงกล่อมลูกภาคเหนือ ในงานวันแม่มหิดล พ.ศ. ๒๕๓๗
๓. ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม (สาขาสื่อสารมวลชน) จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๔๔
๔. ศิษย์เก่าดีเด่นโรงเรียนธรรมราชศึกษา
๕. เพชรราชภัฏ-เพชรล้านนา สาขาศิลปะการแสดงฟ้อนดาบ-ฟ้อนเชิง พ.ศ. ๒๕๔๗
๖. เสาเสมาธรรมจักรทองคำ ประเภทส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมมรดกไทยทางพระพุทธศาสนา พ.ศ. ๒๕๔๙
๗. บุคคลแห่งปี ๒๕๔๙ สาขาภาษาและวรรณกรรมล้านนา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
Northern Thai Information Center (NTIC),
Chiang Mai University Library in collaboration with Information Technology Service Center
239 Huay Kaew Rd., Mueang District, Chiang Mai, Thailand 50200
Tel: +66 (0) 5394 4514, +66 (0) 5394 4517 email: ntic@lib.cmu.ac.th
Copyright © 2009-2016 Chiang Mai University. All Rights Reserved.