|
ขบวนเกวียนรุ่นสุดท้ายบนถนนช้างม่อยในเมืองเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2510 |
|
|
|
|
|
|
|
|
ขบวนเกวียน : การคมนาคมขนส่งยุคก่อนทางรถยนต์
ในระบบการผลิตแบบเกษตร วัวเป็นสัตว์ที่มีคุณประโยชน์มากทั้งทำนาและขนส่ง ก่อนมีรถยนต์และจักรยานยนต์ ชาวนาในภาคเหนือใช้วัวในระบบการขนส่ง 2 รูปแบบ คือ วัวต่าง และวัวล้อ (ขบวนเกวียน) วัวล้อ หมายถึงการใช้วัวเทียมเกวียนบรรทุกสิ่งของไปค้าขายยังที่ต่างๆ เป็นพาหนะที่ใช้ทั้งในชนบทและในเมือง โดยเฉพาะในสมัยการค้าทางเรือและทางรถไฟ วัวล้อเป็นพาหนะสำคัญในการขนส่งสินค้าจากชนบทมายังท่าเรือและสถานีรถไฟตามลำดับ จากคำบอกเล่าของพ่อค้าจีนที่เข้ามาทำการค้าทางรถไฟเล่าว่า ในยุคแรกๆ พวกเขาจะเดินทางไปซื้อพืชผลทางการเกษตร เช่น ข้าว ถั่วและกระเทียม ในเขตอำเภอรอบนอก และว่าจ้างให้วัวล้อบรรทุกเข้ามาไว้ที่โกดังแถวสถานีรถไฟ เพื่อรอส่งต่อไปขายที่กรุงเทพฯ
จากการสัมภาษณ์ชาวบ้านในเขตอำเภอสันทราย เล่าว่า เมื่อได้ผลผลิตชาวนาที่เช่านาจากเจ้าของนาที่อยู่ในเมือง (ทำนาแบบผ่ากึ่ง) จะนำข้าวเปลือกใส่วัวล้อมาส่งให้เจ้าของนาในเมือง เกวียน 1 เล่ม บรรทุกข้าวได้ประมาณ 40-50 ถัง ค่าบรรทุกถังละ 1 บาท ค่าวัวล้อนี้เจ้าของนาจะเป็นผู้จ่าย ใช้เวลาเดินทางขามา 6 ชั่วโมง ขากลับ 4 ชั่วโมง เดินทางออกจากบ้านประมาณเที่ยงคืนมาถึงเชียงใหม่ช่วงเช้ามืด ขากลับก็ซื้อของจากในเมืองกลับไปขายในหมู่บ้านตน
การขนส่งภายในเมือง วัวล้อทำหน้าที่ขนส่งสินค้าจากท่าเรือและสถานีรถไฟไปส่งขายยังพื้นที่ต่างๆ ทั้งกาดในเมืองและชนบท เถ้าแก่ชิวจั้วซึ่งเปิดร้านขายของอยู่ที่ตลาดประตูเชียงใหม่ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เล่าไว้ในหนังสือสังคมเมืองเชียงใหม่ เล่ม 5 ว่า ซื้อน้ำปลาจาก เอเยนต์แถวสันป่าข่อย แล้วจ้างล้อเกวียนขนมาที่ประตูเชียงใหม่ เวลานั้นทั้งสองข้างทางถนนเจริญเมืองมีล้อเกวียนจอดรอรับจ้างขนของอยู่มาก
ในช่วงทศวรรษที่ 2510 ได้มีการสร้างถนนและนำรถยนต์กับจักรยานยนต์มาใช้ในการขนส่ง ทำให้วัวล้อค่อยๆ หมดบทบาทลง เพราะการขนส่งโดยรถ เร็วกว่าและบรรทุกของได้มากกว่า ในช่วงเวลานั้นมีคนจีนเริ่มทำกิจการนำรถบรรทุกเข้ามาขายและนำรถบรรทุกไปวิ่งเป็นรถรับจ้างภายในเมืองและระหว่างเมืองกับเขตอำเภอรอบนอก ชาวบ้านเรียกรถแบบนี้ว่ารถคอกหมู และในช่วงเวลาเดียวกันนี้ทางราชการห้ามอย่างเด็ดขาดไม่ให้วัวล้อเข้าไปในเขตเทศบาลด้านในคือ ห้ามข้ามสะพานเข้าไปทางฝั่งท่าแพ เพราะวัวถ่ายมูลลงบนถนนทำให้สกปรกและเกะกะถนน วัวล้อจึงหายไปจากตัวเมืองเชียงใหม่
ในหมู่บ้าน วัวล้อก็ค่อยๆหมดบทบาทลงเช่นกัน เพราะชาวบ้านหันมาใช้ควายเหล็กในการทำนา และใช้จักรยานยนต์ในการเดินทางและขนส่งมากขึ้น ชูสิทธิ์ ชูชาติ กล่าวว่า จากพ.ศ. 2519-2528 มีรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนในเชียงใหม่เพิ่มจำนวนมากขึ้นถึง 66,183 คัน ประจักษ์พยานที่สำคัญคือ กาดวัว ซึ่งเคยเป็นแหล่งซื้อขายวัว แทบจะกลายเป็นกาดซื้อขายจักรยานยนต์มือสองไปเลยทีเดียว แต่อย่างไรก็ตามในหมู่บ้านบางแห่งยังมีการใช้วัวล้ออยู่ เช่น หมู่บ้านแม่ทา จังหวัดลำพูน เป็นต้น
รายการอ้างอิง
ชูสิทธิ์ ชูชาติ. (2538). กาดงัว (ตลาดวัว) : มิติหนึ่งของการสะท้อนความเปลี่ยนแปลง
วิถีชีวิตของสังคมชาวนาในภาคเหนือของประเทศไทย. [ม.ป.ท. : ม.ป.พ.]
อนุ เนินหาด, พ.ต.ท. (2546). สังคมเมืองเชียงใหม่ เล่ม 5. เชียงใหม่: นพบุรีการพิมพ์. |
|
|
|
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักหอสมุด |
|
เชียงใหม่ |
|
ntic@lib.cmu.ac.th |
|
|
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ |
|
เชียงใหม่ |
|
itsc@itsc.cmu.ac.th |
|
|
|
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , ผู้ให้ทุนสนับสนุน
อุษณีย์ ธงไชย, ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญประจำโครงการ
|
|
|
|
2510 |
|
|
|
image/jpeg(.jpeg .jpe .jpg) |
|
|
|
1 ภาพ; ขาวดำ; 8x10 นิ้ว |
|
|
|
BS-CM-CT004 |
|
|
|
ท่านอาจจะบันทึกหรือพิมพ์รูปภาพเพื่อการวิจัยและการศึกษาค้นคว้า ถ้าท่านต้องการใช้สำหรับวัตถุประสงค์อื่น ท่านต้องติดต่อสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อขออนุญาตใช้ |
|
|
|