Find Picture of      By     
Thai Version English Version
หน้าแรก
       
 
ดูภาพตามหมวดหมู่ ความเป็นมา บุญเสริม สาตราภัย อดีตล้านนาจากภาพถ่าย ผู้มีอุปการะคุณ เพิ่มรูปของคุณ ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
  
  สี่แยกสันป่าข่อย ถนนเจริญเมือง เมื่อครั้งยังเป็นถนนลาดยาง ถ่ายจากด้านถนนนายพล เมื่อพ.ศ. 2508
กลับไปหน้าแสดงรายการภาพ  

คลิกที่รูปด้านบนเพื่อดูรูปขนาดใหญ่



เปรียบเทียบภาพถ่ายในปัจจุบัน
สี่แยกสันป่าข่อย ถนนเจริญเมือง เมื่อครั้งยังเป็นถนนลาดยาง ถ่ายจากด้านถนนนายพล เมื่อพ.ศ. 2508
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ เชียงใหม่
สี่แยกสันป่าข่อย; ถนนเจริญเมือง
สี่แยกสันป่าข่อย; ถนนเจริญเมือง; ถนน--เชียงใหม่

������ ������ย่านสันป่าข่อยเป็นพื้นที่ๆตั้งอยู่ตรงกันข้ามย่านวัดเกตุ มีถนนเจริญเมืองคั่นกลาง ก่อนที่ทางรถไฟจะขึ้นมาถึงเชียงใหม่ ย่านสันป่าข่อยเป็นย่านเล็กๆ มีผู้คนอยู่อาศัยไม่หนาแน่นมากนัก ชุมชนแรก ๆ ที่ตั้งอยู่ในเขตนี้ คือ ชุมชนบ้านท่าสะต๋อย (ดูรายละเอียดในเรื่องชุมชนท่าสะต๋อย) ด้านหลังตลาดสันป่าข่อยในปัจจุบัน
������ ������เมื่อรถไฟมาถึงเชียงใหม่ พร้อมกับนำชาวจีนจากกรุงเทพฯ เข้ามาตั้งถิ่นฐานทำมาหากินในพื้นที่นี้เป็นจำนวนมากทำให้ย่านนี้กลายเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญของเชียงใหม่ มีร้านค้าตั้งเรียงรายอยู่ 2 ฝั่งถนนเจริญเมือง ทำหน้าที่เป็นแหล่งรวมสินค้าที่จะส่งลงไปขายที่กรุงเทพฯ โดยเฉพาะพืชผลทางการเกษตรจากอำเภอรอบนอก เช่น ข้าว สุกร ยาสูบและครั่ง รวมทั้งทำหน้าที่กระจายสินค้าจากรุงเทพฯ ส่งไปยังตลาดต่าง ๆ ทั้งในเชียงใหม่และเมืองอื่น ๆ ในเขตตอนบน คนเชียงใหม่เล่าให้ฟังว่า ในยุคนั้นบริเวณย่านสันป่าข่อยเต็มไปด้วยโกดังสินค้าสำหรับพักรอสินค้าก่อนส่งต่อไปยังที่ต่าง ๆ คึกคักไปด้วยผู้คนที่มาซื้อขายสินค้า มีวัวล้อเป็นจำนวนมากบนสองฝั่งถนนรอรับจ้างขนของ กิจการค้าเหล่านี้ส่วนใหญ่แล้วเป็นการดำเนินธุรกิจของกลุ่มพ่อค้าจีนแทบทั้งสิ้น ตัวอย่างเช่น นายทรง แซ่อั้ง (อังคไพโรจน์) เล่าว่า เขานั่งรถไฟไปซื้อของ เช่น เกลือ น้ำตาล และกะปิ จากกรุงเทพฯ มาขายที่ร้าน และจากที่นี่มีพ่อค้าจากกาดลำไยและกาดรอบนอกมาซื้อไปขาย ขุนอนุกรบุรี(ต้นตระกูลนิมากร) เปิดร้านเหลี่ยวชุ่นหลี สั่งรถจักรยานบรรทุกรถไฟจากกรุงเทพฯ ขึ้นมาขาย เป็นต้น
������ ������ศูนย์กลางที่สำคัญของพื้นที่ตรงนี้คือ กาด(ตลาด) สันป่าข่อย ไม่มีหลักฐานกล่าวว่ากาดแห่งนี้ตั้งขึ้นเมื่อใดแน่ แต่เข้าใจว่าคงตั้งขึ้นก่อนปีพ.ศ. 2469 เนื่องจากเมื่อรัชกาลที่ 7 เสด็จประพาสเชียงใหม่ กาดแห่งนี้มีอยู่แล้ว มีหลักฐานว่ากาดแห่งนี้สร้างจากการร่วมทุนระหว่างพระพิจิตรโอสถ ขุนอนุพลนคร และพลตรี พระยาอนิรุทธเทวา (ม.ล.ฟื้น พึ่งบุญ) ปัจจุบันตลาดสันป่าข่อยเป็นตลาดที่คนเก่าแก่ในเชียงใหม่รู้จักกันดีว่ามีของกินอร่อย โดยเฉพาะอาหารของชาวจีน ซึ่งมีทั้งที่วางแผงขายในตลาด และเปิดร้านขายอยู่ริมสองฝั่งถนนเจริญเมือง ร้านที่ยังเป็นที่รู้จักกันดี คือ ร้านซาลาเปาวิกุล และร้านอาหารเจริญเมือง เป็นต้น
������ ������ศูนย์กลางความเชื่อของชาวพุทธในย่านสันป่าข่อย คือ วัดสันป่าข่อย วัดแห่งนี้ตั้งอยู่ด้านข้างของกาดสันป่าข่อย เดิมวัดนี้ชื่อวัดนางเหลียว ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง แต่บริเวณวัดถูกน้ำท่วม จึงได้ย้ายมาอยู่ในบริเวณพื้นที่ปัจจุบัน เรียกชื่อวัดตามชื่อพื้นที่ตั้งว่าวัดสันป่าข่อย มีหลักฐานว่า เจดีย์ของวัดนี้สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ และมีการทำบุญฉลองพระเจดีย์ในปี พ.ศ. 2411 จากการเข้าไปสำรวจวัดนี้ พบว่าวิหารหลังปัจจุบันสร้างเสร็จเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2472
������ ������แม้ว่าเขตนี้จะมีศาลเจ้าจีนซึ่งเป็นสถานที่ทำบุญของพ่อค้าชาวจีนแล้วก็ตาม แต่เข้าใจว่าวัดนี้คงเป็นศูนย์กลางการทำบุญของชาวจีนพุทธในแถบนี้ด้วยเช่นกัน
������ ������ย่านสันป่าข่อยเริ่มซบเซาลงเมื่อถนนระหว่างกรุงเทพฯ กับเชียงใหม่สร้างเสร็จ การเดินทางและการขนส่งด้วยรถยนต์จึงเข้ามาแทนที่รถไฟ เพราะสะดวกรวดเร็วกว่า ประกอบกับในสมัยนั้นรถไฟระหว่างเชียงใหม่กับกรุงเทพฯ เดินทางอาทิตย์ละ 2 วันเท่านั้น นอกจากนั้นรถยังสามารถเดินทางเข้าไปรับซื้อสินค้าจากแหล่งผลิตได้โดยตรง ไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลางที่ตลาดสันป่าข่อยอีกต่อไป
รายการอ้างอิง
ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่. วัดสำคัญของนครเชียงใหม่ เล่ม 2. เชียงใหม่ :
������ ������ส. ทรัพย์การพิมพ์, 2535.
อนุ เนินหาด, พ.ต.ท. (2543). เชียงใหม่สะปะเรื่องตะวา. เชียงใหม่ : นพบุรีการพิมพ์.

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักหอสมุด
เชียงใหม่
ntic@lib.cmu.ac.th
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ
เชียงใหม่
itsc@itsc.cmu.ac.th
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , ผู้ให้ทุนสนับสนุน
อุษณีย์ ธงไชย, ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญประจำโครงการ
2508
image/jpeg(.jpeg .jpe .jpg)
1 ภาพ; ขาวดำ; 8x10 นิ้ว
BS-CM-RD056
ท่านอาจจะบันทึกหรือพิมพ์รูปภาพเพื่อการวิจัยและการศึกษาค้นคว้า ถ้าท่านต้องการใช้สำหรับวัตถุประสงค์อื่น ท่านต้องติดต่อสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อขออนุญาตใช้
 
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
เว็บไซต์และฐานข้อมูลภาพล้านนาในอดีต โดย สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง

     
     
  Copyright © 2008 Northern Thai Information Center (NTIC), Chiang Mai University. All Rights Reserved.
239 Huay Kaew Rd., Mueang District , Chiang Mai, Thailand 50200
Tel. 0 5394 4514, 0 5394 4517
ntic@lib.cmu.ac.th
 
/* */