มะละกอ


 
            หมากหุ่ง ลอกอ ก้วยลา (ยะลา กระบี่) แตงต้น (สตูล) หมากกล้วยเตด (ภาคเหนือ) (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, 2542, 181)
 
            ต้น เป็นไม้เนื้ออ่อน ฉ่ำน้ำ ลำต้นตั้งตรง ไม่แตกกิ่งก้าน ลำต้นกลวง ผิวเปลือกขรุขระ สีน้ำตาลออกขาว ใบ เป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ ใบแผ่คล้ายร่ม ขอบใบหยักเว้าลึก แยกเป็นแฉก 7-8 แฉก ออกที่ปลายยอดแบบสลับ ผล เดี่ยว ลูกอ่อนสีเขียว ลูกสุกสีเหลือง รูปร่างกลมยาวรี ผลอ่อนเปลือกเขียวเนื้อในขาว ดอก ดอกเดี่ยวสีขาว-เหลืองอ่อน มี 5 กลีบ เหลืองกลิ่นหอม โคนกลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอด ผล เดี่ยว ลูกอ่อนสีเขียว ลูกสุกสีเหลือง รูปร่างกลมยาวรี ผลอ่อนเปลือกเขียวเนื้อในขาว เมล็ด มีเมล็ดสีน้ำตาลจำนวนมาก อยู่ภายในผล เมล็ดผิดขรุขระ มีเยื้อหุ้มใสโดยรอบ (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, 2542, 181)
 
        
            มะละกอดิบ มีคาร์โบไฮเดรต เส้นใย โปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี 2 ไนอาซิน วิตามินซี วิตามินอี (ผักพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง, 2550, 74)
        
ดอก ลดไข้ ขับประจำเดือน
ผลมะละกอสุก ใช้เป็นผลไม้ที่ให้คุณค่าทางอาหารสูง
ยางมะละกอ มีเอนไซม์ย่อยโปรตีนหลายชนิด ช่วยย่อยอาหาร บำรุงน้ำนม ระบายท้อง
ผลดิบ ขับลม แก้ปัสสาวะขัด ขับพยาธิ
ยางและเมล็ดมะละกอ ใช้เป็นยาขับพยาธิ โดยเฉพาะพยาธิเส้นด้ายในเด็ก
ราก ต้มดื่มแก้หนองใน ขับปัสสาวะ และบำรุงน้ำนม เจริญอาหาร แก้มุตกิด ระดูขาว
ใบ ต้มดื่มบำรุงหัวใจ ขับพยาธิ แก้ไข แก้บิด แก้ปอดบวม ขับปัสสาวะ (ผักพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง, 2550, 74)
 
            ตลอดปี
 
 
            

อรุณี วิเศษสุข และคณะ, ผู้รวบรวม. (2542). ผักพื้นบ้านภาคใต้. กัญจนา ดีวิเศษ บรรณาธิการ. นนทบุรี: โครงการพัฒนาตำรา สถาบันการแพทย์แผนไทย.