แค


 
            แคบ้าน แค (ภาคกลาง) แคแดง แคขาว (ภาคเหนือ) แคดอกแดง แคดอกขาว (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, 2542, 59)
 
            เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยขนาดเล็กรูปไข่งู ดอกโตกลีบบาง แคขาวดอกสีขาว แคแดง คอกสีแดงเข้ม ฝักแบบยาวเหมือนถั่ว เมื่อแก่จะแตกออก ปลูกเพื่อใช้ประกอบอาหาร (วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 156)
 
        
            ดอกมีฟอสฟอรัส โซเดียม วิตามินซี (ผักพื้นบ้าน อาหารไทย, 2548, 146) เหล็ก แคลเซียม โปรตีน วิตามินบี (จีรเดช มโนสร้อย และอรัญญา มโนสร้อย, 2537, 82) ยอดอ่อนและใบอ่อน ลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริก ดอก นำไปแกงส้ม ต้มจืด แกงคั่ว หรือแกงอ่อม (อีสาน) ชาวล้านนา นิยมใช้เป็นเครื่องปรุงแกงแค คั่วแค แกงโฮะ และลวกจิ้มน้ำพริก
        
ใบอ่อน และยอดอ่อน ช่วยถอนพิษไข้ดับร้อน ส่วนดอกแค แก้ไข้หัวลม (ผักพื้นบ้าน อาหารไทย, 2548, 146)

ข้อบ่งใช้ทางเภสัชกรรมล้านนา เป็นส่วนประกอบในตำรับยาเกี่ยวขึ้นเป็นลมสรุปเส้น ยามุดขึดลม
ข้อบ่งใช้ทางการแพทย์แผนปัจจุบัน-แผนไทย ยอดอ่อนแก้ไข้หัวลม (หรือไข้เปลี่ยนอากาศ โดยให้ลวกจิ้มน้ำพริก ดอกเป็นผักมีคุณค่าทางอาหารสูง เปลือกต้น แก้ท้องเดิน แก้ธาตุพิการ (เปลือกต้น1 ผ่ามือ ประมาณ 20 – 25 กรัม ปิ้งไฟ 1 ส่วน ต้มกับน้ำ หรือน้ำปูนใส 10 ส่วน รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนแกง วันละ 4 เวลา) แต่ถ้ารับประทานมากๆ จะอาเจียน รากใช้แก้โรคปวดข้อ น้ำจากรากผสมน้ำผึ้ง ใช้เป็นยาขับเสมหะ ใช้ดอกสด 7-15 ดอก ต้มกับหมูทำเป็นบะช่อ 1 ชาม รับประทาน 1 มื้อ วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น รับประทานติดต่อกัน 3-7 วัน จะได้ผลในการแก้อาการปวดศรีษะข้างเดียว (ลมตะกัง) นำเปลือกต้นมาสับ เติมน้ำพอท่วม เกลือเล็กน้อย ใช้ล้างแผลที่เป็นชันนะตุ วันละ 3 ครั้ง จะทำให้แผลสะอาดขึ้น (จีรเดช มโนสร้อย และอรัญญา มโนสร้อย, 2537, 69)
 
            ตลอดปี
 
 
            

กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม. (2542). ผักพื้นบ้านภาคกลาง. นนทบุรี: โครงการพัฒนาตำรา สถาบันการแพทย์แผนไทย.

จีรเดช มโนสร้อย และอรัญญา มโนสร้อย. (2537). เภสัชกรรมล้านนา: ตำรับยาสมุนไพรล้านนา. กรุงเทพฯ: สถาบันการแพทย์แผนไทย.

ผักพื้นบ้าน อาหารไทย. (2548). กรุงเทพฯ: แสงแดด.

วุฒิ วุฒิธรรมเวช. (2540). สารานุกรมสมุนไพร: รวมหลักเภสัชกรรมไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.