คูน


 
            ตูน (ภาคเหนือ) หัวคูน คูน (ภาคกลาง) เอาะดิบ ออกดิบ (ภาคใต้) ออดิบ (ยะลา นครศรีธรรมราช ภาคใต้) กระดาดขาว (กาญจนบุรี) [บอน (ประจวบคีรีขันธ์) กะเอาะขาว (ชุมพร) (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, 2542, 57)
 
            ต้น ลำต้นสีขาวไม้ล้มลุกหลายปี มีเหง้าอยู่ใต้ดินก้านใบแทงออกจากเหง้า ก้านใบยาวสีเขียวที่ผิวมีแป้งเคลือบอยู่ใบ เป็นรูปหอกปนรีปลายใบมน ฐานใบเว้าริมใบเรียบหรือมีกลิ่นเล็กน้อย ผิวใบมันและมีสีเขียว ใบกว้าง 16-17 นิ้ว ใบยาว 11-19 นิ้ว ก้านใบมีแป้งเคลือบอยู่มองดูมีสีขาวนวล เนื้อของก้านใบกรอบน้ำและมี รูอากาศแทรกอยู่ใน เนื้อก้านใบ ดอก เป็นช่อออกเป็นแท่งเดี่ยวๆ ดอกย่อยแยกเพศอยู่ในช่อเดียวกันฉ่ำน้ำ ผล เป็นผลสดสีเขียว (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, 2542, 57)
 
        
            เส้นใย แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ เบต้าแคโรทีน วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 ไนอาซิน วิตามินซี (ผักพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง, 2550, 41) ก้าน ใบอ่อน รับประทานสดเป็นผักร่วมกับน้ำพริก แกงรสจัด ส้มตำ ลาบ ยำ หรือนำไป ปรุงอาหาร เช่น แกงส้ม แกงแค แกงกะทิ (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2550) ชาวล้านนานิยมนำมาแกงกับปลา เป็นแกงตูนใส่ปลา ใช้เป็นส่วนผสมของแกงแค คั่วแค
        
คูน รสจืดเย็น เหมาะในการรับประทานช่วงฤดูร้อน ช่วยบรรเทาความร้อน (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2550)
 
            ตลอดปี
 
 
            

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2550). ผักพื้นบ้าน. ค้นวันที่ 10 มิถุนายน 2550 จาก http://singburi.doae.go.th/acri

กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม. (2542). ผักพื้นบ้านภาคกลาง. กรุงเทพฯ: โครงการพัฒนาตำรา สถาบันการแพทย์แผนไทย.

ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์. (2547). สารานุกรมผัก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: แสงแดด.

ผักพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง. (2550). กรุงเทพฯ: บริษัท ฟ้าอภัย จำกัด.