ไผ่ข้าวหลาม


 
            ไผ่ข้าวหลาม (ทั่วไป) ไม้ป้าง ไม้ข้าวหลาม (ภาคเหนือ) (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 4130)
 
            ต้น เป็นไม้ไผ่ขนาดกลางทิ้งใบในต้นฤดูแล้ง ลำต้นลักษณะตรงสีเขียวด้านๆ คล้ายมีแป้งหรือขี้ผึ้งสีเทาหรือขาวปกคลุมคลุมคล้ายน้ำค้างแข็งจับ สูง 8-12 เมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางลำประมาณ 5-9 เซนติเมตร ข้อไม่หนาหรือพองใต้ข้อจะมีขนสีขาว เป็นไผ่ที่มีเนื้อบางหนาไม่ถึง 5 มม. ปล้องยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร กาบหุ้มลำหลุดร่วงง่าย กาบด้านนอกปกคลุมด้วยขนสีดำหรือน้ำตาลเหลืองเห็นได้ชัด ครีบกาบหุ้มลำต้นรูป Falcate – oblong มีขนสีดำเหมือนกัน กระจังกาบหุ้มลำแคบมาก ขอบเรียบ ใบยอดกาบรูป Cordate – ovate ข้างในมีขนแน่น ใบ รูป Linear – lanceolate ถึง lanceolate โคนใบกลมหรือเป็นรูปลิ่ม ยาว 15-30 เซนติเมตร กว้าง 3-6 เส้น มีขนอ่อนด้านล่าง เส้นลายใบและเส้นกลางใบเห็นชัด เส้นลายใบรองมี 7-13 เส้น ขอบใบเรียบสากคม ครีบใบเห็นได้ชัดมากขอบมีขนสีจางๆ กระจังใบแคบมากก้านใบสั้น กาบหุ้มใบไม่มีขนหรือเกือบไม่มีขน ขอบกาบหุ้มใบมีขนสีขาวๆ ) (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2550; รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 4130) ในการทำข้าวหลามนั้น ลำของไผ่ข้าวหลามอายุ 6-10 เดือน เหมาะใช้ทำข้าวหลามได้อย่างดี เผาง่าย ปอกง่าย เพราะเปลือกบางอ่อน และมีเยื่อหุ้มบางๆ หลุดติดออกมากับข้าวหลาม (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2550) ซึ่งชาวล้านนาเรียกว่า เญิบ หรือ เจี้ย (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 4130)
 
 
 
 
            

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2550). ผักพื้นบ้าน. ค้นวันที่ 10 มิถุนายน 2550 จากhttp://singburi.doae.go.th/acri

รัตนา พรหมพิชัย. (2542). ไม้เข้าหลาม. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ (เล่ม 10 , หน้า 55-58). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.