แตงไทย


 
            บ่าแตงลาย (ภาคเหนือ) แตงกิง แตงจิง (ภาคอีสาน) (ผักพื้นบ้าน อาหารไทย, 2548, 186) ดี (กะเหรี่ยง) ซกเซรา (เขมร) (วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 218)
 
            เป็นพืชจากต่างประเทศ กล่าวกันว่าเดิมถูกนำไปปลูกในปราสาทแคนตาลูป (Cantaloupe) จึงมีชื่อสามัญเดียวกับแตงพันธุ์ใหม่ที่ชื่อว่า แคนตาลูป ลักษณะต้นคล้ายกับพวกแตงกวา เป็นแตงที่เถาเลื้อยไปตามดิน ปลูกปลูกเพื่อบริโภคผล ผลมีลายทางยาวสีขาวจากหัวมาท้าย เมื่อผลยังอ่อนอยู่มีสีเขียว ชาวล้านนา เรียกว่า บ่าแตงจิง (อ่าน “บ่าแต๋งจิ๋ง”) ถ้าสุกแล้วจะเรียกว่า บ่าแตงลาย ผลสุกมีกลิ่นหอม เนื้อนิ่ม สีเขียวหรือสีเหลือง มีไส้กลางอย่างจำพวกฟัก มีเมล็ดจำนวนมาก ขนาดเล็ก รูปร่างอย่างเมล็ดแตงกวาแต่ใหญ่กว่าและแข็งกว่าเล็กน้อย ออกผลมากราวเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม (รังสรรค์ จันต๊ะ และรัตนา พรหมพิชัย, 2542, 2577-2578)
 
        
            มีวิตามินซี ฟอสฟอรัส (ผักพื้นบ้าน อาหารไทย, 2548, 186)
        
ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ขันน้ำนม ขับเหงื่อ บำรุงหัวใจ สมอง แก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ (ผักพื้นบ้าน อาหารไทย, 2548, 186)
ใบ รสจืดเย็น แก้ไข้ ดอก รสขมฝาดเย็น ดอกอ่อนตากแห้ง ต้มกินทำให้อาเจียน แก้ดีซ่าน บดเป็นผงพ่น แก้ผลในจมูก ผล รสหวานเย็นหอม ขับปัสสาวะ ขับน้ำนม ขับเหงื่อ บำรุงหัวใจ สมอง แก้อักเสบในทางเดินปัสสาวะ เมล็ด รสมันจืดเย็น ขับปัสสาวะ ช่วยย่อย แก้ไอ ราก รสเย็นเฝื่อน ต้มกินทำให้อาเจียน ระบายท้อง (วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 218)
 
 
 
            

ผักพื้นบ้าน อาหารไทย. (2548). กรุงเทพฯ: แสงแดด.

รัตนา พรหมพิชัย. (2542). แตง, บ่า. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ (เล่ม 5, หน้า 2577-2578).
กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์
.

วุฒิ วุฒิธรรมเวช. (2540). สารานุกรมสมุนไพร: รวมหลักเภสัชกรรมไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.