ถั่วเหลือง


 
            ถั่วแระ ถั่วพระเหลือง ถั่วเน่า ถั่วหนัง (ภาคเหนือ) (วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 224)
 
            ต้น เป็นไม้ล้มลุก สูงประมาณ 2-3 ฟุต มีขนสีเหลืองปกคลุมตลอดทั้งต้น ใบ เป็นใบประกอบ 3 ใบ ก้านใบยาว โคนใบกลม ปลายใบแหลมสั้น ดอก สีม่วงอ่อน ฝัก กลมแบนงอนปลายแหลมคล้ายหนาม ยาวประมาณ 2 นิ้ว ปลูกเป็นอาหาร ขยายพันธุ์ ด้วยเมล็ด (วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 224)
 
        
            มีโปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามินบี1 บี6 บ12 สารไนอาซิน วิตามินซี วิตามินดี วิตามินอี โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส และเส้นใย (ผักพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง, 2550, 47) ข้อมูลทางอาหารนั้น ชาวล้านนานิยมนำฝักถั่วเหลืองสดมาต้ม หรือนึ่งรับประทานเป็นอาหารว่างหรือของกินเล่นแล้ว ยังมีอาหารอื่นๆ ที่ทำจากถั่วเหลือง เช่น ถั่วเน่าเมอะ ถั่วเน่าห่อ ถั่วเน่าแข็บ เป็นต้น โดยเฉพาะคนไทใหญ่จะปลูกและบริโภคถั่วเหลืองมากพอๆ กับกระเทียมทีเดียว เชื่อกันว่าอาหารที่ทำจากถั่วเหลือง เช่น ถั่วเนาะเมอะ ถั่วเน่าห่อ ถั่วเน่าแข็บ นี้ ได้รับอิทธิพลมาจากชาวไทใหญ่ (รังสรรค์ จันต๊ะ และรัตนา พรหมพิชัย, 2542, 2637-2638)
        
ใบ ห้ามเลือด ตำพอกแก้งูกัด ดอก แก้ต้อกระจก
เมล็ด บำรุงม้าม ระบายอุจจาระ ขับปัสสาวะ แก้บิด รักษาแผลหนอง ห้ามเลือด บำรุงร่างกาย เป็นอาหารสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน
เปลือกเมล็ด เป็นยาบำรุงเลือด ขับปัสสาวะ แก้วิงเวียนศรีษะ (วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 224)
 
 
 
            

รังสรรค์ จันต๊ะ และรัตนา พรหมพิชัย. (2542). ถั่วเน่า. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ (เล่ม 5, หน้า 2636-2638). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

วุฒิ วุฒิธรรมเวช. (2540). สารานุกรมสมุนไพร: รวมหลักเภสัชกรรมไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.