ผักคาวตอง


 
            ผักคาวตอง (เชียงใหม่) พลูคาว (ภาคกลาง) (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, 2548, 115)
 
            ต้น เป็นไม้เลื้อยขนาดเล็ก สูงประมาณ 3-12 นิ้วฟุต มีลำต้นตั้งตรง สีเขียวอมม่วง ส่วนที่เลื้อยทอดไปตามดินจะมีรากแขนงออกตามข้อ ใบ ใบเดี่ยวรูปไข่สีเขียวอมม่วง หนากลมเรียงสลับ ปลายใบแหลมและหนา ยาว 1-1.5 นิ้ว ขยี้ดมจะรู้สึกเหม็นคาวเหมือนคาวปลาช่อน ดอก ออกเป็นช่อตรงปลายยอด ประกอบด้วยดอกที่ไม่มีก้านดอก มีขนาดเล้กและไม่มีกลีบแต่มีกลีบเลี้ยงสีขาว เกสรเป็นกระจุกสีเหลืองนวล ผล เป็นผลแห้งแตกได้ (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, 2548, 115)
 
        
            ไม่มีข้อมูลสารอาหาร ทางอาหารสำหรับชาวล้านนานั้น ใช้ยอดอ่อนและใบอ่อน เป็นเครื่องเคียงลาบต่างๆ โดยเฉพาะลาบหมู
        
ทั้งต้น แก้กามโรค เข้าข้อ แก้โรคผิวหนัง น้ำเหลืองเสีย ทำให้แผลแห้ง ฆ่าเชื้อโรคทางเดินปัสสาวะ ขับปัสสาวะ ทาภายนอกให้เลือดมาเลี้ยงผิวหนัง ใบ แก้กามโรค ทำให้น้ำเหลืองแห้ง แก้เข้าข้อ แก้โรคผิวหนัง (วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 317)

ข้อควรระวัง ไม่ควรรับประทานมากนัก เพราะทำให้หายใจสั้นและถี่ อาจเป็นอันตรายได้ แต่เคยมีการทดลองโดยเภสัชกร และยืนยันว่า ผักคาวตองมีพิษน้อยมาก (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 1316)

 
            ตลอดปี
 
 
            

กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม. (2548). ผักพื้นบ้านภาคเหนือ. เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ บรรณาธิการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: ศูนย์พัฒนาตำราการแพทย์แผนไทย.

รัตนา พรหมพิชัย. (2542). คาวตอง, ผัก. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ (เล่ม 3, หน้า 1316-1317). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

วุฒิ วุฒิธรรมเวช. (2540). สารานุกรมสมุนไพร: รวมหลักเภสัชกรรมไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.