เปราะหอม


 
            เปราะหอมขาว, หอมเปราะแดง, ว่านหอม, ว่านตีนดิน (เหนือ) ว่านแผ่นดินเย็น (เชียงใหม่), ซู (แม่ฮ่องสอน) (วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 278)
 
            ต้น เป็นไม้ลงหัว ใบ ใบอ่อนม้วนเป็นกระบอกออกมาแล้วแผ่ราบบนหน้าดิน ต้นหนึ่งมี 1-2 ใบ ทรงกลมโต ยาวประมาณ 3-4 นิ้ว หน้าใบสีเขียว เปราะหอมแดง ท้องใบสีแดง เปราะหอมขาว ท้องใบสีขาว มีกลิ่นหอม ดอก หัวกลมเหมือนหัวกระชาย ใบงอกงามในหน้าฝน แห้งไปในหน้าแล้ง เกิดตามที่ลุ่มชื้นแฉะในป่าดงดิบ และป่าเบญจพรรณทั่วไป (วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 278)
 
        
            ฟอสฟอรัส แคลเซียม วิตามินซี (ผักพื้นบ้าน อาหารไทย, 2550, 48) ชาวล้านนา ใช้เปราะหอมเป็นส่วนผสมของเครื่องปรุงลาบ ที่เรีกว่า พริกลาบ หรือ น้ำพริกลาบ และยำต่างๆ เช่น ยำจิ๊นไก่ ยำห็ดฟาง ยำกบ (ประธาน นันไชยศิลป์, 2550, สัมภาษณ์)
        
เปราะหอมแดง
ใบ รสเผ็ดขม แก้เกลื้อนช้าง
ดอก รสหอมร้อน แก้ตาอักเสบ ตาแฉะ
ต้น รสเผ็ดขม แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อ
หัว รสเผ็ดขม ขับเลือดและหนองให้ตก แก้ไอ แก้ลมพิษ แก้ผื่นคัน แก้บาดแผล แก้เสมหะ เจริญไฟธาตุ แก้ลงท้อง

เปราะหอมขาว
ดอก รสหอมร้อน แก้เด็กนอนสดุ้งผวา ร้องไห้ตาเหลือก ตาช้อนเหลือบดูสูง
ต้น รสเผ็ดขม ขับเลือดเน่าของสตรี
หัว รสเผ็ดขม แก้โลหิตซึ่งเจือด้วยลมพิษ สุมศีรษะเด็ก แก้หวัดคัดจมูก รับประทานขับลมในลำไส้ แก้เสมหะ เจริญธาตุไฟ แก้ลงท้อง
(วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 278)
 
 
 
            

ประธาน นันไชยศิลป์. (2550). สัมภาษณ์. 3 กรกฎาคม.

ผักพื้นบ้าน อาหารไทย. (2548). กรุงเทพฯ: แสงแดด.

วุฒิ วุฒิธรรมเวช.(2540). สารานุกรมสมุนไพร: รวมหลักเภสัชกรรมไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.