ผักปู่ย่า


 
            ผักปู่ย่า หนามปู่ย่า (ภาคเหนือ) ช้าเลือด (ทั่วไป) ผักขะยา (นครพนม) ผักคายา (เลย) ผักกาดย่า (ปราจีนบุรี) (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม, 2548, 57)
 
            ต้น เป็นไม้เลื้อยลำต้นตั้งตรงหรือพันกับไม้อื่น สูงกว่า 1 เมตร ลำต้นมีหนามแหลมจำนวนมากทั้งลำต้น และใบ ยอดอ่อนสีน้ำตาลแดง ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ก้านใบยาว 25-30 เซนติเมตร ใบมี 10-30 คู่ และแตก ออกไปอีก 10-20 เซนติเมตร ก้านใบสีแดงมีหนามแหลมตามกิ่งก้านทั่วไป ใบลักษณะกลมมนขนาดกว้างประมาณ 4 มิลลิเมตร สามารถหุบเข้าหากันได้เมื่อสัมผัส ใบและช่อดอกมีกลิ่นฉุนรุนแรง ดอก เป็นช่อยาว 20-40 เซนติเมตร ดอกสีเหลืองบานในช่วงฤดูหนาว ขนาดดอกยาว 1.2-2 เซนติเมตร กว้าง 1-1.8 เซนติเมตร ผล เป็นฝัก บวมพอง มีหนามเล็กๆ ขนาดเท่าหัวแม่มือ ภายในมีเมล็ด 2 เมล็ด (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม, 2548, 57)
 
        
             ไม่มีข้อมูลสารอาหาร ข้อมูลทางอาหาร ชาวล้านนาใช้ ใบและยอดอ่อนเป็นส่วนผสมของส้าผัก นิยมนำมาทำส้าผักรวม เป็นผักจิ้มน้ำพริกส้าผัก ชาวอีสานนิยมรับประทานสดกับซุปหน่อไม้ (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม, 2548, 57; ศรีวรรณ จำรัส, 2550, สัมภาษณ์)
        
บำรุงเลือด แก้วิงเวียน (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม, 2548, 57)
 
            ฤดูฝน (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม, 2548, 57)
 
 
            

กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม. (2548). ผักพื้นบ้านภาคเหนือ. เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ บรรณาธิการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: ศูนย์พัฒนาตำราการแพทย์แผนไทย.

ศรีวรรณ จำรัส. (2550). สัมภาษณ์. 14 มิถุนายน.