ผักกาดขาว


 
            แปะฉ่าย ผักกาดขาวปลี แปะฉ่ายลุ้ย (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2550)
 
            เป็นพืชอายุปีเดียว มีระบบรากตื้น ใบมีลักษณะห่อปลียาวหรืออาจห่อหลวมๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ ใบมีสีขาวถึงสีเขียวอ่อน เป็นพืชวันยาว ดอกมีสีเหลืองยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ผักกาดขาวส่วนใหญ่มีการผสมข้ามโดยแมลงและผึ้ง (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2550) ผักกาดขาว มีรูปร่างเป็นปลี ลูกยาวรี มีกาบสีขาวและใบสีเหลืองอ่อนหยักงอซ้อนๆ กัน มีทั้งพันธุ์ที่กาบใบหุ้มซ้อนกันแน่น และพันธุ์ที่ซ้อนกันแบบหลวมๆ ผักกาดขาวส่วนใหญ่ใบสีขาวออกซีด แต่ที่เป็นสีเขียวอ่อนก็มี คุณสมบัติที่สำคัญคือใบและกาบใบจะกรอบเพราะมีน้ำหนักมาก (ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์, 2547, 24)
 
        
            มีแร่ธาตุสูง โดยเฉพาะแคลเซียม มีสูงถึง 80-90 มิลลิกรัม ต่อปริมาณผักครึ่งถ้วย เหมาะอย่างยิ่งสำหรับกินป้องกันโรคกระดูกบางและกระดูกพรุนในผู้หญิงวัยทอง และมีกรดโฟลิก ช่วยการพัฒนาเนื้อเยื่อ และสังเคราะห์ DHA ดีกับหญิงมีครรภ์ มีแคลเซียมสูง สร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง (ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์, 2547, 24) ทางอาหารนั้น สำหรับชาวล้านนานิยมรับประทานเป็นผักสดเครื่องเคียงลาบชนิดต่างๆ
        
เสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรงแล้ว ยังทำให้กล้ามเนื้อทำงานเป็นปกติ ลดความดันโลหิตสูงและป้องกันมะเร็งในลำไส้อีกด้วย เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน เสริมสร้างความแข็งแรงของผนังหลอดเลือด ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน ป้องกันมะเร็ง และกำจัดสารพิษและโลหะหนักให้แก่ร่างกาย (มูลนิธิสุขภาพไทย, 2550)
 
 
 
            

กรมส่งเสริมการเกษตรม. (2550). ผักกาดขาว. ค้นจาก http://www.doae.go.th/Library/html/detail/whitecab/white2.htm

ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์. (2547). สารานุกรมผัก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: แสงแดด.

มูลนิธิสุขภาพไทย. ผักกาดขาว เจ้าแห่งเส้นใยอาหาร. ค้นวันที่ 20 ตุลาคม 2550 จากhttp://www.thaihof.org/herb/abstract/mati240.html