กระถิน


 
            กระถินไทย กระถินดอกขาว สะตอเทศ สะตอบ้าน (วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 78) กระถินบ้าน กะเส็ดโคก กะเส็ดบก สะตอเบา ผักหนองบก ผักก้านถิน กันเชด (เขมร) กระถินหัวหงอก กิถินน้อย กะตง (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2550)
 
            เป็นไม้ยืนต้นทรงพุ่ม ขนาดย่อม ใบประกอบแบบขนนก คล้ายมะขาม ดอกเป็นดอกรวม อัดแน่นเป็นกระจุกกลม เกสรเป็นพู่สีขาว ฝักแบนยาวประมาณ 6 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1.5 - 2 เซนติเมตร ภายในมีเมล็ดแบนเรียงอยู่ ขายาพันธุ์ด้วยเมล็ด ปลูกได้ทุกสภาพพื้นที่ทั่วประเทศ ใบและกิ่งอุดมไปด้วยไนโตรเจนและเกลือ โพแทสเซียม ใช้ทำปุ๋ยหมักได้ดี ทุกส่วนของต้นทำให้เกิดพิษในสัตว์เลี้ยง พวกม้า สุกร กระต่าย เป็นด ไก่ ทำให้ขนร่วง เมื่อหยุดกินจะงอกขึ้นมาใหม่ (วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 78)
 
        
            มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล้ก วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 ไนอาซิน วิตามินซี (ผักพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง, 2550, 29) ยอดอ่อน ใบอ่อน ฝักอ่อน-แก่ รับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก (ชาวอีสาน) ใช้เมล็ดอ่อนผสมในส้มตำมะละกอหรือรับประทานกับส้มตำ (ชาวใต้) ใช้เมล็ดอ่อน ใบอ่อนรับประทานกับหอยนางรม (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2550)
        
ใบและเมล็ด แก้โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ช่วยให้ระดับนำตาลและระดับโคเลสเตอรอลลดลง แก้ท้องร่วง ใช้สมานแผล ห้ามเลือด เนื่องจากในใบและเมล็ดมีสารมิโมซีน ที่ทำให้ผมร่วงได้ จึงไม่ควรรับประทานมากเกินไป (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2550)
ดอก รสมัน บำรุงตับ แก้เกล็ดกระดี่ขึ้นตา ราก รสจืดเฝื่อน ขับลม ขับระดูขาว เป็นยาอายุวัฒนะ ทั้งต้น มีสาร Leucine หรือ Leucenol ซึ่งเป้นสารชนิดเดียวกับ Minosine ที่สกัดได้จาก ต้นไมยราบ กระถินสามารถดูดสาร Selenium จากดินมาสะสมไว้ในเมล็ดได้มาก ทำให้เกิดพิษแก่สัตว์ ไม่เกิดพิษแก่มนุษย์ (วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 78)
 
            ตลอดปี
 
 
            

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2550). ผักพื้นบ้าน. ค้นวันที่ 10 มิถุนายน 2550 จาก http://singburi.doae.go.th/acri

ผักพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง. (2550). กรุงเทพฯ: บริษัท ฟ้าอภัย จำกัด.

วุฒิ วุฒิธรรมเวช. (2540). สารานุกรมสมุนไพร: รวมหลักเภสัชกรรมไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.