ย่านาง


 
            จ้อยนาง เถาย่านาง (เชียงใหม่) เถาวัลย์เขียว (ภาคกลาง) เครือย่านาง ปู่เจ้าเขาเขียว ขันยอ แฮนกึม (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม, 2542, 231)
 
            ต้น เป็นไม้เถาเลื้อย ลักษณะเป็นเถาขนาดเล็ก กิ่งอ่อนมีขนอ่อนปกคลุม เมื่อแก่ผิวค่อนข้างเรียบ รากมีขนาดใหญ่ ใบ ใบเดี่ยวออกติดกับลำต้นแบบสลับ รูปร่างคล้ายรูปไข่หรือรูปไข่ขอบขนานค่อนข้างหนา ปลายใบเรียบแหลม ใบยาว 5-10 เซนติเมตร . กว้าง 2-4 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 1 เซนติเมตร ผิวใบเป็นสีเขียวเข้มเป็นมัน ดอก ออกตามซอกโคนเป็นช่อยาว 2-5 เซนติเมตร ช่อหนึ่ง มีดอกขนาดเล็กสีเหลือง 3-5 ดอก ดอกแยกเพศอยู่คนละต้น ไม่มีกลีบดอก ผล รูปร่างกลมรี ขนาดเล็ก สีเขียว เมื่อแก่เป็นสีเหลืองอมแดงหรือสีแดงและกลายเป็นสีดำ (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม, 2542, 231)
 
        
            เส้นใย แคลเซียม ฟอสฟอรัส เบต้าแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินบี 1 บี2 ไนอาซิน วิตามินซี (ผักพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง, 2550, 77) ข้อมูลทางอาหาร เถา ใบอ่อน และใบแก่ นำมาตำคั้นเอาน้ำ นำไปปรุงแกงหน่อไม้ ใส่แกงขนุน แกงอีรอก อ่อม ห่อหมก ซุปหน่อไม้ แกงต้มเปรอะ แกงยอดหวาย (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม, 2542, 231) สำหรับชาวล้านนา นิยมนำใบอ่อนและใบแก่ นำมาตำคั้นเอาน้ำ นำไปปรุงแกงหน่อไม้
        
ทั้งต้น ปรุงเป็นยาแก้ไข้กลับ (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม, 2542, 231)
ใบ เป็นยาถอนพิษ แก้ไขรากสาด ไข้พิษ ปวดหัว ตัวร้อน อีสุกอีใส หัด ไข้สะบัดร้อน ลิ้นกระด้าง คอแข็ง คางแข็ง ไข้ฝีดาษ ยากวาดคอ ไข้ดำแดง ราก ใช้ต้มดื่ม แก้ไขทุกชนิด แก้เบื่อเมา กระทุ้งพิษไข้ แก้เมาสุรา ถอนพิษสำแดง แก้ไข้ฝ่าระดู แก้ไข้สันนิบาต แก้ไข้มาลาลาเรียเรื้อรัง แก้โรคหัวใจบวม แก้กำเดา (ปรียา ไตรรัตน์ณรงค์, 2547, 210) แก้ไม่ผูกไม่ถ่าย (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม, 2542, 231)
 
            ตลอดปี
 
 
            

กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม. (2542). ผักพื้นบ้านภาคกลาง. กัญจนา ดีวิเศษ บรรณาธิการ. นนทบุรี: โครงการพัฒนาตำรา สถาบันการแพทย์แผนไทย.

ปรียา ไตรรัตน์ณรงค์. (2547). คัมภีร์ แพทย์สมุนไพร ผลไม้ สมุนไพรและพืชผักสวนครัว. กรุงเทพฯ: One World.

ผักพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง. (2550). กรุงเทพฯ: บริษัท ฟ้าอภัย จำกัด.

เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ และกัญจนา ดีวิเศษ, บรรณาธิการ. (2542). ไม้ริมรั้ว: สมุนไพรกับวัฒนธรรมไทย ตอนที่ 2. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์แผนไทย.