ตะไคร้


 
            จักไค จะไค จั๊กไค (ภาคเหนือ) คาหอม (ฉาน, เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 1454) ตะไคร้แกง (ภาคกลาง) เหลอะเกรย ห่อวอตะโป (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ไคร ไพเล็ก (ใต้) หัวไคลิง (เขมร-ปราจีน) เชิดเกรย (เขมร-สุรินทร์) (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, 2542, 75)
 
            เป็นพรรณไม้ล้มลุก ขึ้นเป็นกอใหญ่ สูงประมาณ 1 เมตร ลักษณะของลำต้นเป็นรุปทรงกระบอก แข็ง เกลี้ยง และตามปล้อง มักมีไขปกคลุมอยู่ มีอายุหลายปี ลักษณะของใบ เป็นใบเดี่ยว แตกออกเป็นกอ รูปขอบขนาน ปลายใบแหลม และผิวใบจะสากมือทั้งสองด้าน เส้นกลางใบแข็ง ขอบใบมีขนขี้นอยู่เล็กน้อย มีสีเขียว ขนาดกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ยาว 2-3 ฟุต มีดอก ออกเป็นช่อกระจาย ช่อดอกย่อยมีก้าน ออกดอกเป็นคู่ๆ ในแต่ละคู่ มีใบประดับรองรับ (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, 2542, 75)
 
        
            ไม่มีข้อมูลสารอาหาร ชาวล้านนาใช้ตะไคร้ เป็นส่วนผสมเครื่องแกงที่สำคัญ หรือใส่พวกยำต่าง โดยเฉพาะอาหารที่ต้องการดับกลิ่นคาว มักปลูกตะไคร้ไว้ในบริเวณบ้าน (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 1454)
        
เป็นยาขับลม แก้ท้องอืด ลดความร้อนในร่างกาย ต้านและยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียบางชนิด ลดไข้จากแผลอักเสบ บำรุงไตและขับเหงื่อ เหง้า ใบ และกาบมีน้ำมันหอมระเหย citronella oil ใช้เป็นยาทากันยุงและเป็นสารแต่งกลิ่นในเครื่องสำอางบางชนิด (ผักพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง, 2550, 44)

ข้อบ่งใช้ทางเภสัชกรรมล้านนา เป็นส่วนประกอบของยานิ่วทั้งมวล ยาปิแกมขางแกมเกี่ยว (ยารักษาอาการเป็นลม มีปากเปื่อย ร้อนใน และเป็นตะคริวร่วมด้วย) และยาผีเสื้อ ข้อบ่งใช้ทางการแพทย์แผนปัจจุบัน-แผนไทย น้ำมันจากใบ ใช้แต่งกลิ่นอาหาร สบู่ เครื่องดื่ม เป็นยาขับปัสสาวะอย่างอ่อน ทำให้ประจำเดือนมาปกติ แก้คาว แก้เบื่ออาหาร บำรุงธาตุ ขับลม แก้กษัย ต้มดื่มแทนน้ำ ช่วยลดความดันโลหิตสูง (จีรเดช มโนสร้อย และอรัญญา มโนสร้อย, 2537, 101)
 
            ตลอดปี
 
 
            

กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ. (2542). ผักพื้นบ้านภาคกลาง. กัญจนา ดีวิเศษ บรรณาธิการ.กรุงเทพฯ: โครงการพัฒนาตำรา สถาบันการแพทย์แผนไทย.

จีรเดช มโนสร้อย และอรัญญา มโนสร้อย. (2537). เภสัชกรรมล้านนา: ตำรับยาสมุนไพรล้านนา. กรุงเทพฯ : สถาบันการแพทย์แผนไทย.

ผักพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง. (2550). กรุงเทพฯ: บริษัท ฟ้าอภัย จำกัด.

รัตนา พรหมพิชัย. (2542). จักไคร. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ (เล่ม 3, หน้า 1454). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์

วุฒิ วุฒิธรรมเวช. (2540). สารานุกรมสมุนไพร: รวมหลักเภสัชกรรมไทย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.