Find Picture of      By     
Thai Version English Version
หน้าแรก
       
 
ดูภาพตามหมวดหมู่ ความเป็นมา บุญเสริม สาตราภัย อดีตล้านนาจากภาพถ่าย ผู้มีอุปการะคุณ เพิ่มรูปของคุณ ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
  
  ประตูลี้และกำแพงเมืองด้านประตูลี้ เมื่อพ.ศ. 2459
กลับไปหน้าแสดงรายการภาพ  

คลิกที่รูปด้านบนเพื่อดูรูปขนาดใหญ่



ประตูลี้และกำแพงเมืองด้านประตูลี้ เมื่อพ.ศ. 2459
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ เชียงใหม่
กำแพงเมือง; ลำพูน; ประตูลี้
กำแพงเมือง--ลำพูน

กำแพงเมืองลำพูน

������������ภาพถ่ายประตูเมืองและกำแพงเมือง เมื่อคราวเจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) เสนาบดีกระทรวงคมนาคม พร้อมคณะได้เดินทางมาตรวจราชการมณฑลพายัพ ณ จังหวัดลำพูน เมื่อพ.ศ. 2459

������������กำแพงเมืองลำพูนความชัดเจนในเรื่องกำแพงเมืองลำพูนนั้นมีไม่มาก แต่พอจะกล่าวถึงจากนักวิชาการบ้างว่าเวียงโบราณสมัยหริภุญไชยตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ การคมนาคมและการดำเนินชีวิตจะอาศัยแม่น้ำเป็นหลัก ตัวเวียงมีรูปร่างเรขาคณิต “สี่เหลี่ยม” กำแพงเมืองเป็นคันดินมี 2 ชั้น ตรงกลางระหว่างกำแพงเมืองมีคั่นด้วยแนวคูเมือง

������������ในรัชสมัยพระยาเมืองแก้ว ตรงกับพุทธศตวรรษที่ 21 โปรดฯให้มีการบูรณะแนวกำแพงเมืองลำพูนที่สร้างมาแต่พุทธศตวรรษที่ 13 โดยมีรายละเอียดบันทึกในหนังสือ “ตำนานวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร” โดยอาจารย์สิงฆะ วรรณสัย ปริวรรตจากต้นฉบับเดิมที่จารลงใบลานด้วยอักขระล้านนาดังนี้

������������การบูรณะแนวกำแพงเมืองในสมัยพระเมืองแก้วนั้น ถือเอาฤกษ์แรกสร้างในวันที่ 5 (วันพฤหัสบดี) ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 2 ปีรวายไจ้ (ปีชวด) ศักราชได้ 878 ยามคลาด (บ่าย) 20 น้ำ พระอาทิตย์ พระพุธ พระเสาร์ อยู่ราศีประจิตร พระศุกร์อยู่ราศีตุลย์ พระพฤหัสบดี อยู่ราศีสิงห์ ลัคนาอยู่ราศีกรกฏ พระอังคารอยู่ราศีเมษ พระจันทร์อยู่ราศีมังกร ฤกษ์ที่ 23 เขียนเป็นรูปดวงกำแพงเมืองหริภุญไชย

������������กำแพงเมืองที่สร้างใหม่นี้มีปริมณฑลโดยรอบได้ 1,586 วา 2 ศอก มีประตูเมืองโดยรอบ 6 แห่ง ประตูด้านหน้าเมืองซึ่งติดกับลำน้ำกวงมีทั้งสิ้น 3 ประตู คือ ประตูท่าขาม หรือประตูท่าข้าม ถัดมาทิศเหนือ 182 วาเรียกว่า ประตูท่าสิงห์ หรือประตูขัว เนื่องจากประตูแห่งนี้เคยมีสะพานไม้ขนาดใหญ่ทอดข้ามไปสู่ฝั่งตะวันออก ถัดขึ้นไปอีก 162 วา 1 ศอก คือประตูท่านาง ด้านเหนือของเมืองหรือที่เรียกมาแต่เดิมว่า “หัวเวียง” นั้นมีประตูเพียงแห่งเดียวคือ ประตูช้างสี อยู่ห่างจากประตูท่านาง 175 วา

������������ในการบูรณะกำแพงเมืองครั้งนั้น พระเมืองแก้ว โปรดฯ ให้ “พันหยาน้อย” เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง ใช้วัสดุในการก่อสร้างดังรายการต่อไปนี้ ใช้ศิลาแลงทั้งสิ้น 56,780 ก้อน อิฐ 6,315,000 ก้อน เป็นกำแพงเมืองที่ก่อด้วยอิฐสอปูน มีความสูงประมาณ 3 เมตร ด้านบนก่อเป็นรูปคล้ายใบเสมา แนวกำแพงนครหริกุญไชยและคูเมืองที่บูรณะในสมัยพระเมืองแก้วยังคงหลงเหลือให้เห็นในปัจจุบันเพียงบางส่วน

������������วันที่ 15 พฤษภาคม 2482 เทศบาลเมืองลำพูนได้ขออนุญาตรื้อกำแพงเมืองลำพูน รวม 6 แห่ง เพื่อเชื่อมกับแนวถนนด้านในเขตเมืองทั้งนี้เพื่อความสะดวกในทางคมนาคม ทางคณะกรรมการจังหวัดพิจารณาแล้วเห็นควรอนุญาตให้รื้อได้ รวมทั้งกรมศิลปากรพิจารณาไม่ขัดข้องประการใด อนุญาตให้รื้อกำแพงเมือง ลงนามโดยหลวงวิจิตรวาทการ
������������กำแพงเมืองลำพูนที่เทศบาลขออนุญาตรื้อ รวมทั้งสิ้น 6 แห่ง คือ
������������1. ประตูช้างสี รื้อออกข้างละ 6 เมตร
������������2. บริเวณมุมเมืองทางด้านทิศเหนือ หน้าบ้านหลวงมานิตธนากร รื้อออก 20 เมตร
������������3. ที่ข้างหนองดอก รื้อออก 20 เมตร
������������4. มุมเมืองด้านทิศใต้ รื้อ 20 เมตร ตรงหนองดอก
������������5. มุมเมืองตรงท่อวัดธงสัจจะ รื้อออก 20 เมตร
������������6. ประตูท่านาง ข้างด้านเหนือ รื้อออก 10 เมตร

������������วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2486 เทศบาลเมืองลำพูน ทำเรื่องขออนุญาตรื้อกำแพงเมืองลำพูนผ่านคณะกรรมการจังหวัดลำพูน ถึงกรมศิลปากร และกรมศิลปากรอนุญาตลงนามโดยอธิบดีกรมศิลปากร นายยง ส.อนุมานราชธน โดยมีการรื้อแนวกำแพงเมืองลำพูนออกอีก 7 แห่งได้แก่
������������1. กำแพงด้านตะวันตกตรงแนวตรอกวัดช้างสี
������������2. กำแพงด้านตะวันตกแนวตรอกวัดศรีบุญเรือง
������������3. กำแพงด้านตะวันตกแนวถนนราชวงค์
������������4. กำแพงด้านตะวันตกตรงแนวถนนแว่นคำ
������������5. กำแพงด้านตะวันออกตรงแนวถนนอัฐถารส
������������6. กำแพงด้านตะวันออกตรงแนวถนนชัยมงคล
������������7. กำแพงด้านใต้ตรงแนวตรอกที่ตัดจากถนนวังขวาลงไป

������������และวันที่ 28 ธันวาคม 2491 เทศบาลเมืองลำพูนได้ขออนุญาตรื้อกำแพงเมืองลำพูนผ่านคณะกรรมการจังหวัดลำพูน ถึงกรมศิลปากร และกรมศิลปากรอนุมัติลงนามโดย พระเจ้าวรวงค์เธอพระองค์เจ้าภานุพันธ์ยุคล รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากร กำแพงที่เทศบาลเมืองลำพูนขออนุญาตรื้อ ได้แก่ กำแพงเมืองทิศเหนือตั้งแต่มุมเมืองทางทิศตะวันตกถึงประตูท่านาง มีความยาว 200 เมตร ด้วยเห็นว่ากำแพงเมืองนี้ไม่มีความความสำคัญอันควรถือเป็นโบราณวัตถุเท่าใดนัก ประกอบกับชำรุดทรุดโทรมและหักพังไปเป็นส่วนมาก บางแห่งคงเหลือแต่เพียงซากของกำแพง บางแห่งก็กำลังจะพัง อาจเป็นอันตรายแก่ประชาชนและให้คงเหลือไว้เฉพาะตัวประตูเมือง โดยเทศบาลเมืองลำพูน ขณะนั้นให้เหตุผลว่าเป็นการส่งเสริมความเจริญของบ้านเมืองในด้านความสวยงามและการขยายตัวเมืองให้กว้างขวางออกไป

รายการอ้างอิง
อนุสรณ์งานฌาปนกิจศพ คุณพ่อประสงค์ ปัญญาภู : สมุดภาพ "ภาพเก่าเล่า
������������ เรื่องเมืองลำพูน".
(2552). ม.ป.ท. : ม.ป.พ.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักหอสมุด
เชียงใหม่
ntic@lib.cmu.ac.th
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , ผู้ให้ทุนสนับสนุน
นเรนทร์ ปัญญาภู, ผู้รวบรวมข้อมูล
2459
image/jpeg(.jpeg .jpe .jpg)
1 ภาพ; ขาวดำ; 5x7 นิ้ว
NAT-LP-GT004
© หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรุงเทพฯ
ท่านอาจจะบันทึกหรือพิมพ์รูปภาพเพื่อการวิจัยและการศึกษาค้นคว้า ถ้าท่านต้องการใช้สำหรับวัตถุประสงค์อื่น ท่านต้องติดต่อสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อขออนุญาตใช้
 
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
เว็บไซต์และฐานข้อมูลภาพล้านนาในอดีต โดย สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง

     
     
  Copyright © 2008 Northern Thai Information Center (NTIC), Chiang Mai University. All Rights Reserved.
239 Huay Kaew Rd., Mueang District , Chiang Mai, Thailand 50200
Tel. 0 5394 4514, 0 5394 4517
ntic@lib.cmu.ac.th
 
/* */