Find Picture of      By     
Thai Version English Version
หน้าแรก
       
 
ดูภาพตามหมวดหมู่ ความเป็นมา บุญเสริม สาตราภัย อดีตล้านนาจากภาพถ่าย ผู้มีอุปการะคุณ เพิ่มรูปของคุณ ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
  
  การเรียนการสอนวิชาภูมิศาสตร์ โดยศาสตราจารย์สุมนา คำทอง อาจารย์ประจำภาควิชาภูมิศาสตร์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กลับไปหน้าแสดงรายการภาพ  

คลิกที่รูปด้านบนเพื่อดูรูปขนาดใหญ่



การเรียนการสอนวิชาภูมิศาสตร์ โดยศาสตราจารย์สุมนา คำทอง อาจารย์ประจำภาควิชาภูมิศาสตร์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สุมนา คำทอง; ภาควิชาภูมิศาสตร์; คณะสังคมศาสตร์; มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
-

ประวัติคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
            เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๓ คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ขึ้น คณะที่เสนอขอจัดตั้งครั้งแรกนั้นมีคณะนิติศาสตร์รวมอยู่ด้วย แต่จากผลการสำรวจความสนใจทางการศึกษาของประชาชนในภาคเหนือระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๐๔-๒๕๐๕ พบว่า ในช่วงนั้นความสนใจศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาสำหรับคณะวิชานี้ยังมีไม่มากนัก ประกอบกับมีข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิว่า ควรจะเปิดสอนเป็นคณะสังคมศาสตร์ที่ประกอบด้วยสาขาวิชาที่กว้างกว่าสาขาวิชาเฉพาะ เช่น คณะนิติศาสตร์ ซึ่งต้องอาศัยบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ อันหาได้ยากยิ่งแม้แต่ในกรุงเทพเองก็ตาม ดังนั้นกระทรวงศึกษาธิการจึงได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการร่างรายละเอียดหลักสูตรวิชาสังคมศาสตร์ เมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๐๖ โดยมีนายเกษม อุทยานิน เป็นประธานอนุกรรมการ นางสุมนา คำทอง เป็นเลขานุการ และประกอบด้วยกรรมการอีก ๑๐ คน
            คณะสังคมศาสตร์ตั้งอยู่ที่เชิงดอยสุเทพ ระหว่างถนนสุเทพและถนนห้วยแก้ว ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ประมาณ ๔ กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ ๑๐ ไร่เศษ เริ่มเปิดสอนวันแรก เมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๐๗ มีนักศึกษา ๗๕ คน อาจารย์ ๑๕ คน ในระยะแรกคณะสังคมศาสตร์ยังไม่มีอาคารเรียนเป็นของตนเอง เพราะอยู่ในระหว่างก่อสร้าง ดังนั้น จึงต้องอาศัยอาคารของภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ และหอพักชาย อาคาร ๑ เป็นสถานที่เรียนชั่วคราว จนถึงปี พ.ศ.๒๕๐๙ จากนั้นจึงได้ย้ายไปเรียนที่อาคารหลังแรกของคณะสังคมศาสตร์
            คณะสังคมศาสตร์เป็นหนึ่งในสามคณะวิชาแรกของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่จัดตั้งขึ้นมาพร้อมกับคณะมนุษยศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ ในปี พ.ศ.๒๕๐๗ ในปีแรกของการจัดตั้งนั้น คณะสังคมศาสตร์ มี ๓ ภาควิชา คือ ภาควิชาภูมิศาสตร์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา และภาควิชาบัญชีและการบริหารธุรกิจ ในปี พ.ศ.๒๕๐๘ จึงได้มีการจัดตั้งภาควิชาเพิ่มขึ้นอีก ๒ ภาควิชา คือ ภาควิชารัฐศาสตร์ และภาควิชาเศรษฐศาสตร์
            คณะสังคมศาสตร์มีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งเพื่อเป็นสถาบันอุดมศึกษาสำหรับผลิตบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ ในสาขาสังคมศาสตร์ทั้ง ๕ สาขาวิชา ทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ในระยะเริ่มแรกระดับปริญญาโทนั้น ได้เปิดสอน ๓ ภาควิชา คือ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ ภาควิชาภูมิศาสตร์ ภาควิชารัฐศาสตร์ และในปีการศึกษา ๒๕๓๓ คณะสังคมศาสตร์เปิดการเรียนการสอนในระดับปริญญาโทเพิ่มขึ้นอีก ๒ ภาควิชา คือ ภาควิชาบัญชีและการบริหารธุรกิจ และภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ทำให้คณะสังคมศาสตร์มีการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีและปริญญาโทครบทุกสาขาวิชา ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๓๓ เป็นต้นมา
            จากนั้นในปีการศึกษา ๒๕๓๔ คณะสังคมศาสตร์ได้เพิ่มหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ ภายหลังในปี ๒๕๓๕ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งเป็นคณะเศรษฐศาสตร์ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๕ และภาควิชาบัญชีและการบริหารธุรกิจ ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งเป็นคณะบริหารธุรกิจ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๕
            ในปัจจุบัน คณะสังคมศาสตร์เปิดการเรียนการสอนในการศึกษาระดับบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต ๔ ภาควิชา คือ ภาควิชาภูมิศาสตร์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ภาควิชาสตรีศึกษา และภาควิชาสังคมศาสตร์และการพัฒนา และในขณะที่ภาควิชารัฐศาสตร์ ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งเป็น คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ (ซึ่งเป็น หน่วยงานในกำกับของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่) โดยมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๘ และ สาขาวิชานิติศาสตร์ ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งเป็น คณะนิติศาสตร์ ( ซึ่งเป็น หน่วยงานในกำกับของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่) โดยมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๔๙
รายการอ้างอิง
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (๒๕๓๓). ครบรอบ ๒๕ ปี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
            เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คณะสังคมศาสตร์. (๒๕๕๕). ประวัติคณะสังคมศาสตร์
            มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
. ค้นเมื่อ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๕,
            จาก www.soc.cmu.ac.th

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักหอสมุด
เชียงใหม่
ntic@lib.cmu.ac.th
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ
เชียงใหม่
itsc@itsc.cmu.ac.th
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ผู้ให้ทุนสนับสนุน
-
image/jpeg(.jpeg .jpe .jpg)
CMU-CM-CMU155
© มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ท่านอาจจะบันทึกหรือพิมพ์รูปภาพเพื่อการวิจัยและการศึกษาค้นคว้า ถ้าท่านต้องการใช้สำหรับวัตถุประสงค์อื่น ท่านต้องติดต่อสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อขออนุญาตใช้
 
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
เว็บไซต์และฐานข้อมูลภาพล้านนาในอดีต โดย สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง

     
     
  Copyright © 2008 Northern Thai Information Center (NTIC), Chiang Mai University. All Rights Reserved.
239 Huay Kaew Rd., Mueang District , Chiang Mai, Thailand 50200
Tel. 0 5394 4514, 0 5394 4517
ntic@lib.cmu.ac.th
 
/* */