Find Picture of      By     
Thai Version English Version
หน้าแรก
       
 
ดูภาพตามหมวดหมู่ ความเป็นมา บุญเสริม สาตราภัย อดีตล้านนาจากภาพถ่าย ผู้มีอุปการะคุณ เพิ่มรูปของคุณ ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
  
  พิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารบุญสม มาร์ติน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๐๔
กลับไปหน้าแสดงรายการภาพ  

คลิกที่รูปด้านบนเพื่อดูรูปขนาดใหญ่



พิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารบุญสม มาร์ติน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๐๔
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ เชียงใหม่
อาคารบุญสม มาร์ติน; พิธีวางศิลาฤกษ์; คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
-

อาคารบุญสม มาร์ติน: การดำเนินงานการก่อสร้างอาคารโรงเรียนแพทย์

������ ������คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นโรงเรียนแพทย์แห่งที่สามของประเทศไทย และเป็นโรงเรียนแพทย์ในส่วนภูมิภาคแห่งแรก สถานที่ตั้งปัจจุบันคือ เลขที่ ๑๑๐ ถนนอินทวโรรส ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ประมาณ ๒๗๖ ไร่ มุมทิศตะวันออกเฉียงใต้ จดประตูสวนดอก

������ ������การดำเนินงานเกี่ยวกับสถานที่ศึกษา รัฐบาลได้ตั้งงบประมาณค่าจัดซื้อที่ดินเป็นจำนวนเงิน ๓ ล้านบาท จากเงิน ก.ศ.ส. (อากรแสตมป์การกุศลเพื่อการศึกษาและสาธารณสุข) ได้มีการลงนามทำสัญญาความตกลงกับองค์การบริหารวิเทศกิจขอสหรัฐอเมริกา และได้เสนอกระทรวงการคลังเพื่อขอผูกพันงบประมาณปีต่อๆ ไป ซึ่งคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ทำข้อผูกพันได้เมื่อ วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ กระทรวงสาธารณสุขได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาจัดซื้อที่ดิน ซึ่งมีผู้เสนอขายในวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ โดยวางหลักสำคัญในการพิจารณาเลือกสถานที่ไว้ ๕ ประการ คือ มีการคมนาคมสะดวกใกล้ชุมชน มีน้ำใช้บริบูรณ์ตลอดปี มีไฟฟ้าไปถึงและเพียงพอ น้ำไม่ท่วม และมีโอกาสขยายสถานที่ได้ต่อไปในอนาคต การพิจารณาซื้อที่ดินค่อนข้างมีปัญหา อุปสรรคมากมายและใช้เวลานานปี ในที่สุดก็ได้ตัดสินใจซื้อที่ดินบริเวณใกล้เคียงโรงพยาบาลนครเชียงใหม่

������ ������และในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๑ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานวางแผนสร้างคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ขึ้น และลงความเห็นให้บริษัท Litchfield Whiting Brownes Associated ออกแบบแปลนอาคารใหญ่ของโรงเรียนและโรงพยาบาลคณะแพทยศาสตร์ และลงนามทำสัญญากับบริษัทเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๒

������ ������ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๑ ได้เริ่มรับนักศึกษาเตรียมแพทย์เชียงใหม่ขึ้น ที่คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ในกรุงเทพฯ เป็นรุ่นแรกจำนวน ๖๕ คน เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๒ ได้โอนโรงพยาบาลนครเชียงใหม่ของกระทรวงสาธารณสุข มาสังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และได้ดัดแปลงอาคารโรงเรียนผดุงครรภ์เก่า ซึ่งได้รับโอนจากกรมอนามัย เพื่อใช้เป็นสถานศึกษาสำหรับนักศึกษาแพทย์รุ่นแรก แต่การซ่อมแซมกระทำไม่ทันกำหนดเปิดการศึกษา จึงต้องฝากนักศึกษาให้เรียนชั้นปีที่ ๑ ที่คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นเวลา ๒ เทอม และได้ย้ายนักศึกษาขึ้นไปที่จังหวัดเชียงใหม่ทั้งหมด เมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๓

������ ������ในช่วงเวลาเดียวกัน เมื่อได้แบบขั้นแรกมาแล้ว คณะกรรมการดำเนินการวางแผนฯ ได้ปรึกษาหัวหน้าแผนกต่างๆ ของคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล ซึ่งได้มีการแก้ไขกันเล็กน้อย เมื่อรวบรวมเสร็จและส่งให้บริษัทเพื่อเขียนให้สมบูรณ์แบบเป็นขั้นสุดท้ายแล้ว ก็ได้เริ่มการก่อสร้างฐานรากเป็นขั้นแรก ในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ โดยมีบริษัทยุกตเสวีการช่างเป็นสถาปนิกฝ่ายไทยร่วมด้วย การวางศิลาฤกษ์ได้กระทำเมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๐๔ โดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งนายกสภาการศึกษาแห่งชาติเป็นประธาน

������ ������เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๖ มีการประกวดราคาการก่อสร้างตัวอาคารบนฐานราก ซึ่งได้ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ในขั้นต้นจะทำเพียง ๓ ชั้น และมีความกว้างยาวคงเดิม (กว้าง ๒๘๐ เมตร ยาว ๙๐ เมตร) ประมาณราคาไม่ต่ำกว่า ๕๗ ล้านบาท เหตุผลที่ต้องก่อสร้างเพียง ๓ ชั้นก่อนนั้น เนื่องจากเงินงบประมาณของฝ่ายไทยขัดข้อง และองค์การบริหารวิเทศกิจของสหรัฐอเมริกาไม่สามารถจ่ายฝ่ายเดียวตลอดไปได้ ปัญหาสำคัญขณะนั้นคือ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอาคาร ๗ ชั้น มาเป็น ๓ ชั้น ได้มีการย่อส่วนให้สามารถอัดกันเข้าไปได้ด้วย มิใช่ว่าจะทำ ๓ ชั้นตามแบบเดิม แล้วรอไว้ต่อเติมอีกภายหลัง ดังนั้นจึงต้องเปลี่ยนแปลงแบบแปลนใหม่เกือบทั้งหมด เป็นเรื่องยุ่งยากและใช้เวลานานมาก ประจวบกับสถาปนิกที่ออกแบบตั้งแต่ต้นได้ถึงแก่กรรม ผู้ที่รับทำให้จึงต้องศึกษาและสำรวจงานใหม่ทั้งหมด

������ ������จนกระทั่งวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๘ จึงมีการลงนามในสัญญาก่อสร้างอาคารใหญ่ ๓ ชั้น โดยบริษัทพระนครก่อสร้างเป็นผู้ประมูลได้ และเริ่มลงมือก่อสร้างในวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๐๘ มีกำหนดแล้วเสร็จใน ๗๒๐ วัน นับเป็นเวลาเกือบห้าปีหลังจากที่ลงฐานรากไว้แล้ว จึงได้มีการก่อสร้างตัวอาคารอย่างจริงจัง การก่อสร้างดำเนินไปได้ระยะหนึ่ง ศาสตราจารย์นายแพทย์บุญสม มาร์ติน คณบดีคณะแพทยศาสตร์ในขณะนั้น ได้เสนอรัฐบาลให้อนุมัติการก่อสร้างอาคารกลับเป็น ๗ ชั้น ตามที่วางแผนไว้แต่เดิม อย่างไรก็ตาม ความขัดข้องสำคัญอยู่ที่การของบประมาณเพิ่มเติม ซึ่งองค์การบริหารวิเทศกิจของสหรัฐอเมริกาไม่สามารถจ่ายเงินเพิ่มได้อีก แต่จะช่วยด้านอื่น เช่น ส่งสถาปนิกและวิศกรมาคุมงานให้ สำหรับเงินค่าก่อสร้างที่จะต้องเพิ่มเติมต่อเป็นอาคาร ๗ ชั้นนั้น กรมโยธาธิการประมาณไว้ ๓๑ ล้านบาท ปัญหาที่ตามมาอีกประการหนึ่ง คือ รากฐานของอาคารที่เตรียมไว้ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๓ อาจจะรับน้ำหนักอาคาร ๗ ชั้นไม่ได้ จึงต้องทำการสำรวจใหม่อย่างละเอียดใน พ.ศ. ๒๕๐๙ ซึ่งปรากฎว่า ฐานรากบางส่วนชำรุด ต้องทำการซ่อมแซมใหม่

������ ������ในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๐๙ รัฐบาลอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างต่อเติมเป็นอาคาร ๗ ชั้น และบริษัทพระนครก่อสร้างเป็นผู้ประกวดราคาได้ นับแต่นั้นมา การสร้างจึงดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยและรวดเร็วพอสมควร รวมระยะเวลาของการก่อสร้าง ต้งแต่วางศิลาฤกษ์ จนได้รับมอบงานเมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๒ เป็นเวลาแปดปีเศษ อาคารหลังนี้ยังคงใช้เป็นสถานที่สอนและบริการผู้ป่วยอยู่จนถึงปัจจุบัน

รายการอ้างอิง
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คณะแพทยศาสตร์. (๒๕๒๕). ๒๕ ปี แพทยศาสตร์เชียงใหม่.
������ ������เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักหอสมุด
เชียงใหม่
ntic@lib.cmu.ac.th
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ
เชียงใหม่
itsc@itsc.cmu.ac.th
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ผู้ให้ทุนสนับสนุน
2504
image/jpeg(.jpeg .jpe .jpg)
1 ภาพ; ขาวดำ; 8x10 นิ้ว
CMU-CM-CMU056
© มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ท่านอาจจะบันทึกหรือพิมพ์รูปภาพเพื่อการวิจัยและการศึกษาค้นคว้า ถ้าท่านต้องการใช้สำหรับวัตถุประสงค์อื่น ท่านต้องติดต่อสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อขออนุญาตใช้
 
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
เว็บไซต์และฐานข้อมูลภาพล้านนาในอดีต โดย สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง

     
     
  Copyright © 2008 Northern Thai Information Center (NTIC), Chiang Mai University. All Rights Reserved.
239 Huay Kaew Rd., Mueang District , Chiang Mai, Thailand 50200
Tel. 0 5394 4514, 0 5394 4517
ntic@lib.cmu.ac.th
 
/* */