|
เจดีย์กิ่ว หรือ เจดีย์ขาว เมื่อพ.ศ. 2504 สมัยก่อนเคยมีปั๊มน้ำมันคาลเท็กซ์อยู่ตรงหัวมุม ซึ่งเป็นบริเวณเดียวกับสำนักงานเทศบาลนครเชียงใหม่ในปัจจุบัน |
|
|
|
|
|
|
|
|
������ ������เจดีย์กิ่ว มิได้เป็นเจดีย์ที่อยู่ในเขตวัดหรือโบราณสถาน แต่ตั้งอยู่ริมน้ำแม่ปิง กลางสามแยกถนนวิชยานนท์กับถนนวังสิงห์คำ ใกล้ที่ทำการเทศบาลนครเชียงใหม่ มีลักษณะคล้ายกรวยสามเหลี่ยมทรงกลม กว้างประมาณ 6 เมตร สูงประมาณ 8 เมตร องค์สถูปโบกปูนเรียบไม่มีลวดลายประดับแต่อย่างใด ทาสีขาว ส่วนยอดหักเข้าและมีเครื่องประดับตามแบบเจดีย์โดยทั่วไป
������ ������หลักฐานการปรากฏของเจดีย์กิ่วนี้ไม่ชัดเจน แต่มีเรื่องเล่าสืบมาว่า ครั้งหนึ่งกษัตริย์พม่ายกพลมาล้อมเมืองเชียงใหม่และให้จัดหานักประดาน้ำไปแข่งดำน้ำพนันกับชาวพม่า โดยว่าหากชาวเชียงใหม่ดำน้ำได้ทนกว่าก็จะยกทัพกลับไป คราวนั้นมีชายสูงอายุผู้หนึ่งชื่อ ลุงเพียง (อ่าน ลุงเปียง) ไปอาสาขอดำน้ำแทนชาวเชียงใหม่ทั้งปวง เจ้าหลวงเชียงใหม่จึงรับไว้ แล้วนัดหมายกับฝ่ายพม่าและเสนอให้ไปจัดแข่งดำน้ำที่บริเวณใกล้เคียงกับเจดีย์กิ่วนี้ โดยให้จัดหาหลักสองอันปักลงไปในน้ำ เว้นระยะมิให้ใกล้กันเกินควร เมื่อนายทัพทั้งสองฝ่ายเข้าประจำที่และนักประดาน้ำลงไปเกาะเสารออยู่พร้อมแล้ว ก็ให้สัญญาณแก่นักประดาน้ำทั้งสองให้ดำลงไปในน้ำพร้อมกัน เวลาผ่านไปเนิ่นนานนักจนคนทั้งหลายที่ชุมนุมรอผลอยู่รู้สึกอึดอัด ในที่สุดนักประดาน้ำก็โผล่ขึ้นมาคนหนึ่งและเป็นชาวพม่า ซึ่งก่อให้เกิดความโล่งใจแก่ชาวเชียงใหม่มากนัก หลังจากนั้นทุกคนก็รอต่อไปอีกเพื่อให้ลุงเพียงโผล่ขึ้นมาเพื่อประกาศชัยชนะ แต่เวลาก็ผ่านไปนานมากจนเห็นว่าชาวเชียงใหม่ชนะอย่างขาวสะอาดแล้ว จึงให้คนลงไปตามลุงเพียงขึ้นจากน้ำ แต่คนที่ลงไปตามนั้นบอกว่าลุงเพียงไม่อาจขึ้นจากน้ำได้แล้ว เพราะลุงเพียงยอมพลีชีวิตเพื่อบ้านเมือง โดยใช้ผ้าขาวม้าผูกตนไว้กับหลักและตายอยู่ในลำน้ำปิง เพื่อเป็นอนุสาวรีย์แก่ความเสียสละของลุงเพียงดังกล่าว เจ้าเมืองเชียงใหม่จึงให้สร้างเจดีย์กิ่วที่ริมฝั่งแม่ปิงขึ้น
������ ������ทั้งนี้ เนื่องจากเจดีย์ขาวไม่มีลักษณะและความสูงเหมือนเจดีย์ที่เป็นปูชนียวัตถุทั่วไป จึงมีผู้คิดว่าเจดีย์กิ่วอาจเป็นสถูปบรรจุอัฐของบุคคลสำคัญชาวพม่าในครั้งที่มาครอบครองนครเชียงใหม่ในช่วง พ.ศ. 2101-2317 ก็ได้ และมีผู้เล่าอีกว่าเจดีย์กิ่วเป็นเครื่องหมายบอกว่าด้านล่างของเจดีย์ดังกล่าวเป็นปากอุโมงค์ที่ทอดยาวมาจากอุโมงค์ใต้ฐานเจดีย์หลวงที่อยู่กลางเมือง
������ ������ใกล้กับเจดีย์กิ่วนี้ มีคุ้มของเจ้าเชียงใหม่อยู่แห่งหนึ่งชื่อว่า คุ้มท่าเจดีย์กิ่ว ปัจจุบันเป็นสถานกงสุลอเมริกันประจำจังหวัดเชียงใหม่
รายการอ้างอิง
อุดม รุ่งเรืองศรี. (2542). เจดีย์กิ่ว. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ
(เล่ม 3, หน้า 1585-1586). กรุงเทพ : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย
ธนาคารไทยพาณิชย์.
������ ���� |
|
|
|
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักหอสมุด |
|
เชียงใหม่ |
|
ntic@lib.cmu.ac.th |
|
|
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ |
|
เชียงใหม่ |
|
itsc@itsc.cmu.ac.th |
|
|
|
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , ผู้ให้ทุนสนับสนุน
อุษณีย์ ธงไชย, ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญประจำโครงการ |
|
|
|
2504 |
|
|
|
image/jpeg(.jpeg .jpe .jpg) |
|
|
|
BS-CM-TP034 |
|
|
|
ท่านอาจจะบันทึกหรือพิมพ์รูปภาพเพื่อการวิจัยและการศึกษาค้นคว้า ถ้าท่านต้องการใช้สำหรับวัตถุประสงค์อื่น ท่านต้องติดต่อสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อขออนุญาตใช้ |
|
|
|