Find Picture of      By     
Thai Version English Version
หน้าแรก
       
 
ดูภาพตามหมวดหมู่ ความเป็นมา บุญเสริม สาตราภัย อดีตล้านนาจากภาพถ่าย ผู้มีอุปการะคุณ เพิ่มรูปของคุณ ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
  
  ล่องแก่ง : แพไม้ไผ่ที่ใช้เดินทางในแม่น้ำปิง เมื่อพ.ศ. 2495
กลับไปหน้าแสดงรายการภาพ  

คลิกที่รูปด้านบนเพื่อดูรูปขนาดใหญ่



ล่องแก่ง : แพไม้ไผ่ที่ใช้เดินทางในแม่น้ำปิง เมื่อพ.ศ. 2495
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ เชียงใหม่
ล่องแพ; ล่องแก่ง; แม่น้ำปิง
ล่องแพ; ล่องแก่ง; แม่น้ำปิง

������ ������เมื่อครั้งที่ยังไม่มีการสร้างทางรถไฟ การเดินทางระหว่างเชียงใหม่กับหัวเมืองตอนล่าง ต้องอาศัยการเดินเรือหรือถ่อแพล่องแม่น้ำปิงเป็นหลัก ตำนานการเดินทางที่ทุกคนรู้จักกันดีก็คือ ตำนานการเดินทางของพระนางจามเทวีจากละโว้ขึ้นมาปกครองเมืองหริภุญไชย การเดินทางระหว่างสองพื้นที่หากเป็นขาลงจากเชียงใหม่-กรุงเทพฯ ใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ในขณะที่ขาขึ้นใช้เวลาประมาณ 30-45 วัน การเดินทางแต่ละครั้งขึ้นอยู่กับฤดูกาลและความชำนาญในการเดินเรือ พาหนะหนึ่งที่ใช้ในการเดินทางซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี คือ เรือแม่ปะหรือเรือหางแมงป่อง
������ ������การเดินทางช่วงที่อันตรายที่สุดคือเส้นทางระหว่างเชียงใหม่ถึงตากซึ่งเต็มไปด้วยแก่งน้อยใหญ่ขวางอยู่เป็นจำนวนมาก ดังจะเห็นจากบันทึกของนักเดินทางที่เล่าถึง แก่งต่างๆ ดังนี้
������ ������แก่งวังวน น้ำในแก่งนี้จะหมุนวนปั่นป่วนอย่างแรง ความเร็วและความแรงของกระแสน้ำ จะดูดเอาสิ่งต่างๆ ที่ลอยมาหมุนจมลงเบื้องล่างทันที
������ ������แก่งสร้อย เป็นแก่งที่อันตรายมาก บางตอนน้ำคดเคี้ยวและมีก้อนหินขนาดใหญ่เกะกะเป็นตอนๆ ต้องระมัดระวังมาก ยุทธ เดชคำรณ เล่าไว้ใน ล่องแก่งแม่ปิงว่า หลังจากรอดพ้นจากแก่งสร้อย แพที่ไปด้วยกัน พังไป 4 แพ เกยหินกลางแก่ง 11 แพ ชนตลิ่งขวางกลางแก่งรวม 13 แพ แต่อย่างไรก็ตาม แก่งสร้อยนี้เป็นสถานที่น่าสนใจมาก กล่าวคือ มีความงามจากธารน้ำตกที่ตกจากหน้าผา และเป็นพื้นที่ๆ มีร่องรอยของชุมชนอยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์มังราย เนื่องจากพบวัดอยู่ถึง 4 แห่งคือ วัดหลวง ซึ่งสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพกล่าวว่าดูเป็นฝีมือของช่างหลวง วัดนกยูง วัดเกษ และวัดแก่งสร้อย เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีข่าวลือเกี่ยวกับลายแทงสมบัติที่ซุกซ่อนอยู่ตามป่าทึบแถวนี้ ลายแทงนี้กล่าวเป็นปริศนาว่า  ม้าอยู่เหนือ เสืออยู่ใต้ ของดีอยู่ใกล้น้ำไหลทรายมูล” หรือ  ม้าอยู่เหนือ เสืออยู่ใต้ใครอยากได้เลือดไหลออกไป”
������ ������แก่งอาบนาง เป็นแก่งที่อันตรายมากอีกแก่งหนึ่ง เพราะเป็นช่องเขาและมีความยาวมาก ทำให้น้ำไหลแรงและพุ่งเร็วเข้าหาหน้าผา บริเวณหน้าผามีหินตะปุ่มตะป่ำสีเทาปนดำ ลูกถ่อแพเรียกว่าหินเท้าช้าง ซึ่งชาวแพกลัวมากเพราะมันคม เป็นตอนที่น่ากลัวที่สุด เลยหินเท้าช้างมาเป็นหน้าผาอาบนาง กลางหน้าผามีหินย้อยคล้ายๆ กับน้ำพุพุ่งออกมาตลอดเวลา นักเดินทางมักจะใช้น้ำนี้ดื่มและล้างหน้า เพราะเป็นน้ำสะอาดและถือว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ เนื่องจากเชื่อกันว่าเป็นน้ำที่เกิดจากการอธิษฐานของพระนางจามเทวี ในครั้งที่เดินทางขึ้นมาปกครองเมืองหริภุญไชย กล่าวคือ เมื่อเดินทางมาถึงในบริเวณนี้พระนางต้องการที่จะสรงน้ำและสระเกศา เพื่อความเป็นสิริมงคล แต่น้ำไม่สะอาดพอ พระนางจึงอธิษฐานว่าหากตนมีบุญญาธิการที่จะช่วยทำนุบำรุงให้พุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองแล้ว ขอให้เทวดาอารักษ์โปรดประทานน้ำบริสุทธิ์ให้ พอจบคำอธิษฐานก็มีน้ำเย็นใสไหลตกลงมาคล้ายฝักบัว หน้าผานี้จึงได้ชื่อว่า ผาอาบนาง
������ ������ผาม่าน เป็นหน้าผาขนาดใหญ่ยาวต่อกัน ทอดยาวไปตามฝั่งแม่น้ำ ผาม่านแบ่งเป็นผาม่านน้อยและ ผาม่านใหญ่ เป็นหน้าผาที่มีความงามมาก มีรอยแตกคล้ายๆ กับรอยพับเรียงซับซ้อนของผ้าม่าน บางตอนมีลวดลาย เหลืองบ้าง ดำบ้างคล้ายกับรอยเขียน บนหน้าผามีต้นไม้ขึ้นประปราย บริเวณใต้ผาม่านเป็นหาดทรายเล็กๆ หากลงไปเดินบนหาดทราย แหงนหน้าขึ้นดูจะเห็นหินย้อยงดงามยิ่งนัก ในช่วงฤดูน้ำ ผาม่านเป็นแก่งที่อันตรายมาก แต่ช่วงน้ำแห้งบริเวณนี้ไม่เป็นแก่งแต่มีหาดทรายเล็กๆ เป็นที่พักของการเดินทางได้ แก่งที่อันตรายในลักษณะนี้ยังมีอีกหลายแก่ง เช่น แก่งวังสิงห์ แก่งปวง และแก่งปัง เป็นต้น
������ ������นอกจากอันตรายจากน้ำในแก่งแล้ว ยังมีอันตรายจากสัตว์ต่างๆ เช่น วังงูจงอาง หรือบางครั้งมีงูเลื้อยขึ้นมาบนแพ อันตรายอีกอย่าง คือ อันตรายจากท่อนซุงที่ล่องลงไปขาย หากไปเจอท่อนซุงใหญ่ในแก่งที่น้ำเชี่ยวมาก ท่อนซุงจะไหลอย่างไร้ทิศทาง หากพุ่งใส่เรือจะทำให้เรือแตก เพราะท่อนซุงมีขนาดใหญ่และหนักมาก
ในปีพ.ศ. 2495 รัฐบาลมีนโยบายสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำปิงที่จังหวัดตาก เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าและเก็บกักน้ำไว้ใช้สำหรับการเกษตร เขื่อนนี้สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2507 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระปรมาภิไธยชื่อเขื่อนว่าเขื่อนภูมิพล เมื่อเขื่อนสร้างเสร็จทำให้น้ำท่วมแก่งทั้งหมด การล่องเรือจึงง่ายขึ้น แต่เส้นทางสายนี้ได้เปลี่ยนหน้าที่มาเป็นการล่องเรือท่องเที่ยว เริ่มต้นจากฮอดถึงเขื่อนภูมิพล เส้นทางการท่องเที่ยวเส้นนี้เป็นที่นิยมมากเมื่อประมาณ 10 ปีมาแล้ว ปัจจุบันเริ่มคลายความนิยมลง อาจเป็นเพราะมีการท่องเที่ยวรูปแบบอื่นเข้ามาแทนที่

รายการอ้างอิง
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จกรมพระยา. (2473). อธิบายระยะล่องลำน้ำพิง.
������ ������พระนคร : โรงพิมพ์มหามกุฏวิทยาลัย.
ยุทธ เดชคำรณ. (2510). ล่องแก่งแม่น้ำปิง. พระนคร:
������ ������โรงพิมพ์อักษรบริการ.
เสฐียร พันธรังสษี.(แปล) (2550). ท้องถิ่นสยามยุคพระพุทธเจ้าหลวง.
������ ������ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: มติชน.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักหอสมุด
เชียงใหม่
ntic@lib.cmu.ac.th
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ
เชียงใหม่
itsc@itsc.cmu.ac.th
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , ผู้ให้ทุนสนับสนุน
อุษณีย์ ธงไชย, ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญประจำโครงการ
2495
image/jpeg(.jpeg .jpe .jpg)
1 ภาพ; ขาวดำ; 8x10 นิ้ว
BS-CM-BRA001
ท่านอาจจะบันทึกหรือพิมพ์รูปภาพเพื่อการวิจัยและการศึกษาค้นคว้า ถ้าท่านต้องการใช้สำหรับวัตถุประสงค์อื่น ท่านต้องติดต่อสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อขออนุญาตใช้
 
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
เว็บไซต์และฐานข้อมูลภาพล้านนาในอดีต โดย สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง

     
     
  Copyright © 2008 Northern Thai Information Center (NTIC), Chiang Mai University. All Rights Reserved.
239 Huay Kaew Rd., Mueang District , Chiang Mai, Thailand 50200
Tel. 0 5394 4514, 0 5394 4517
ntic@lib.cmu.ac.th
 
/* */