Find Picture of      By     
Thai Version English Version
หน้าแรก
       
 
ดูภาพตามหมวดหมู่ ความเป็นมา บุญเสริม สาตราภัย อดีตล้านนาจากภาพถ่าย ผู้มีอุปการะคุณ เพิ่มรูปของคุณ ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
  
  สถานีรถไฟเชียงใหม่ :ทางเข้าสถานีรถไฟ ฝั่งตรงข้ามคือโรงแรมรถไฟ เห็นภาพน้ำท่วมด้านหลังโรงแรมรถไฟ ถ่ายบนถังน้ำของสถานีรถไฟ เมื่อพ.ศ. 2495
กลับไปหน้าแสดงรายการภาพ  

คลิกที่รูปด้านบนเพื่อดูรูปขนาดใหญ่



เปรียบเทียบภาพถ่ายในปัจจุบัน
สถานีรถไฟเชียงใหม่ :ทางเข้าสถานีรถไฟ ฝั่งตรงข้ามคือโรงแรมรถไฟ เห็นภาพน้ำท่วมด้านหลังโรงแรมรถไฟ ถ่ายบนถังน้ำของสถานีรถไฟ เมื่อพ.ศ. 2495
บุญเสริม สาตราภัย
สถานีรถไฟเชียงใหม่; น้ำท่วม
สถานีรถไฟเชียงใหม่; น้ำท่วม

สถานีรถไฟเชียงใหม่เป็นสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งที่แสดงถึงความเจริญเติบโตของการคมนาคมในเชียงใหม่ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2464 ได้มีการทำพิธีเปิดสถานีรถไฟแห่งนี้ นับเป็นวันสำคัญวันหนึ่งในประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ เพราะการมาของรถไฟเชียงใหม่มิได้หมายความแต่เพียงการเพิ่มความสะดวกในการเดินทางระหว่างเชียงใหม่และกรุงเทพฯ เท่านั้น แต่ยังนำมาสู่ความเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตด้านต่างๆ ของผู้คนในเขตภาคเหนืออย่างใหญ่หลวง
ความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ การค้าทางเรือหมดบทบาทลงอย่างสิ้นเชิงทั้งนี้เพราะต้นทุนในการขนส่งทางรถไฟถูกกว่าทางเรือมาก เช่นสิ่งของน้ำหนัก 3 ตัน ขนส่งทางเรือเสียค่าใช้จ่าย 500 บาท แต่ถ้าขนส่งทางรถไฟเสียเงินเพียง 150 บาท นอกจากนั้นการค้าทางรถไฟยังทำได้ตลอดปีไม่ต้องขึ้นอยู่กับฤดูกาลเหมือนกับทางเรือ รวมทั้งยังสะดวกและรวดเร็วกว่ามาก เกวียนเป็นพาหนะอีกชนิดที่ค่อยๆ หายไปจากถนนในเมืองเชียงใหม่ เนื่องจากรถไฟบรรทุกรถยนต์ขึ้นมาใช้แทน
ความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ความเปลี่ยนแปลงในวิถีการผลิตของชุมชนเชียงใหม่ กล่าวคือ ผู้คนเริ่มเพาะปลูกพืชไร่เพื่อส่งขายมากขึ้น แต่ผลที่ได้คือ ชาวนาชาวไร่ส่วนหนึ่งต้องสูญเสียที่ดิน เนื่องมาจากการกู้เงินมาทำไร่ทำนา รวมทั้งต้องพึ่งพิงสินค้าสำเร็จรูปและสินค้าฟุ่มเฟือยมากขึ้น ทั้งที่สินค้าบางชนิดเคยผลิตใช้เองได้ เช่น ผ้า และบุหรี่ เป็นต้น
วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2486 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เครื่องบินพันธมิตรทิ้งระเบิดที่สถานีรถไฟจนพังยับเยิน ทำให้ต้องสร้างสถานีรถไฟหลังใหม่อย่างที่เห็นในทุกวันนี้

รายการอ้างอิง
ปลายอ้อ ชนะนนท์. (2529). บทบาทนายทุนพ่อค้าที่มีต่อการก่อ
และขยายตัวของทุนนิยมภาคเหนือของประเทศไทย
พ.ศ.2464-2523. วิทยานิพนธ์หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อนุ เนินหาด, พ.ต.ท. (2543). เชียงใหม่สะปะเรื่องตะวา.
เชียงใหม่: นพบุรีการพิมพ์.
อนุ เนินหาด, พ.ต.ท. (2544). ประวัติชุมชนในเมืองเชียงใหม่.
เชียงใหม่: นพบุรีการพิมพ์. (สังคมเชียงใหม่เล่ม 10).
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักหอสมุด
เชียงใหม่
ntic@lib.cmu.ac.th
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ
เชียงใหม่
itsc@itsc.cmu.ac.th
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , ผู้ให้ทุนสนับสนุน
อุษณีย์ ธงไชย, ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญประจำโครงการ
2495
image/jpeg(.jpeg .jpe .jpg)
1 ภาพ; ขาวดำ; 8x10 นิ้ว
BS-CM-RW002
ท่านอาจจะบันทึกหรือพิมพ์รูปภาพเพื่อการวิจัยและการศึกษาค้นคว้า ถ้าท่านต้องการใช้สำหรับวัตถุประสงค์อื่น ท่านต้องติดต่อสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อขออนุญาตใช้
 
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
เว็บไซต์และฐานข้อมูลภาพล้านนาในอดีต โดย สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง

     
     
  Copyright © 2008 Northern Thai Information Center (NTIC), Chiang Mai University. All Rights Reserved.
239 Huay Kaew Rd., Mueang District , Chiang Mai, Thailand 50200
Tel. 0 5394 4514, 0 5394 4517
ntic@lib.cmu.ac.th
 
/* */