Find Picture of      By     
Thai Version English Version
หน้าแรก
       
 
ดูภาพตามหมวดหมู่ ความเป็นมา บุญเสริม สาตราภัย อดีตล้านนาจากภาพถ่าย ผู้มีอุปการะคุณ เพิ่มรูปของคุณ ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
  
  สถานีตำรวจภูธร อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ อาคารแผนกทะเบียนยานพาหนะ ของกองกำกับการตำรวจภูธรกองเมืองเชียงใหม่ ถ่ายก่อนถูกรื้อเพื่อสร้างใหม่
กลับไปหน้าแสดงรายการภาพ  

คลิกที่รูปด้านบนเพื่อดูรูปขนาดใหญ่



เปรียบเทียบภาพถ่ายในปัจจุบัน
สถานีตำรวจภูธร อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ อาคารแผนกทะเบียนยานพาหนะ ของกองกำกับการตำรวจภูธรกองเมืองเชียงใหม่ ถ่ายก่อนถูกรื้อเพื่อสร้างใหม่
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ เชียงใหม่
สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองเชียงใหม่; สถานีตำรวจ
สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองเชียงใหม่; สถานีตำรวจ -- เชียงใหม่. อำเภอเมือง

������ ������สถานีตำรวจภูธรหรือที่คนเมืองเรียกว่าโรงพักกองเมือง ตั้งอยู่บนถนนราชดำเนิน ระหว่างวัดเจดีย์หลวงและวัดศรีเกิด ที่ตั้งของโรงพักกองเมืองเป็นที่ดินของเจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 8 (พ.ศ. 2444-2452) พระองค์ทรงบริจาคให้ทางราชการในสมัยที่เจ้าพระยาสุรสีห์วิศิษฐ์ศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) เป็นข้าหลวงมณฑลพายัพ(พ.ศ. 2446-2457) เข้าใจว่าโรงพักแห่งนี้สร้างในปีพ.ศ. 2447 อาคารสถานีตำรวจ ณ ที่แห่งนี้ได้รื้อและสร้างใหม่ถึงสามครั้ง อาคารที่เห็นทุกวันนี้เป็นอาคารหลังที่ 3
������ ������ฝั่งตรงข้ามทางทิศตะวันออกในบริเวณพื้นที่ด้านหลังวัดเจดีย์หลวง เป็นที่ตั้งของอาคารแผนกทะเบียนยานพาหนะ และบ้านพักตำรวจ ซึ่งต่อมารื้อสร้างเป็นอาคารแบบแฟลต ปัจจุบันทั้งสองส่วนนี้ถูกแบ่งออกจากกันด้วยถนนจ่าบ้าน มีเรื่องเล่ากันในหมู่ผู้คนละแวกนี้ว่า สมัยก่อนบริเวณบ้านพักตำรวจผีดุมาก ดังคำบอกเล่าของ พ.ต.ท. อนุ เนินหาด ที่กล่าวว่าได้เคยสนทนากับพระครูจิรานุวัฒนคุณ อายุ 76 พรรษา ทำให้ได้เกร็ดเกี่ยวกับผีดุมาเล่าสู่กันฟังว่า ...ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 สมัยนั้นที่วัดเจดีย์หลวงมีพระประมาณ 25 รูป เณรประมาณ 20 รูป กองทหารไทยที่มาพักที่วัดเจดีย์หลวง ไม่แน่ใจว่าเป็น ร.พัน 13 หรือ ร.พัน 15 นายทหารที่คุมกำลังมาพักที่วัดเจดีย์หลวงคือ ผู้กองเสงี่ยม มาพักที่กุฏิเจ้าแก้วนวรัฐ ด้านทิศใต้ของวิหารวัดโดยนอนด้านนอกห้อง ส่วนอาตมาจำวัดอยู่ด้านในห้อง ทหารรับใช้ชื่อ พลทหารลอย เวลากลางคืน ผู้กองเสงี่ยมมักมาชวนอาตมาไปเดินตรวจทหารไม่ให้หนีเที่ยว ส่วนทหารทำเพิงหลังคาใบตองโดยรอบเจดีย์หลวง แต่ละคืนจะจัดยามเฝ้าประตูด้านหลังวัดที่ไปออกทางโรงพักกองเมืองเพื่อไม่ให้ทหารหนีเที่ยว ด้านในวัดสมัยนั้นเป็นป่ากล้วยค่อนข้างรก คืนหนึ่งประมาณเกือบ 5 ทุ่ม ทหารยามวิ่งเลิ่กลั่กมายกมือตะเบ๊ะรายงานว่า ไม่ไหวแล้วครับ ถูกผีหลอกครับ ผู้กองเสงี่ยมโมโห สั่งให้เพิ่มยามเป็น 2 คน สักพักใหญ่ทหารยามทั้งสองวิ่งมาบอกว่าถูกผีหลอกอีก ผู้กองเสงี่ยมโมโหเดินนำหน้าพลทหารไปทางหลังวัด หลังเที่ยงคืนเล็กน้อยกลับมาบอกว่า ผีหลอกจริงๆ ห้อยขาลงมาจากห้องส้วม และเอามือจับศีรษะผู้กองเสงี่ยมเข้าด้วย การอยู่เวรยามจำต้องเลิกไปด้วยประการฉะนี้ ผีลักษณะเช่นนี้แสดงว่าดุจริง แม้นายทหารก็ไม่เว้น...

รายการอ้างอิง
บุญเสริม สาตราภัย และสังคีต จันทนะโพธิ. (2520). อดีตลานนา.
������ ������กรุงเทพฯ : เรืองศิลป์.
อนุ เนินหาด, พ.ต.ท.. (2548). ย่านถนนราชดำเนิน.
������ ������เชียงใหม่ : นพบุรีการพิมพ์. (สังคมเชียงใหม่ เล่ม 11).
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักหอสมุด
เชียงใหม่
ntic@lib.cmu.ac.th
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ
เชียงใหม่
itsc@itsc.cmu.ac.th
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , ผู้ให้ทุนสนับสนุน
อุษณีย์ ธงไชย, ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญประจำโครงการ
image/jpeg(.jpeg .jpe .jpg)
1 ภาพ; ขาวดำ; 8x10 นิ้ว
BS-CM-GB002
ท่านอาจจะบันทึกหรือพิมพ์รูปภาพเพื่อการวิจัยและการศึกษาค้นคว้า ถ้าท่านต้องการใช้สำหรับวัตถุประสงค์อื่น ท่านต้องติดต่อสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อขออนุญาตใช้
 
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
เว็บไซต์และฐานข้อมูลภาพล้านนาในอดีต โดย สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง

     
     
  Copyright © 2008 Northern Thai Information Center (NTIC), Chiang Mai University. All Rights Reserved.
239 Huay Kaew Rd., Mueang District , Chiang Mai, Thailand 50200
Tel. 0 5394 4514, 0 5394 4517
ntic@lib.cmu.ac.th
 
/* */