Find Picture of      By     
Thai Version English Version
หน้าแรก
       
 
ดูภาพตามหมวดหมู่ ความเป็นมา บุญเสริม สาตราภัย อดีตล้านนาจากภาพถ่าย ผู้มีอุปการะคุณ เพิ่มรูปของคุณ ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
  
  การทำบุญเมือง พิธีขึ้นท้าวทั้งสี่ เมื่อ พ.ศ. 2505
กลับไปหน้าแสดงรายการภาพ  

คลิกที่รูปด้านบนเพื่อดูรูปขนาดใหญ่



การทำบุญเมือง พิธีขึ้นท้าวทั้งสี่ เมื่อ พ.ศ. 2505
บุญเสริม สาตราภัย
การทำบุญเมือง; พิธีทำบุญเมือง; พิธีทำบุญเมืองเชียงใหม่; พิธีบูชาและสืบชะตาเมือง; พิธีขึ้นท้าวทั้งสี่
พิธีทางศาสนาและพิธีกรรม -- เชียงใหม่. อำเภอเมือง; สืบชาตา; พิธีขึ้นท้าวทั้งสี่

             ...เจ้าพญาสามประยาสามฝั่งแกน หื้อชุมนุมหมอโหรานักปราชญ์ทั้งหลาย... กล่าวว่าเคราะห์เมืองมีมากนัก... เราควรพร้อมกันปูชาชาตาเมือง ถัดนั้น ควรปูชา สรี เตชะ อายุเมือง แล้วปูชาอารักษ์เมืองชุแห่ง เป็นต้นว่า ปูชาเจ้าพญามังราย ถัดนั้นหื้อปูชาท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 และอินทธิราช(พระอินทร์) ... มหาเถรเจ้า สูตรมันตรัตนสูตรเมตตาอาสนาฏิยสูตร แล้วอยาดน้ำอุทิศบุญ หื้อแก่อารักษ์เทพยดาอันรักสาเมืองชุแห่ง...
             ข้อความด้านบนกล่าวถึง การทำพิธีบูชาและสืบชะตาเมืองในครั้งที่กองทัพฮ่อยกทัพเข้ามาตีเชียงใหม่และเชียงแสน เมื่อปีพ.ศ. 1945-46 การทำบุญเมืองเช่นนี้เป็นสิ่งที่ทำขึ้นทุกครั้งที่บ้านเมืองมีภัยร้าย เช่น เมื่อพ.ศ. 2368 ในสมัยพระเจ้ากาวิละ (พ.ศ. 2317-2325) ได้เกิดอาเพศ คางคกรวมกันเป็นหมู่เดินเข้าประตูช้างม่อย นกยางจิกตีกันที่แจ่งศรีภูมิ นกแร้งและกาบินร่อนวนอยู่กลางเวียง คนท้องเสียกันทั้งเมือง อาเพศดังกล่าวถือว่าเมืองกำลังมีเคราะห์ พระเจ้ากาวิละจึงโปรดให้บูชาอินทร อุบาทว์ และบูชาเคราะห์ของเมือง นิมนต์พระสงฆ์ 108 รูป กระทำพระปริตรมงคลสูตรทั่วเมือง 7 วัน
             จากการทำบุญเมืองทั้งสองครั้งที่กล่าวมาแล้วในข้างต้น อาจจะอธิบายได้ว่าการทำบุญเมืองหรือสืบชะตาเมือง เป็นกิจกรรมที่ทำขึ้นเพื่อไหว้ผีหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำเมือง เพื่อให้บ้านเมืองพ้นเคราะห์ ไม่ล่มสลาย และทำให้ผู้คนมีความสุขความเจริญ
             ในปัจจุบันเทศบาลเมืองเชียงใหม่จัดให้มีประเพณีทำบุญและสืบชะตาเมืองทุกปี ในช่วงประมาณเดือน 8 หรือเดือน 9 เหนือ หรือประมาณปลายเดือนพฤษภาคมและต้นเดือนมิถุนายน สถานที่ทำพิธีประกอบด้วยบริเวณกลางเมือง ประตูเมืองและแจ่งหรือมุมเมืองทุกแห่ง รวม 10 แห่ง ในการทำพิธีมีการบูชาท้าวจตุโลกบาล และผีหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำเมือง พร้อมกับนิมนต์พระสงฆ์ 108 รูป ร่วมทำพิธี
             จากพิธีทำบุญและสืบชะตาเมือง ทำให้เห็นว่าแนวความเชื่อเรื่องผีและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองมีความเข้มแข็งอยู่มาก เชื่อว่าผีและสิ่งศักดิ์สิทธิ์จะสิงสู่อยู่ทุกหนทุกแห่ง คอยดูแลปกป้องผู้คนให้อยู่กันอย่างปกติสุข ผีที่ใหญ่ที่สุด คือ เสื้อเมือง หรืออารักษ์เมือง หรือที่บางคนเรียกว่าผีเจ้านาย เป็นผีที่มีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์มากที่สุด คนเมืองเชื่อว่า ผีเจ้านายมาจากผู้ปกครององค์สำคัญที่สิ้นพระชนม์ไปแล้ว เช่นพระยามังรายปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์มังรายเป็นต้น บรรพบุรุษเหล่านี้ทำหน้าที่คุ้มครองบ้านเมือง ดูแลความสงบสุขและปกปักรักษาทุกๆ อย่างในเมือง ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์เลี้ยง ไร่นา ป่าเขา หรือลำน้ำ ผีเจ้านายองค์สูงสุดของเชียงใหม่ คือ เจ้าหลวงคำแดง ซึ่งสิงสถิตอยู่ ณ ดอยเชียงดาว แต่เวลาเซ่นหรือเลี้ยงจะทำกันที่หอตรงแจ่งศรีภูมิหรือมุมกำแพงเมืองเชียงใหม่ ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ

รายการอ้างอิง
มณี พยอมยงค์. (2533). ประเพณีสิบสองเดือน ล้านนาไทย.
             (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่: ส.ทรัพย์การพิมพ์.
สงวน โชติรัตน์. (2516). ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่.
             พระนคร: คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์
             สำนักนายกรัฐมนตรี.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักหอสมุด
เชียงใหม่
ntic@lib.cmu.ac.th
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ
เชียงใหม่
itsc@itsc.cmu.ac.th
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , ผู้ให้ทุนสนับสนุน
อุษณีย์ ธงไชย, ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญประจำโครงการ
2505
image/jpeg(.jpeg .jpe .jpg)
1 ภาพ; ขาวดำ; 8x10 นิ้ว
BS-CM-PC002
ท่านอาจจะบันทึกหรือพิมพ์รูปภาพเพื่อการวิจัยและการศึกษาค้นคว้า ถ้าท่านต้องการใช้สำหรับวัตถุประสงค์อื่น ท่านต้องติดต่อสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อขออนุญาตใช้
 
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
เว็บไซต์และฐานข้อมูลภาพล้านนาในอดีต โดย สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง

     
     
  Copyright © 2008 Northern Thai Information Center (NTIC), Chiang Mai University. All Rights Reserved.
239 Huay Kaew Rd., Mueang District , Chiang Mai, Thailand 50200
Tel. 0 5394 4514, 0 5394 4517
ntic@lib.cmu.ac.th
 
/* */