Find Picture of      By     
Thai Version English Version
หน้าแรก
       
 
ดูภาพตามหมวดหมู่ ความเป็นมา บุญเสริม สาตราภัย อดีตล้านนาจากภาพถ่าย ผู้มีอุปการะคุณ เพิ่มรูปของคุณ ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
  
  คลองแม่ข่า ถ่ายจากสะพานแม่ข่าใกล้โรงแรมเพรสซิเด้นท์ บริเวณถนนท้ายวัง เมื่อ พ.ศ. 2510
กลับไปหน้าแสดงรายการภาพ  

คลิกที่รูปด้านบนเพื่อดูรูปขนาดใหญ่



เปรียบเทียบภาพถ่ายในปัจจุบัน
คลองแม่ข่า ถ่ายจากสะพานแม่ข่าใกล้โรงแรมเพรสซิเด้นท์ บริเวณถนนท้ายวัง เมื่อ พ.ศ. 2510
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ เชียงใหม่
คลองแม่ข่า; คลอง
คลองแม่ข่า; คลอง-เชียงใหม่. อำเภอเมือง

             เมื่อแรกตั้งเมืองเชียงใหม่พระยามังรายโปรดให้เลือกพื้นบริเวณเชิงดอยสุเทพซึ่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยแหล่งน้ำที่สามารถใช้หล่อเลี้ยงชุมชนขนาดใหญ่ได้ เป็นทั้งเส้นทางคมนาคมและใช้สำหรับการเพาะปลูก แม่น้ำสายสำคัญคือ แม่น้ำปิงและแม่น้ำแม่ข่า
             แม่น้ำปิงเป็นแม่น้ำสายใหญ่ใช้เป็นเส้นทางคมนาคมระหว่างเมืองเชียงใหม่กับเมืองภายนอกคือเมืองในเขตตอนบนกับหัวเมืองท่าตอนล่างอยุธยาและกรุงเทพฯ ตามลำดับ
             แม่น้ำแม่ข่าเป็นแม่น้ำสายสำคัญที่ไหลหล่อเลี้ยงเมืองเชียงใหม่ เป็นแม่น้ำที่ให้ทั้งความอุดมสมบูรณ์ในการเพาะปลูกและเป็นเส้นทางคมนาคมสายหลักของผู้คนในเมืองเชียงใหม่ ดังจะเห็นได้จากเส้นทางการไหลของแม่น้ำสายนี้ที่ปรากฏอยู่ในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่... อยู่ที่นี่หัน (เห็น) น้ำตกแต่อุชุปัตตาดอยสุเทพ มาเป็นแม่น้ำไหลขึ้นไปหนเหนือ แล้วไหลดะไปหนวันออก แล้วไหลไปใต้ แล้วไหลไปวันตกเกี้ยวเวียงกุมกาม แม่น้ำนี้เป็นนครคุณเกี้ยวเมืองอันนี้ ...
             จากการสำรวจเส้นทางแม่น้ำแม่ข่า ในปี พ.ศ. 2520 และได้พูดคุยกับคนเก่าแก่ที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมฝั่งแม่น้ำทำให้ทราบว่าเมื่อย้อนหลังไปสัก 100 ปี แม่น้ำแม่ข่ายังเป็นแม่น้ำที่ใสสะอาด ชาวบ้านได้อาศัยแม่น้ำสายนี้ในการใช้ซักล้างและเป็นเส้นทางคมนาคมภายในเมืองได้เป็นอย่างดี
             จากการเติบโตของเมืองเชียงใหม่ทำให้มีผู้คนเข้ามาตั้งถิ่นฐานทำมาหากินมากขึ้น ส่วนหนึ่งเข้าไปตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณริมคลองแม่ข่า เป็นบ้านเรือนอยู่อาศัยบ้าง เป็นร้านค้าบ้าง และเป็นโรงงานขนาดเล็กบ้าง เมื่อมีระบบน้ำประปาและการใช้รถแทนเรือ ซึ่งถือกันว่าเป็นการพัฒนาที่ทันสมัยแต่เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คลองแม่ข่าหมดประโยชน์ในฐานะเป็นแม่น้ำสายหลักของคนในเชียงใหม่อีกต่อไป แต่กลับมีประโยชน์ในการเป็นแหล่งถ่ายเทของเสีย จนทำให้ปัจจุบันแม่น้ำสายนี้เน่าเสียจนยากฟื้นคืน นอกจากนั้นยังมีการก่อซีเมนต์ปิดทับทั้งสองฝั่งจนแม่น้ำกลายสภาพเป็นคูน้ำแห่งหนึ่ง ไม่เหลือร่องรอยการเป็นสายน้ำสายชีวิตของคนเชียงใหม่อีกเลย
รายการอ้างอิง
สงวน โชติสุขรัตน์. (2516). ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. พระนคร:
             คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักหอสมุด
เชียงใหม่
ntic@lib.cmu.ac.th
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ
เชียงใหม่
itsc@itsc.cmu.ac.th
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , ผู้ให้ทุนสนับสนุน
อุษณีย์ ธงไชย, ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญประจำโครงการ
2510
image/jpeg(.jpeg .jpe .jpg)
1 ภาพ; ขาวดำ; 8x10 นิ้ว
BS-CM-CN001
ท่านอาจจะบันทึกหรือพิมพ์รูปภาพเพื่อการวิจัยและการศึกษาค้นคว้า ถ้าท่านต้องการใช้สำหรับวัตถุประสงค์อื่น ท่านต้องติดต่อสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อขออนุญาตใช้
 
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
เว็บไซต์และฐานข้อมูลภาพล้านนาในอดีต โดย สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง

     
     
  Copyright © 2008 Northern Thai Information Center (NTIC), Chiang Mai University. All Rights Reserved.
239 Huay Kaew Rd., Mueang District , Chiang Mai, Thailand 50200
Tel. 0 5394 4514, 0 5394 4517
ntic@lib.cmu.ac.th
 
/* */