Find Picture of      By     
Thai Version English Version
หน้าแรก
       
 
ดูภาพตามหมวดหมู่ ความเป็นมา บุญเสริม สาตราภัย อดีตล้านนาจากภาพถ่าย ผู้มีอุปการะคุณ เพิ่มรูปของคุณ ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
  
  ย่านวัดเกต : ชุมชนพ่อค้าจีนจากกรุงเทพฯ ในยุคการค้าทางเรือ (เรือหางแมงป่อง) เมื่อ 100 ปีมาแล้ว ถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2535
กลับไปหน้าแสดงรายการภาพ  

คลิกที่รูปด้านบนเพื่อดูรูปขนาดใหญ่



ย่านวัดเกต : ชุมชนพ่อค้าจีนจากกรุงเทพฯ ในยุคการค้าทางเรือ (เรือหางแมงป่อง) เมื่อ 100 ปีมาแล้ว ถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2535
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ เชียงใหม่
ย่านวัดเกต; วัดเกต; การค้าทางเรือ; เรือหางแมงป่อง; พ่อค้าจีน; พ่อค้าชาวจีน; ย่านการค้า
วัดเกต; การค้าขาย; เชียงใหม่-การค้า

������ ������มีหลักฐานว่าชุมชนวัดเกตตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ที่นี่อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปลายสมัยการปกครองของพม่า (หรืออาจจะก่อนหน้านั้น) เนื่องจากมีการกล่าวถึงการใช้ท่าเรือวัดเกตมาตั้งแต่ช่วงเวลาดังกล่าวต่อเนื่องมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เช่น เมื่อพระเจ้ากาวิละ (พ.ศ. 2317-2325)เสด็จกลับจากการเดินทางไปเข้าเฝ้ารัชกาลที่ 1 ที่กรุงเทพฯ พระองค์เสด็จมาขึ้นที่ท่าวัดเกต
������ ������ย่านนี้เริ่มมีความคึกคักมากมาตั้งแต่ช่วงปลายรัชกาลที่ 3- ต้นรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา เมื่อการค้าทางเรือระหว่างเชียงใหม่และกรุงเทพฯ เติบโตมากขึ้น ท่าวัดเกตกลายเป็นท่าเทียบเรือสำคัญของเรือสินค้าจากที่ต่างๆ จนส่งผลให้ย่านวัดเกตกลายเป็นแหล่งพำนักของพ่อค้าหลากหลายเชื้อชาติ เช่นชาวอังกฤษเข้ามาตั้งบริษัทบอร์เนียวค้าไม้สัก กลุ่มหมอสอนศาสนาเข้ามาตั้งโรงพยาบาลแมคคอมิค โรงเรียนปรินส์รอแยลวิทยาลัย และโรงเรียนดาราวิทยาลัย ชาวจีนเปิดร้านค้าขาย เช่น ร้านกวงเอี้ย ของนายเซ่งโอก แซ่นิ้ม ขายผ้าฝ้าย ร้านค้าส่งของแปะอุย และร้านของจีนอุ๊ที่ขายสินค้าจากกรุงเทพฯ เช่น ผ้า ปลาทูเค็ม และน้ำมันปี๊บเป็นต้น ในขณะที่คนเมืองส่วนหนึ่งยังทำไร่ทำนาอยู่ ศรัทธาย่านวัดเกตเล่าให้ฟังว่า ด้านหลังวัดเกตเคยเป็นที่นา เพิ่งจะมาเลิกทำในปี พ.ศ.2504 ซึ่งสอดคล้องกับคำบอกเล่าของลุงแจ็ค (จรินทร์ เบน) ซึ่งในขณะนี้มีอายุ 80 ปีแล้ว เล่าว่าเขามีที่ดินอยู่หลังวัดเกตให้ชาวบ้านเช่าทำนา แบ่งข้าวคนละครึ่ง (ทำนาแบบผ่ากึ่ง)
������ ������ความเจริญรุ่งเรืองย่านวัดเกตยังคงปรากฏหลักฐานให้เห็นจนทุกวันนี้ จากอาคารที่เคยเป็นที่อยู่อาศัยและบริษัทห้างร้านของชุมชนชาติต่างๆ ทุกวันนี้หากเราเดินเข้าไปในย่านนี้ เราจะพบศาสนสถานทั้งของชาวพุทธ ชาวคริสต์ อิสลาม และชาวซิกข์ พบบ้านเรือนที่ยังคงรูปแบบของสถาปัตยกรรมที่อายุร่วม 100 ปี ทั้งบ้านเรือนที่ทำด้วยไม้สักอย่างดีและอาคารก่ออิฐถือปูน บางแห่งถูกนำมาดัดแปลงเป็นร้านอาหาร เช่น เดอะ แกลเลอรี่ เป็นอาคารที่สร้างโดยชาวจีน ปัจจุบันด้านหน้าเปิดเป็นแกลเลอรี่แสดงภาพเขียน และด้านหลังเป็นร้านอาหาร
������ ������ด้วยความเป็นย่านเก่าและความสำนึกในการอนุรักษ์ชุมชนทำให้ชาวบ้านวัดเกตนำโดยลุงแจ็คร่วมมือกันตั้งพิพิธภัณฑ์วัดเกตการามในบริเวณวัดเกต ของที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ล้วนเป็นของในชุมชนที่ตกทอดจากบรรพบุรุษมาสู่ลูกหลาน เช่น เครื่องเขิน เครื่องแก้วเจียระไน เครื่องปั้นดินเผาจีนและของพื้นเมือง เป็นต้น
������ ������อย่างไรก็ตาม ความน่าสนใจของย่านวัดเกตมิได้อยู่เฉพาะที่ตัวพิพิธภัณฑ์เท่านั้น สิ่งที่อยู่ในชุมชนไม่ว่าจะเป็นสิ่งก่อสร้าง ประเพณีวัฒนธรรม และอาหารการกิน สิ่งเหล่านี้คือภาพสะท้อนของความเป็นย่านวัดเกตที่มีความเจริญและความมั่งคั่ง ซึ่งมิได้หมายถึงเพียงความมั่งคั่งทางด้านทรัพย์สินเท่านั้น แต่ยังเป็นความมั่งคั่งทางด้านภูมิปัญญาของชุมชนอีกด้วย

รายการอ้างอิง
อนุ เนินหาด, พ.ต.ท. (2544). สังคมเมืองเชียงใหม่ "รุ่น 3".
������ ������เชียงใหม่: นพบุรีการพิมพ์.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักหอสมุด
เชียงใหม่
ntic@lib.cmu.ac.th
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ
เชียงใหม่
itsc@itsc.cmu.ac.th
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , ผู้ให้ทุนสนับสนุน
อุษณีย์ ธงไชย, ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญประจำโครงการ
2535
image/jpeg(.jpeg .jpe .jpg)
1 ภาพ; ขาวดำ; 8x10 นิ้ว
BS-CM-KA006
ท่านอาจจะบันทึกหรือพิมพ์รูปภาพเพื่อการวิจัยและการศึกษาค้นคว้า ถ้าท่านต้องการใช้สำหรับวัตถุประสงค์อื่น ท่านต้องติดต่อสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อขออนุญาตใช้
 
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
เว็บไซต์และฐานข้อมูลภาพล้านนาในอดีต โดย สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง

     
     
  Copyright © 2008 Northern Thai Information Center (NTIC), Chiang Mai University. All Rights Reserved.
239 Huay Kaew Rd., Mueang District , Chiang Mai, Thailand 50200
Tel. 0 5394 4514, 0 5394 4517
ntic@lib.cmu.ac.th
 
/* */