Find Picture of      By     
Thai Version English Version
หน้าแรก
       
 
ดูภาพตามหมวดหมู่ ความเป็นมา บุญเสริม สาตราภัย อดีตล้านนาจากภาพถ่าย ผู้มีอุปการะคุณ เพิ่มรูปของคุณ ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
  
  ขบวนเกวียนรุ่นสุดท้ายบนถนนช้างม่อย ในเมืองเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2510
กลับไปหน้าแสดงรายการภาพ  

คลิกที่รูปด้านบนเพื่อดูรูปขนาดใหญ่



เปรียบเทียบภาพถ่ายในปัจจุบัน
ขบวนเกวียนรุ่นสุดท้ายบนถนนช้างม่อย ในเมืองเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2510
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ เชียงใหม่
ขบวนเกวียน; เกวียน; วัวล้อ; ถนนช้างม่อย; วัดหนองคำ
เกวียน; การขนส่ง-เชียงใหม่; ถนนช้างม่อย; ถนน-เชียงใหม่. อำเภอเมือง

            ขบวนเกวียน : การคมนาคมขนส่งยุคก่อนทางรถยนต์

            ในระบบการผลิตแบบเกษตร วัวเป็นสัตว์ที่มีคุณประโยชน์มากทั้งทำนาและขนส่ง ก่อนมีรถยนต์และจักรยานยนต์ ชาวนาในภาคเหนือใช้วัวในระบบการขนส่ง 2 รูปแบบ คือ วัวต่าง และวัวล้อ (ขบวนเกวียน) วัวล้อ หมายถึงการใช้วัวเทียมเกวียนบรรทุกสิ่งของไปค้าขายยังที่ต่างๆ เป็นพาหนะที่ใช้ทั้งในชนบทและในเมือง โดยเฉพาะในสมัยการค้าทางเรือและทางรถไฟ วัวล้อเป็นพาหนะสำคัญในการขนส่งสินค้าจากชนบทมายังท่าเรือและสถานีรถไฟตามลำดับ จากคำบอกเล่าของพ่อค้าจีนที่เข้ามาทำการค้าทางรถไฟเล่าว่า ในยุคแรกๆ พวกเขาจะเดินทางไปซื้อพืชผลทางการเกษตร เช่น ข้าว ถั่วและกระเทียม ในเขตอำเภอรอบนอก และว่าจ้างให้วัวล้อบรรทุกเข้ามาไว้ที่โกดังแถวสถานีรถไฟ เพื่อรอส่งต่อไปขายที่กรุงเทพฯ
            จากการสัมภาษณ์ชาวบ้านในเขตอำเภอสันทราย เล่าว่า เมื่อได้ผลผลิตชาวนาที่เช่านาจากเจ้าของนาที่อยู่ในเมือง (ทำนาแบบผ่ากึ่ง) จะนำข้าวเปลือกใส่วัวล้อมาส่งให้เจ้าของนาในเมือง เกวียน 1 เล่ม บรรทุกข้าวได้ประมาณ 40-50 ถัง ค่าบรรทุกถังละ 1 บาท ค่าวัวล้อนี้เจ้าของนาจะเป็นผู้จ่าย ใช้เวลาเดินทางขามา 6 ชั่วโมง ขากลับ 4 ชั่วโมง เดินทางออกจากบ้านประมาณเที่ยงคืนมาถึงเชียงใหม่ช่วงเช้ามืด ขากลับก็ซื้อของจากในเมืองกลับไปขายในหมู่บ้านตน
            การขนส่งภายในเมือง วัวล้อทำหน้าที่ขนส่งสินค้าจากท่าเรือและสถานีรถไฟไปส่งขายยังพื้นที่ต่างๆ ทั้งกาดในเมืองและชนบท เถ้าแก่ชิวจั้วซึ่งเปิดร้านขายของอยู่ที่ตลาดประตูเชียงใหม่ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เล่าไว้ในหนังสือสังคมเมืองเชียงใหม่ เล่ม 5 ว่า ซื้อน้ำปลาจาก เอเยนต์แถวสันป่าข่อย แล้วจ้างล้อเกวียนขนมาที่ประตูเชียงใหม่ เวลานั้นทั้งสองข้างทางถนนเจริญเมืองมีล้อเกวียนจอดรอรับจ้างขนของอยู่มาก
            ในช่วงทศวรรษที่ 2510 ได้มีการสร้างถนนและนำรถยนต์กับจักรยานยนต์มาใช้ในการขนส่ง ทำให้วัวล้อค่อยๆ หมดบทบาทลง เพราะการขนส่งโดยรถ เร็วกว่าและบรรทุกของได้มากกว่า ในช่วงเวลานั้นมีคนจีนเริ่มทำกิจการนำรถบรรทุกเข้ามาขายและนำรถบรรทุกไปวิ่งเป็นรถรับจ้างภายในเมืองและระหว่างเมืองกับเขตอำเภอรอบนอก ชาวบ้านเรียกรถแบบนี้ว่ารถคอกหมู และในช่วงเวลาเดียวกันนี้ทางราชการห้ามอย่างเด็ดขาดไม่ให้วัวล้อเข้าไปในเขตเทศบาลด้านในคือ ห้ามข้ามสะพานเข้าไปทางฝั่งท่าแพ เพราะวัวถ่ายมูลลงบนถนนทำให้สกปรกและเกะกะถนน วัวล้อจึงหายไปจากตัวเมืองเชียงใหม่
            ในหมู่บ้าน วัวล้อก็ค่อยๆหมดบทบาทลงเช่นกัน เพราะชาวบ้านหันมาใช้ควายเหล็กในการทำนา และใช้จักรยานยนต์ในการเดินทางและขนส่งมากขึ้น ชูสิทธิ์ ชูชาติ กล่าวว่า จากพ.ศ. 2519-2528 มีรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนในเชียงใหม่เพิ่มจำนวนมากขึ้นถึง 66,183 คัน ประจักษ์พยานที่สำคัญคือ กาดวัว ซึ่งเคยเป็นแหล่งซื้อขายวัว แทบจะกลายเป็นกาดซื้อขายจักรยานยนต์มือสองไปเลยทีเดียว แต่อย่างไรก็ตามในหมู่บ้านบางแห่งยังมีการใช้วัวล้ออยู่ เช่น หมู่บ้านแม่ทา จังหวัดลำพูน เป็นต้น

รายการอ้างอิง

ชูสิทธิ์ ชูชาติ. (2538).  กาดงัว” (ตลาดวัว) : มิติหนึ่งของการสะท้อนความเปลี่ยนแปลง
            วิถีชีวิตของสังคมชาวนาในภาคเหนือของประเทศไทย. [ม.ป.ท. : ม.ป.พ.]
อนุ เนินหาด, พ.ต.ท. (2546). สังคมเมืองเชียงใหม่ เล่ม 5. เชียงใหม่: นพบุรีการพิมพ์.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักหอสมุด
เชียงใหม่
ntic@lib.cmu.ac.th
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ
เชียงใหม่
itsc@itsc.cmu.ac.th
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , ผู้ให้ทุนสนับสนุน
อุษณีย์ ธงไชย, ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญประจำโครงการ
2510
image/jpeg(.jpeg .jpe .jpg)
1 ภาพ; ขาวดำ; 8x10 นิ้ว
BS-CM-CT001
ท่านอาจจะบันทึกหรือพิมพ์รูปภาพเพื่อการวิจัยและการศึกษาค้นคว้า ถ้าท่านต้องการใช้สำหรับวัตถุประสงค์อื่น ท่านต้องติดต่อสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อขออนุญาตใช้
 
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
เว็บไซต์และฐานข้อมูลภาพล้านนาในอดีต โดย สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง

     
     
  Copyright © 2008 Northern Thai Information Center (NTIC), Chiang Mai University. All Rights Reserved.
239 Huay Kaew Rd., Mueang District , Chiang Mai, Thailand 50200
Tel. 0 5394 4514, 0 5394 4517
ntic@lib.cmu.ac.th
 
/* */