Find Picture of      By     
Thai Version English Version
หน้าแรก
       
 
ดูภาพตามหมวดหมู่ ความเป็นมา บุญเสริม สาตราภัย อดีตล้านนาจากภาพถ่าย ผู้มีอุปการะคุณ เพิ่มรูปของคุณ ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
  
  ห้องสมุดกลาง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กลับไปหน้าแสดงรายการภาพ  

คลิกที่รูปด้านบนเพื่อดูรูปขนาดใหญ่



ห้องสมุดกลาง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ เชียงใหม่
ห้องสมุดกลาง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
-

จากกองห้องสมุด มาเป็น สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

������������ฯพณฯ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้นิพนธ์ในช่วงการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเชียงให่ไว้ว่า “... ตึกหอสมุดกลางนั้นจำเป็นอย่างยิ่ง และจะต้องให้ใหญ่มากพอควร เพราะมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาคไม่สามารถพึ่งหอสมุดนอกมหาวิทยาลัยได้เช่นในพระนครและธนบุรี หอสมุดกลางนี้จำเป็นจะต้องอยู่ตรงกลางบริเวณมหาวิทยาลัย มีถนนไปได้หลายทาง เพื่อให้นิสิตที่อยู่โดยรอบมาได้สะดวก...” (ม.ล.ปิ่น มาลากุล, ๒๕๐๕, ๑๘-๑๙) สะท้อนวิสัยทัศน์ที่ยาวไกลของท่านในการกำหนดที่ตั้งอาคารห้องสมุด และยังได้กำหนดให้ห้องสมุดอยู่ในแผนงานการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ตั้งแต่เริ่มแรก ดังนั้นวันที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เปิดดำเนินการจึงเป็นวันเปิดให้บริการห้องสมุดด้วยเช่นกัน นั่นคือวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๐๗ ซึ่งในขณะนั้นใช้อาคารเรียนตึกเคมีห้อง ๒๑๓ ๓๑๑ และ ๓๑๒ พื้นที่ ๓๗๕ ตารางเมตร คณะวิทยาศาสตร์ เป็นห้องสมุดชั่วคราว

������������ต่อมาได้ย้ายมาอยู่อาคารเอกเทศ เมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม พ. ศ. ๒๕๑๑ ใช้ชื่อว่า “ ห้องสมุดกลาง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่” ตั้งอยู่ระหว่างคณะสังคมศาสตร์และสโมสรนักศึกษาเดิม เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียว พื้นที่ ๓,๖๘๔ ตารางเมตร ลักษณะอาคารเป็นรูปแปดเหลี่ยม ๔ รูป ติดต่อเรียกว่า รูปไฮเปอร์โบลิค พาราโบลอยด์ (Hyperbolic Paraboloid) ตัวอาคารมีกระจกทึบทุกด้าน ภายในติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ขณะนั้นมหาวิทยาลัยเชียงใหมีกาเรียนการสอน ๕๑ สาขาวิชา มีอาจารย์ ๓๕๐ คน และนักศึกษา ๓,๒๘๑ คน

������������การบริหารงานห้องสมุดในระยะแรกมีฐานะเป็นกองห้องสมุด สังกัดสำนักงานอธิการบดี หัวหน้ากองห้องสมุดคนแรกคือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิไล ปานพลอย การบริหารงานในขณะนั้น นอกจากงานที่เกี่ยวข้องกับห้องสมุดแล้ว ยังมีภาระงานอื่นอีก เช่น งานสอนการใช้ห้องสมุดให้กับนักศึกษา ๒ คณะ คือ คณะมนุษยศาสตร์ และคณะศึกษาศาสตร์ งานประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัย ทำหน้าที่จัดทำข่าว มช.ปริทรรศน์ ตัดข่าวกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเสนออธิการบดี ต้อนรับอาคันตุกะที่มาเยี่ยมชมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รวมทั้งเป็นศูนย์รับโทรศัพท์ของมหาวิทยาลัยอีกด้วย การทำงานในช่วงเวลานี้นับเป็นยุคบุกเบิกงานห้องสมุด และงานประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัย

������������เมื่อเวลาผ่านไป มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เติบโตอย่างรวดเร็ว อาคารห้องสมุดเริ่มคับแคบลง ห้องสมุดจำเป็นต้องพัฒนาตนเองเพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าทางวิชาการของมหาวิทยาลัยและชุมชนในภาคเหนือ ดังนั้นหัวหน้ากองห้องสมุดในขณะนั้น คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภาพ สุจินดา ได้เสนอโครงการผลักดันให้ยกฐานะห้องสมุกกลาง กองห้องสมุด เป็น สำนักหอสมุด ในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ จึงได้รับอนุมัติให้สร้างอาคารหลังใหม่สูง ๕ ชั้น มีพื้นที่ ๘,๔๓๐ ตารางเมตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้กราบบังคมทูลเชิญ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานในพิธีเปิดอาคารสำนักหอสมุดในวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๓ นับได้ว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภาพ สุจินดา เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงระบบบริหารงานของสำนักหอสมุดและการได้มาซึ่งอาคารหลังใหม่ รวมทั้งยังเป็นบุคคลแรกที่ได้ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักหอสมุดอีกด้วย

������������ที่ประชุมอธิการบดีครั้งที่ ๕๓/๒๕๑๙ เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ ได้มีมติให้สำนักหอสมุดจัดระบบการบริหารงานแบบศูนย์รวม (Centralization) โดยรวมงานบริหารห้องสมุดส่วนกลางและห้องสมุดคณะไว้ด้วยกัน และให้โอนบุคลากรมารวมไว้ที่สำนักหอสมุด แต่ข้อกำหนดในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๕๑๒ ยังมิได้ระบุให้มีการแบ่งส่วนราชการภายในสำนักหอสมุด จึงไม่สามารถรวมบุคลากรมาไว้ที่ส่วนกลางได้ จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๕๓๓ ในช่วงสมัยของ อาจารย์ ดร. ม.ร.ว.รุจยา อาภากร เป็นผู้อำนวยการสำนักหอสมุดได้รับอนุมัติให้แบ่งส่วนราชการเป็น เป็น ๖ ฝ่าย ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๐๗ ตอนที่ ๑๖๗ วันที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๓ จึงสามารถโอนบุคลากรมารวมที่ส่วนกลางได้

������������ต่อมาใน ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ อาคารห้องสมุดกลางเริ่มคับแคบลงอีก มีผู้เข้าใช้ห้องสมุดเฉลี่ยวันละประมาณ ๓,๐๐๐ คน และสำนักหอสมุดมีนโยบายขยายรูปแบบการให้บริการที่ทันสมัยโดยมีเป้าหมายพัฒนาเป็นห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (e-Library) จึงต่อเติมขยายพื้นที่อีก ๖,๙๔๔ ตารางเมตร และได้เปิดให้บริการในส่วนที่ต่อเติมใหม่ในวันที่ ๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๔ ปัจจุบันจึงมีพื้นที่รวมทั้งสิ้น ๑๕,๗๖๘ ตารางเมตร มีที่นั่งอ่านประมาณ ๑,๕๗๗ ที่นั่ง ทำหน้าที่เป็นแหล่งสารสนเทศที่ดีที่สุดของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และชุมชนในภาคเหนือ

������������ในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้เปลี่ยนสถานะเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับ สำนักหอสมุดจึงมีการแบ่งหน่วยงานใหม่ ตามประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง การแบ่งหน่วยงานภายในส่วนงานวิชาการและส่วนงานอื่น (ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ แบ่งส่วนราชการเป็น ๖ ฝ่าย ส่วนการบริหารงานได้ดำเนินการตามแผนพัฒนาการศึกษาสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระยะที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๕๕๐-๒๕๕๔) และแนวทางการพัฒนาสำนักหอสมุด โดยมีเป้าหมายการดำเนินงาน ๗ ด้าน คือ การบริการเป็นเลิศ (Best practice) ห้องสมุดเพื่อการวิจัย (Research Library) ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ (Resources Center) ศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Learning Center) องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ห้องสมุดที่มีชีวิต (Living Library) และบุคลากรมีคุณภาพและมีความสุข (Happy Staff) ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนการเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำ และมหาวิทยาลัยแห่งความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMU: University of Excellence) ต่อไป

รายการอ้างอิง
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สำนักหอสมุด. (๒๕๕๔). ๔๗ ปี แห่งความมุ่งมั่นพัฒนา
������������บริการที่เป็นเลิศ วันสถาปนาสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
.
������������เชียงใหม่: มหาวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักหอสมุด
เชียงใหม่
ntic@lib.cmu.ac.th
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ
เชียงใหม่
itsc@itsc.cmu.ac.th
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ผู้ให้ทุนสนับสนุน
-
image/jpeg(.jpeg .jpe .jpg)
1 ภาพ; ขาวดำ; 8x10 นิ้ว
CMU-CM-CMU096
© มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ท่านอาจจะบันทึกหรือพิมพ์รูปภาพเพื่อการวิจัยและการศึกษาค้นคว้า ถ้าท่านต้องการใช้สำหรับวัตถุประสงค์อื่น ท่านต้องติดต่อสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อขออนุญาตใช้
 
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
เว็บไซต์และฐานข้อมูลภาพล้านนาในอดีต โดย สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง

     
     
  Copyright © 2008 Northern Thai Information Center (NTIC), Chiang Mai University. All Rights Reserved.
239 Huay Kaew Rd., Mueang District , Chiang Mai, Thailand 50200
Tel. 0 5394 4514, 0 5394 4517
ntic@lib.cmu.ac.th
 
/* */