Find Picture of      By     
Thai Version English Version
หน้าแรก
       
 
ดูภาพตามหมวดหมู่ ความเป็นมา บุญเสริม สาตราภัย อดีตล้านนาจากภาพถ่าย ผู้มีอุปการะคุณ เพิ่มรูปของคุณ ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
  
  นายสุนทร หงส์ลดารมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการและอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ยืนกลาง) ในพิธีเปิดสะพานนวรัฐ เมื่อพ.ศ. 2510
กลับไปหน้าแสดงรายการภาพ  

คลิกที่รูปด้านบนเพื่อดูรูปขนาดใหญ่



นายสุนทร หงส์ลดารมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการและอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ยืนกลาง) ในพิธีเปิดสะพานนวรัฐ เมื่อพ.ศ. 2510
บุญเสริม สาตราภัย
สะพานนวรัฐ; พิธีเปิดสะพานนวรัฐ; สุนทร หงส์ลดารมย์
สะพานนวรัฐ; สะพาน--เชียงใหม่

             สะพานนวรัฐเป็นสะพานข้ามแม่น้ำปิงแห่งที่ 2 ของเมืองเชียงใหม่ เป็นสะพานที่สร้างเชื่อมถนนเจริญเมืองจากสถานีรถไฟกับถนนท่าแพซึ่งเป็นถนนสายเศรษฐกิจหลักในช่วงนั้น ก่อนหน้านี้ชาวบ้านเดินทางไปมาระหว่างสองฝั่งโดยใช้เรือข้ามฟาก หรือใช้ขัวกุลาซึ่งสร้างเชื่อมระหว่างฝั่งวัดเกตการามกับกาดต้นลำไย
             สะพานแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อการตั้งถิ่นฐานทำมาหากินของผู้คนทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิงมีมากขึ้น การเดินทางและการขนถ่ายสินค้าระหว่างสองฝั่งแม่น้ำเพิ่มความถี่ในแต่ละวันมากขึ้น ทำให้การเดินทางโดยใช้ขัวกุลาเพียงแห่งเดียวดูจะไม่เพียงพอ จึงได้มีการสร้างสะพานนวรัฐขึ้นมาอีกแห่ง และเมื่อสะพานนวรัฐสร้างเสร็จชาวบ้านเรียกว่าขัวใหม่ เรียกขัวกุลาว่าขัวเก่า
              เมื่อสะพานนวรัฐสร้างเสร็จทำให้การเดินทางและการขนส่งสินค้าจากฝั่งตะวันออกสู่ฝั่งตะวันตกสะดวกสบายมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงที่รถไฟมาถึงเชียงใหม่แล้ว สินค้าที่ส่งขายไปมาระหว่างกรุงเทพฯ และเชียงใหม่ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าการเกษตรจากเชียงใหม่ที่ส่งลงไปขายที่กรุงเทพฯ หรือสินค้าที่ส่งขึ้นมาจากกรุงเทพฯ เช่น เครื่องจักรที่ใช้ในโรงงาน และยวดยานพาหนะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน สินค้าเหล่านี้ล้วนต้องการพื้นที่และความสะดวกรวดเร็วในการขนส่งแทบทั้งสิ้น รวมถึงกลุ่มคนจีนจำนวนมากที่หลั่งไหลจากกรุงเทพฯ โดยทางรถไฟ ขึ้นมาตั้งถิ่นฐานทำมาหากินอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ในเชียงใหม่ เช่น กาดหลวง กาดลำไย และถนนท่าแพ
             บริเวณพื้นที่ตั้งของสะพานนวรัฐนี้ได้มีการรื้อและสร้างสะพานใหม่มาแล้วถึง 3 ครั้ง สะพานแรกสร้างในปี พ.ศ. 2453 โดยช่างชาวอิตาลี เป็นสะพานไม้สักหลังคาโค้ง ต่อมาในปี พ.ศ. 2464 ได้รื้อสะพานไม้สักลง เนื่องจากสะพานเก่าคับแคบและผุพัง สร้างสะพานใหม่เป็นสะพานเหล็ก หลังคาโค้ง ตอม่อทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ชาวบ้านเรียกว่า ขัวเหล็ก สะพานใหม่นี้มีชื่อเป็นทางการว่า ‘สะพานนวรัฐ’ เพื่อเป็นเกียรติแก่เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองเชียงใหม่ (พ.ศ. 2454-2482) ในขณะนั้น
             มีเรื่องเล่าว่าในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางราชการได้ใช้ทางมะพร้าวพรางสะพานไม่ให้ฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิด แต่ชาวบ้านเชื่อว่าพรางไม่ได้ เพราะตัวสะพานมีรูโบ๋จากรอยกระสุนของนักบินอเมริกันที่บินโฉบลงมายิงปืนกลเข้าใส่สะพาน
             ในเวลาต่อมาเมื่อมียวดยานพาหนะมากขึ้น ทำให้การจราจรบนสะพานติดขัดมาก จนต้องมีการตั้งถังน้ำมันบรรจุทรายให้จราจรขึ้นไปยืนถือป้าย  ไป” และ  หยุด” เพื่อจัดระเบียบการเดินรถบนสะพาน ประกอบกับสะพานเหล็กเริ่มผุ ฉะนั้นในปี พ.ศ. 2509 จึงรื้อสะพานเหล็กออกและสร้างเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กดังที่เห็นในปัจจุบัน ในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2510 จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้เดินทางมาทำพิธีเปิดสะพานนวรัฐพร้อมกับสะพานเม็งรายอนุสรณ์ในคราวเดียวกัน

รายการอ้างอิง
ปลายอ้อ ชนะนนท์. (2529). บทบาทนายทุนพ่อค้าที่มีต่อการก่อ
             และขยายตัวของทุนนิยมภาคเหนือของประเทศไทย
             พ.ศ.2464-2523. วิทยานิพนธ์หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
             จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญเสริม สาตราภัย. (2546). เชียงใหม่กับภัยทางอากาศ. กรุงเทพฯ:
             สายธาร.
บุญเสริม สาตราภัย. (2522). ลานนาไทยในอดีต.
             เชียงใหม่: ช้างเผือกการพิมพ์.
บุญเสริม สาตราภัย. (2550). ล้านนา...เมื่อตะวา.
             เชียงใหม่: Bookworm.
บุญเสริม สาตราภัย และสังคีต จันทนะโพธิ. (2520). อดีตลานนา.
             กรุงเทพฯ: เรืองศิลป์.
อนุ เนินหาด, พ.ต.ท. (2543). เชียงใหม่สะปะเรื่องตะวา.
             เชียงใหม่: นพบุรีการพิมพ์.
อนุ เนินหาด, พ.ต.ท. (2548). ย่านถนนราชดำเนิน.
             เชียงใหม่: นพบุรีการพิมพ์. (สังคมเชียงใหม่ เล่ม 11).
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักหอสมุด
เชียงใหม่
ntic@lib.cmu.ac.th
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ
เชียงใหม่
itsc@itsc.cmu.ac.th
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , ผู้ให้ทุนสนับสนุน
อุษณีย์ ธงไชย, ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญประจำโครงการ
2510
image/jpeg(.jpeg .jpe .jpg)
1 ภาพ; ขาวดำ; 8x10 นิ้ว
BS-CM-BR025
©บุญเสริม สาตราภัย
ท่านอาจจะบันทึกหรือพิมพ์รูปภาพเพื่อการวิจัยและการศึกษาค้นคว้า ถ้าท่านต้องการใช้สำหรับวัตถุประสงค์อื่น ท่านต้องติดต่อสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อขออนุญาตใช้
 
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
เว็บไซต์และฐานข้อมูลภาพล้านนาในอดีต โดย สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง

     
     
  Copyright © 2008 Northern Thai Information Center (NTIC), Chiang Mai University. All Rights Reserved.
239 Huay Kaew Rd., Mueang District , Chiang Mai, Thailand 50200
Tel. 0 5394 4514, 0 5394 4517
ntic@lib.cmu.ac.th
 
/* */