|
บริเวณถนนลอยเคราะห์ตัดกับถนนเจริญประเทศ บริเวณที่คนขี่จักรยานยนต์ และรถยนต์จอดอยู่คือสี่แยกโรงแรมสุริวงศ์ เมื่อพ.ศ. 2530 |
|
|
|
|
|
|
|
|
ย่านลอยเคราะห์นับเป็นย่านเก่าแก่แห่งหนึ่งในเชียงใหม่ ตั้งอยู่บริเวณถนนลอยเคราะห์ต่อกับไนท์บาร์ซาร์ ชุมชนที่ตั้งอยู่ที่นี่คือ ชุมชนบ้านฮ่อม ซึ่งเป็นชุมชนที่พระเจ้ากาวิละกวาดครัวอพยพมาจากเชียงแสน
จากประวัติวัดกล่าวว่า เดิมชื่อวัดลอยข้อ (วัดร้อยข้อ) สร้างขึ้นในสมัยพระยากือนา (พ.ศ. 1910-1931 ) แต่ร้างไปนานจนกระทั่งเมื่อชาวบ้านฮ่อมมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่นี่ จึงได้สร้างวัดขึ้นใหม่เพื่อเป็นศูนย์กลางของชุมชน เรียกว่าวัดลอยเคราะห์ จากการเป็นวัดที่มีชุมชนตั้งอยู่อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดทำให้วัดได้รับการบูรณะจากชุมชนเสมอมา วัดลอยเคราะห์ได้รับการบูรณะใหม่ เมื่อเร็วๆนี้เอง (พ.ศ. 2550-2551) เจ้าอาวาสกล่าวว่า ในการบูรณะครั้งนี้ยังคงรักษารูปแบบเดิมที่สร้างมาตั้งแต่ พ.ศ.2408 ไว้ เช่น การใช้หน้าบันของโบสถ์หลังเก่า เป็นหน้าบันประดับด้วยลวดลายก้านขดที่มีความละเอียดงดงามมาก ประตูโบสถ์เป็นลวดลายรดน้ำรูปเทพพนม และตัวปั้นลมหรือนาคสะดุ้งด้านหลัง ที่ทำลวดลายด้วยการติดกระจกสีต่างๆ
เนื่องจากปัจจุบันย่านลอยเคราะห์เป็นย่านที่อยู่ใกล้กับย่านไนท์บาร์ซาร์ ซึ่งเป็นย่านท่องเที่ยวสำคัญของเมืองเชียงใหม่ ทำให้เจ้าของอาคารบ้านพักที่อยู่ในพื้นที่นี้ปรับที่พักของตนเองเป็นโรงแรม เกสต์เฮาส์ ร้านอาหาร และร้านกาแฟ สำหรับบริการนักท่องเที่ยวซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ นอกจากการปรับตัวของชุมชนในพื้นที่แล้ว ยังพบว่ามีกลุ่มทุนภายนอกเข้ามาลงทุนในพื้นที่นี้ด้วยเช่นกัน กลุ่มภายนอกมีทั้งคนที่อยู่ในเชียงใหม่ แต่อยู่นอกพื้นที่ลอยเคราะห์ และกลุ่มทุนนอกเชียงใหม่ เช่น โรงแรมสุริวงศ์ ที่ตั้งอยู่หัวมุมถนนลอยเคราะห์ในย่านไนท์บาร์ซาร์ เป็นตัวอย่างของกลุ่มทุนในเชียงใหม่ โรงแรมนี้สร้างขึ้นโดยเจ้าไชยสุริวงศ์ ณ เชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2505 เมื่อแรกตั้งเป็นโรงแรมที่ทันสมัยมากแห่งหนึ่งในเชียงใหม่ แต่เมื่อมีโรงแรมใหม่ๆ ตั้งขึ้น โรงแรมแห่งนี้ก็ซบเซาลง เจ้าไชยสุริวงศ์ ณ เชียงใหม่ได้ทำกิจการโรงแรมใหม่อีกคือ โรงแรมดวงตะวัน ใกล้ๆ กับโรงแรมสุริวงศ์ แต่ก็ได้ขายกิจการไปในที่สุด ตัวอย่างของกลุ่มทุนนอกเชียงใหม่ที่สำคัญ คือ โรงแรม เลอ เมอริเดียน ของกลุ่มเบียร์ช้าง เป็นโรงแรมระดับ 5 ดาว ตั้งอยู่ในพื้นที่เดิมที่เคยเป็นไนท์บาร์ซาร์หันหน้าเข้าโรงแรมสุริวงศ์
ปัจจุบันนี้หากเดินเข้าไปในย่านลอยเคราะห์ ภาพที่เห็นจนชินตาคือ อาคารร้านค้าและการบริการที่ทันสมัย สำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเรียงรายหนาแน่นอยู่ริม 2 ฝั่งถนน อย่างไรก็ตามแม้ริมถนนจะเป็นย่านที่ทันสมัย แต่หากเดินเข้าไปในวัดลอยเคราะห์ เรายังเห็นภาพที่แตกต่างกับริมถนนอย่างชัดเจน คือ ความคงอยู่ของวัฒนธรรมล้านนาที่ดำเนินการโดยหน่วยอบรมประชาชนตำบลช้างคลาน หน่วยนี้เป็นที่ตั้งของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2527 นอกจากสอนพุทธศาสนาแล้ว ยังมีการสอนตัวอักษรล้านนา และดนตรีพื้นเมืองอีกด้วย นักเรียนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเยาวชน มีผู้ใหญ่บ้างแต่ไม่มากนัก การเรียนการสอนดังกล่าวเป็นเหมือนการบอกกล่าวให้กลุ่มเยาวชนทราบว่า ล้านนาเป็นแหล่งรวมของวัฒนธรรมที่ดีงามอันเป็นมรดกตกทอดมารุ่นแล้วรุ่นเล่า เป็นสิ่งที่เยาวชนควรหวงแหนและสืบทอดต่อไป
รายการอ้างอิง
ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. (2516). พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทาง
ประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี.
|
|
|
|
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักหอสมุด |
|
เชียงใหม่ |
|
ntic@lib.cmu.ac.th |
|
|
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ |
|
เชียงใหม่ |
|
itsc@itsc.cmu.ac.th |
|
|
|
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , ผู้ให้ทุนสนับสนุน
อุษณีย์ ธงไชย, ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญประจำโครงการ |
|
|
|
2530 |
|
|
|
image/jpeg(.jpeg .jpe .jpg) |
|
|
|
1 ภาพ; ขาวดำ; 8x10 นิ้ว |
|
|
|
BS-CM-RD014 |
|
|
|
ท่านอาจจะบันทึกหรือพิมพ์รูปภาพเพื่อการวิจัยและการศึกษาค้นคว้า ถ้าท่านต้องการใช้สำหรับวัตถุประสงค์อื่น ท่านต้องติดต่อสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อขออนุญาตใช้ |
|
|
|