|
อาคารที่ทำการไปรษณีย์แม่ปิง ปัจจุบันปรับเป็นพิพิธภัณฑ์ไปรษณีย์แม่ปิง ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2533 |
|
|
|
|
|
ที่ทำการไปรษณีย์แม่ปิง; พิพิธภัณฑ์ไปรษณีย์แม่ปิง |
|
|
|
ที่ทำการไปรษณีย์แม่ปิง; พิพิธภัณฑ์ไปรษณีย์แม่ปิง |
|
|
������ ������สำนักงานไปรษณีย์โทรเลขในเชียงใหม่ หรือที่คนเมืองเรียกว่า โฮงสาย สร้างขึ้นเมื่อพ.ศ. 2452 ตั้งอยู่บนถนนไปรษณีย์ริมฝั่งแม่น้ำปิงใกล้ๆ กับตลาดต้นลำไย สาเหตุที่ตั้งที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขที่นี่เป็นเพราะ แต่เดิมการติดต่อกับเมืองต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นการติดต่อทางเรือ พื้นที่ตรงนี้จึงสะดวกต่อการขนถ่ายจดหมายและพัสดุที่มาจากทางเรือ สำนักงานแห่งนี้เคยเป็นที่ตั้งของศาลมณฑลพายัพมาก่อน ต่อมาได้ปรับเป็นที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขแม่ปิง อาคารแห่งแรกสร้างเป็นอาคารไม้ไผ่ใต้ถุนสูง ต่อมาเมื่อมีการขนส่งทางไปรษณีย์มากขึ้น จึงได้รื้อและสร้างอาคารก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น ทรงยุโรปขึ้นแทนหลังเดิม และหลังจากนั้นก็มีการสร้างสำนักงานไปรษณีย์โทรเลขขึ้นอีกหลายแห่ง เช่น สำนักงานไปรษณีย์โทรเลขสันป่าข่อย ซึ่งสร้างเมื่อการขนส่งทางรถไฟเข้ามาแทนที่การค้าทางเรือ เป็นต้น
������ ������ในปีพ.ศ. 2533 ได้มีการปรับปรุงสำนักงานไปรษณีย์โทรเลขแม่ปิง จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรเชียงใหม่ โดยมีจุดประสงค์เพื่อจัดแสดงพัฒนาการการไปรษณีย์โทรเลขจากอดีต จนถึงปัจจุบัน
������ ������ปัจจุบันกรมศิลปากรได้อนุรักษ์และขึ้นทะเบียนอาคารหลังนี้เพื่อเป็นสมบัติของชาติและชนรุ่นหลังต่อมา
รายการอ้างอิง
บุญเสริม สาตราภัย . (2550). ล้านนา...เมื่อตะวา. เชียงใหม่ : Bookworm.
อุษณีย์ ธงไชย. (2550). แวดเวียงเชียงใหม่. เชียงใหม่ : ภาควิชาประวัติศาสตร์
������ ������คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
|
|
|
|
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักหอสมุด |
|
เชียงใหม่ |
|
ntic@lib.cmu.ac.th |
|
|
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ |
|
เชียงใหม่ |
|
itsc@itsc.cmu.ac.th |
|
|
|
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , ผู้ให้ทุนสนับสนุน
อุษณีย์ ธงไชย, ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญประจำโครงการ |
|
|
|
2512 |
|
|
|
image/jpeg(.jpeg .jpe .jpg) |
|
|
|
1 ภาพ; ขาวดำ; 8x10 นิ้ว |
|
|
|
BS-CM-GB014 |
|
|
|
ท่านอาจจะบันทึกหรือพิมพ์รูปภาพเพื่อการวิจัยและการศึกษาค้นคว้า ถ้าท่านต้องการใช้สำหรับวัตถุประสงค์อื่น ท่านต้องติดต่อสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อขออนุญาตใช้ |
|
|
|