ผักชีฝรั่ง


 
            ผักจีฝรั่ง หอมป้อมกุลา หอมป้อมกูลวา ห้อมป้อมเป้อ ผักจีดอย (ภาคเหนือ) (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 7531) แมะและเด๊าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, 2542, 129)
 
            เป็นพืชวงศ์เดียวกับผักชี ลำต้นเตี้ยติดดิน ใบออกรอบๆ โคนต้น ไม่มีก้านใบ ใบรูปหอก ยาวรี โคนใบสอบลง ยาวประมาณ ๑๐-๑๕ เซ็นติเมตร กว้างประมาณ ๒-๓ เซ็นติเมตร ขอบใบจักแบบฟันเลื่อย และที่ปลายจักนั้น เป็นหนามอ่อนๆ เมื่อถึงเวลาออกดอก จะมีก้านชูสูงขึ้นไป ประมาณ ๑๐-๒๐ เซ็นติเมตร แตกกิ่งช่อดอกตรงปลาย อกดอกเป็นกระจุกกลม ขาวอมเขียว ตรงโคนช่อดอกมีใบประดับรูปดาว เป็นพืชที่มีกลิ่นหอมทั้งต้นและใบ (ล้มลุก ออกเป็นกอ ลำต้นสั้น ใบสีเขียวยาวหยัก คล้ายฟันเลื่อย เป็นไม้ที่ปลูกง่าย ชอบบริเวณดินชุ่มชื้น (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 7531)
 
        
            เส้นใย แคลเซียม เหล็ก วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 ไนอาซิน วิตามินซี เบต้าแคโรทีน (ผักพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง, 2550, 56)
ชาวล้านนาใช้ใบเป็นผักสดกินกับอาหารจำพวกลาบ เช่น ลาบปลา ลาบหมู ลาบวัว ลาบควาย ลาบไก่ และใช้หั่นซอย โรยในอาหารต่างๆ เช่น แกงขนุน ยำจิ๊นไก่ แกงโฮะ ในจังหวัดน่าน ใช้ผักชีฝรั่งใส่อาหารจำพวกตำ ยำผลไม้ต่างๆ เช่น ตำมะละกอ ตำส้มโอ ตำกระท้อน (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 7531) ผักจีฝรั่งใช้เป็นส่วนผสมของแกงแค ทำให้มีรสหอม(สิรวิชญ์ จำรัส, 2550, สัมภาษณ์)
        
ใบ ตำเป็นยาทาแก้แผลเรื้อรัง และแก้บวม ทั้งต้น แก้แมลงสัตว์กัดต่อย แก้ปวดศรีษะ อาหารเป็นพิษ (ผักพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง, 2550, 56)
 
            ตลอดปี
 
 
            

กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม. (2542). ผักพื้นบ้านภาคกลาง. กัญจนา ดีวิเศษ บรรณาธิการ. นนทบุรี: โครงการพัฒนาตำรา สถาบันการแพทย์แผนไทย.

ผักพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง. (2550). กรุงเทพฯ: บริษัท ฟ้าอภัย จำกัด.

สิรวิชญ์ จำรัส. (2550). สัมภาษณ์. 18 มิถุนายน.

รัตนา พรหมพิชัย. (2542). หอมป้อมคูลวา. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ (เล่ม 14, หน้า 7531). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.