ผักเผ็ด


 
            ผักคราด ผักคราดหัวแหวน (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 4125) ผักเผ็ด (ภาคเหนือ) ผักตุ้มหู (ใต้) หญ้าตุ้มหู อึ้งฮวยเกี้ย (จีน) (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, 2548, 111)
 
            ต้น เป็นพืชล้มลุกลำต้นสูง 20 – 30 เซนติเมตร หรือทอดไปตามดินเล็กน้อยแต่ปลายชูขึ้น ลำต้นกลมอวบน้ำ มีสีเขียวม่วงแดงปนเข้ม ลำต้นอ่อนมีขนปกคลุมเล็กน้อย สามารถออกรากตามข้อของต้น

ใบ เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกันรูปสามเหลี่ยมขอบใบหยัก ก้านใบยาว ผิวใบสากมีขนใบกว้าง 3 – 4 เซ็นติเมตร ยาว 3 – 6 เซ็นติเมตร

ดอก ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง เป็นช่อกระจุกสีเหลือง ลักษณะกลม ปลายแหลมคล้ายหัวแหวน ก้านดอกยาว ดอกย่อยมี 2 วง วงนอกเป็นตัวเมีย วงในเป็นดอกสมบูรณ์เพศ

ผล เป็นผลแห้ง รูปไข่ (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, 2548, 111)
 
        
            แคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก วิตามินเอ บี 1 วิตามินซี คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน (ผักพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง, 2550, 41)
        
จีนใช้สกัดเป็นยาชา สรรพคุณแก้พิษตามทวาร แก้ริดสีดวง แก้ผอมเหลือง แก้เด็กตัวร้อน ต้นสดตำผสมเหล้า หรือน้ำส้มสายชู อมแก้ฝีในคอ ต่อมน้ำลายอักเสบ แก้ไข้แก้ปวดฟัน รสเผ็ดร้อน ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับลม ช่วยย่อยอาหารได้ (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, 2548, 110; องค์การสวนพฤกษศาสตร์, 2547) รากผักเผ็ดเป็นยาถ่าย ใช้ต้มน้ำ อมบ้วนปาก แก้อักเสบในช่องปาก และแก้อาหารเจ็บคอ (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 4125)
ทางเภสัชกรรมล้านนา ใช้ผักเผ็ดเป็นส่วนประกอบในตำรับยาเกี่ยวไฟ ยามะเร็งครุดตาแตก (ยารักษาโรคลมปัจจุบัน ซึ่งคาดว่ามีอาการลมออกตา ทำให้ตาแดง มีอาการปวดแสบปวดร้อน)(รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 4125)
 
            ตลอดปี
 
 
            

กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม. (2548). ผักพื้นบ้านภาคเหนือ. เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ บรรณาธิการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนาตำราการแพทย์แผนไทย.

ผักพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง. (2550). กรุงเทพฯ: บริษัท ฟ้าอภัย จำกัด.

องค์การสวนพฤกษศาสตร์. (2547). สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์. เชียงใหม่: องค์การสวนพฤกษศาสตร์.