ผักขี้หูด


 
            ผักเปิ๊ก (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 714)
 
            ต้น เป็นพืชล้มลุก สูงประมาณ 0.3 – 1.0 เมตร ลำต้นตั้งตรง มีขนแข็งปกคลุมเล็กน้อย ลำต้นจะเป็นรูปทรงกลมหรือทรงกระบอก ส่วนกลางของลำต้นจะกลวง

ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงต้นแบบสลับ จะอวบน้ำ ส่วนด้านล่างของใบจะมีขอบใบที่เว้าเข้าหาเส้นกลางใบ ส่วนยอดสุดมีปลายมนหรือแหลม และมักมีขนาดใหญ่กว่า ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ใบขนาดกว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาว 9-15 เซนติเมตร ก้านใบยาว 3-4 เซนติเมตร

ดอก เป็นช่อ ออกบริเวณซอกใบ ช่อดอกยาวประมาณ 10-50 เซนติเมตร มีดอกย่อยจำนวนมาก เป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยงมี 4 กลีบ สีเขียว กลีบดอกมี 4 กลีบ สีม่วงอมชมพูหรือสีขาว

ผล เป็นฝัก หยักคอดเว้าเป็นข้อๆ เมื่อแห้งจะแตก ฝักขนาดกว้าง 0.5 – 2.0 เซนติเมตร ยาว 5-15 เซนติเมตร ผนังด้านในของฝักจะอ่อนนุ่มคล้ายกับฟองน้ำ มี 2-10 เมล็ด รูปร่างกลมหรือค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-5 มิลลิเมตร

ผักชนิดนี้จะออกดอกเดือนมิถุนายน-ธันวาคม และออกผลเดือนกรกฎาคม-กุมภาพันธ์ เป็นพันธุ์ไม้ที่นิยมนำมาปลูกตามไร่ สวนครัว ชอบขึ้นบริเวณที่มีความชุ่มชื้น (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 714)
 
        
             แคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก วิตามินซี (ผักพื้นบ้าน อาหารไทย, 2548, 250; ผักพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง, 2550, 53) ทางอาหารสำหรับชาวล้านนานั้น นิยมนำฝักผักขี้หูดทำเป็นแกงผักขี้หูดใส่ปลา กบ บ้างใส่ไข่แมงมัน ปลาย่าง และเนื้อควาย ใช้เป็นส่วนผสมแกงแค และลวกหรือกินสดจิ้มน้ำพริก (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 715)
        
ฝักและใบช่วยให้เจริญอาหาร แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย และช่วยละลายนิ่ว
ดอกมีสรรพคุณเป็นยาขับน้ำดี (ผักพื้นบ้าน อาหารไทย, 2548, 250)
 
            ฤดูหนาว
 
 
            

รัตนา พรหมพิชัย. (2542). ขี้หูด, ผัก. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ (เล่ม 2, หน้า 714). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

ผักพื้นบ้าน อาหารไทย. (2548). กรุงเทพฯ: แสงแดด.