ถั่วพู


 
            ถั่วปู ( เชียงใหม่) ถั่วพู ( ภาคกลาง ) (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, 2548, 72 )
 
            ต้น ลำต้นเลื้อยพัน ยาวประมาณ 5 เมตร ใบ ใบประกอบชนิด 3 ใบ ใบย่อยทางรูปไข่กว้างปลายแหลม กว้าง 6 เซนติเมตร ยาว 10 เซนติเมตร ฐานใบแหลมเส้นใบเป็นชัดเจน ดอก ดอกช่อ มีสีม่วงอ่อน ผล ฝักยาวทรงสี่เหลี่ยมยาว 6-8 นิ้ว มี 4 ปีก ( ครีบ ) ตามยาวริมจัก (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, 2548, 72)
 
        
            คาร์โบไฮเดรต เส้นใย โปรตีน ไขมัน แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ วิตามินบี 1 และ 2 ไนอาซิน วิตามินซี และวิตามินอี (ผักพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง, 2550, 48) ทางอาหาร ชาวล้านนาใช้ฝักอ่อนเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก ยำปลาจ่อม โดยกินสดๆ หรือลวกก่อนก็ได้ หรือใช้ยำใส่กุ้ง หรือทำเป็นส่วนผสมของแกงแค คั่วแค (รังสรรค์ จันต๊ะ และรัตนา พรหมพิชัย, 2542, 2640)
        
ใบ รสมัน ช่วยย่อยอาหารจำพวกกรดไขมันไม่อิ่มตัว ฝัก รสมันเย็นแก้ร้อนในไข้หอบ บำรุงกำลัง ราก รสขมขื่นเล็กน้อย แก้ปวดมวนท้อง หัว รสมันเย็นชุ่มขมขื่น บำรุงกำลังแก้อ่อนเพลีย ทำให้ดวงจิตแช่มชื่น แก้ร้อนในกระหายน้ำ (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, 2548, 72; วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 223) แก้ไข้กาฬ (วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 223)
ข้อบ่งใช้ทางเภสัชกรรมล้านนา ใช้ถั่วพูเป็นสมุนไพรหลายชนิดด้วยกัน เช่น หัวถั่วพูเป็นส่วนประกอบในตำรับยาซะมะเร็ง (โรคผิวหนังชนิดหนึ่ง) ยาปิเสียบ (ยาแก้จุกเสียด) ยารำมะนาดของช่างเจ็บในรูคอ ยามะเร็งลมเลือด (โรคลมเลือด) ยาสานมะเร็งครุดเข้า ยาขางแกมล้านร้อนขึ้นแผวกระหม่อม ยาสานลงคอมันเจ็บพอง ยาห้ามสัพพาพิษ ยามะเร็งครุดแม้นเสียบขึ้น ยาหายใจโล่ง ยามะเร็งครุดชะสาน ยาสาน ยาขาง ยาอาบ ยามะเร็งครุด ยามุตขึด นาริดสีดวงเจ็บไรเขี้ยว ยาแก่พิษ ยามะเร็งครุดเจ็บหัวตามืด ตามัว ยาสัพพะมะเร็ง ส่วนรากเป็นส่วนผสมตำรับยาเหงือกพอง ยาฝีไข้เจ็บออกหู เป็นต้น (รังสรรค์ จันต๊ะ และรัตนา พรหมพิชัย, 2542, 2640)
 
 
 
            

กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม. (2548). ผักพื้นบ้านภาคเหนือ. เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ บรรณาธิการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: ศูนย์พัฒนาตำราการแพทย์แผนไทย.

รังสรรค์ จันต๊ะ และรัตนา พรหมพิชัย. (2542). ถั่วพู. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ (เล่ม 5, หน้า 2640 ). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

วุฒิ วุฒิธรรมเวช. (2540). สารานุกรมสมุนไพร: รวมหลักเภสัชกรรมไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.