งิ้ว


 
            งิ้วดอกแดง งิ้วหลวง งิ้วแดง งิ้วปง งิ้วบ้าน
 
            ต้น เป็นไม้ยืนต้นที่มีอายุยืนนาน อาจสูงได้ถึง 25 เมตร หรือสูงกว่านี้ นักพฤกษาวิทยาเคยรายงานว่า มีต้นงิ้วขึ้นอยู่โดยทั่วไปในประเทศไทย อินเดีย และพม่า นอกจากนี้ ยังพบในซีลอน ยูนนาน แอฟริกา และในออสเตรเลียด้วย ในประเทศไทย พบต้นงิ้วขึ้นอยู่ทั่วทุก ๆ ภาค ยกเว้นภาคใต้ เป็นไม้เนื้ออ่อนมีน้ำหนักเบา ลำต้นตลอดจนกิ่งก้านมีหนามแหลมคม ใบ เป็นใบรวม มีใบย่อย 5-7 ใบ ใบย่อยรูปแหลมยาวปลายใบแหลม โคนสอบสีเขียวเข็มอมสีน้ำตาล ใบยาว 6-12 นิ้ว ดอก เป็นดอกเดี่ยว มี 5 กลีบ สีแดงสดหรือสีแดงแสด ดอกขนาดใหญ่ เกสรผู้อยู่รวมกันเป็นกระจุกหลายกระจุก มีเกสรผู้ 60 เส้น ล้อมเกสรเมียอยู่กึ่งกลางดอก และมีเกสรผู้กระจุกย่อม ๆ กระจุกละ 12-15 เส้นล้อมเกสรผู้กระจุกใหญ่ เป็นวงนอกอีกชั้นหนึ่ง ผล เป็นแคปซูล มีปุยและเมล็ดอยู่ภายในปุยงิ้ว ใช้ประโยชน์ได้
 
        
            ในแง่อาหาร คนล้านนานิยมนำเกสรงิ้วชนิดนี้มาตากแห้งใส่แกงแค หรือใส่ในน้ำขนมจีนน้ำเงี้ยว เครื่งดื่มของจีนที่เรียกว่า “จับเลี้ยง” มีดอกงิ้วอยู่ด้วย ในอินเดีย นำดอกมาผสมในขนม โดยผสมกับเมล็ดฝิ่น น้ำตาลและนม กลีบดอกงิ้วสด มีคุณค่าทางอาหารเท่าแครอทและฟักทอง
        
แพทย์แผนไทยมีการใช้เปลือกต้นงิ้วที่มีรสฉุน สุขุม ทำให้เลือดไหลเวียนดี แก้แผลบวม กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง ดอกมีรสจืด เย็น ใช้ห้ามเลือด แผลมีฝีหนอง ขับปัสสาวะ รากหรือเปลือกรากมีรสชุ่มเย็น ใช้สมานแผล ตัวบวมหลังคลอด
 
            ฤดูหนาว
 
 
            

รัตนา พรหมพิชัย. (2542). งิ้วดอกแดง. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาค

เหนือ (เล่ม 3, หน้า 1378-1379). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรม

วัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.