ชะพลู


 
            ช้าพลู พลูลิงนก ฟูนก อีโร ( เหนือ ) แค ปูลิง อีเลิด ( อีสาน ) นมวา ( ใต้ ) (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, 2548, 50)
 
            ต้นเป็นไม้ล้มลุกแบบเลื้อย ต้นสูงประมาณ 60 ซม. ลำต้นเป็นข้อๆมีสีเขียว ใบ เป็นใบเดียวขั้นสลับ เป็นรูปหัวใจ ยาว 17 ซม. กว้าง 14 ซม. ก้านใบยาว 1-5 ซม. ดอก ดอกเป็นช่อรูปทรงกระบอก สีขาว และค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีเขียว เป็นปุ่มๆคล้ายดอกดีปลีและสั้นกว่า ผล เป็นผลกลุ่ม รูปทรงกระบอก เมล็ด มีขนาดเล็ก (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, 2548, 50)
 
        
            แคลเซียม ฟอสฟอรัส เบต้าแคโรทีน วิตามินซี (ผักพื้นบ้าน อาหารไทย, 2548, 26) ชาวล้านนา นิยมใช้ใบสดรับประทานเป็นเครื่องเคียงส้มตำ ลาบ ใช้ใบสดทำเมี่ยงคำ เป็นส่วนผสมแกงแค คั่วแค แกงหน่อไม้ แกงปลี
        
ใบ เจริญอาหาร ขับเสมหะ ทำให้เสมหะงวด ทำให้เลือดลมซ่าน ต้น แก้เสมหะในทรวงอก ขับเสมหะ ราก แก้คูถเสมหะ ขับเสมหะที่ตกทางทวารหนัก บำรุงธาตุ ทำให้เสมหะแห้ง (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, 2548, 50)
 
            ตลอดปี
 
 
            

กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม. (2542). ผักพื้นบ้านภาคกลาง. กรุงเทพฯ: โครงการพัฒนาตำรา สถาบันการแพทย์แผนไทย.

ผักพื้นบ้าน อาหารไทย. (2548). กรุงเทพฯ: แสงแดด.